@article{ประเทืองรัตนา_2022, title={การขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษานำร่องโดยใช้ Tuna Act Model }, volume={10}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/261581}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา 2) นำรูปแบบการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ไปประยุกต์ด้วยการอบรมผู้บริหาร คณาจารย์ในสถานศึกษานำร่อง บทความวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีพื้นที่ศึกษานำร่อง จากสถาบันการศึกษา รวมทั้งสิ้น 19 สถาบัน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ในระดับมหาวิทยาลัย 8 แห่ง อาชีวศึกษา 7 แห่ง มัธยมศึกษาและประถมศึกษา 4 แห่ง กลุ่มประชากรเป็นผู้บริหารและคณาจารย์ที่เข้าร่วมจำนวน 35 คน โดยมีการสนทนากลุ่มย่อย 2 ครั้ง เพื่อให้ความเห็นต่อสถานการณ์/รูปแบบการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาและรับรองรูปแบบ TUNA ACT Model และมีการอบรมรม 1 ครั้งให้กับผู้บริหาร คณาจารย์ โดยมีการใช้แบบทดสอบ ซึ่งได้ตรวจสอบความถูกต้องเที่ยงตรงของคําถามจากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน ในการอบรมมีการนำแบบทดสอบมาวัดความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงวัดทัศนคติเพื่อวัดความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสันติวัฒนธรรม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาร้อยละ และใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีเปียร์สัน โดยนำเสนอในลักษณะของการเล่าเรื่องพรรณนาเชิงวิเคราะห์ หลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการตรวจสอบความถูกต้องของผลการวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาด้วย TUNA ACT Model ซึ่งผ่านการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่องจากผู้เกี่ยวข้อง สรุปเนื้อหาได้ว่า สันติวัฒนธรรมช่วยนำทาง ร่วมสร้างความเข้าใจเธอและฉันสื่อสารกันโดย Thinking Environment พูดคุยเป็นให้เห็นทางออกร่วมสร้างสรรค์ ผลักดันร่วมกันด้วยหัวใจ 2) จากการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการวัดผลก่อนและหลังอย่างมีนัยสำคัญ และจากแบบสำรวจทัศนคติพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่เอื้อ และส่งเสริมสันติวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน นอกจากผลเชิงบวกในห้องเรียนแล้ว สิ่งสำคัญคือ ภายหลังจากอบรมเสร็จสิ้น เกิดความยั่งยืนด้วยการมีกลไกที่เป็นรูปธรรม และเกิดการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะคือ สถาบันพระปกเกล้าและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ควรมีการปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้สิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรม และ เพื่อให้สันติวัฒนธรรมเกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จึงควรมีทั้งกลไก และกระบวนการการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เกี่ยวข้องควบคู่กันไป</p> <p><br /><br /></p>}, number={4}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={ประเทืองรัตนา ชลัท}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={1793–1808} }