@article{อบสิณ_2022, title={หมู่บ้านช่อสะอาด: รูปแบบและกระบวนการสร้างประชาคมแห่งความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนา}, volume={10}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/259920}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเสริมสร้างสังคมสุจริตในชุมชนและหมู่บ้าน      2) วิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนและหมู่บ้าน และ <br />3) สังเคราะห์รูปแบบและกระบวนการสร้างประชาคมแห่งความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนและหมู่บ้าน การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการศึกษาเอกสาร การศึกษาเชิงปริมาณที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเชิงสำรวจจาก 373 กลุ่มตัวอย่าง และการวิจัยคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อหาข้อสรุปจากผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างสังคมสุจริตในชุมชนและหมู่บ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการเสริมสร้างสังคมสุจริตในชุมชนและหมู่บ้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกายสุจริต ( = 3.88) ด้านมโนสุจริต ( =3.85) และด้านวจีสุจริต ( =3.81) 2) กระบวนการเสริมสร้างความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนและหมู่บ้านเกิดขึ้นจากการเทศนา การดำเนินตามแนวทางหมู่บ้านรักษาศีล 5 การขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.) บนพื้นฐานของการมีภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีการดำเนินชีวิต วิถีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การยึดถือหลักบวร ความเป็นพุทธศาสนิกชน 3) รูปแบบและกระบวนการสร้างประชาคมแห่งความสุจริตตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนและหมู่บ้าน ควรมีการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนโดยการสืบสานและสืบทอด การขัดเกลากล่อมเกลา การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การอบรมสั่งสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประพฤติปฏิบัติ และการฝึกพัฒนา</p>}, number={3}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={อบสิณ สุกัญญาณัฐ}, year={2022}, month={พ.ค.}, pages={1229–1242} }