@article{รักษาโฉม_ตั้งตุลานนท์_ทองประยูร_2022, title={การพัฒนาฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา}, volume={10}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/256867}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา 2) พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา 3) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา โดยมีรูปแบบการวิจัย คือการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัย<br />เชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่การวิจัย คือวัด 27 แห่งในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา และทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ 23 ท่านด้วยคำถาม 2 ชุด คือสารสนเทศ 6 ข้อและคำถาม 9 ข้อ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำไปวิเคราะห์</p> <p>            ผลการวิจัยพบว่า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และพระนครศรีอยุธยามีองค์ประกอบทางพระพุทธศาสนา 5 ด้าน คือ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนพิธี และศาสนธรรม ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความศรัทธาและสืบทอดพระพุทธศาสนา พร้อมพุทธศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมประเพณี คติการสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ ส่วนฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนา คือ เจดีย์ประธานสร้างเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าเชิงพุทธปรัชญา คือหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการและหลักโอวาทธรรม 3 ประการ ส่วนพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าเชิงพุทธปรัชญา คือหลักอริยสัจ 4 หลักโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ และหลักมหาสติปัฏฐาน การพัฒนาระบบการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนาได้ 3 เส้นทาง คือ เส้นทางสายพระบรมสารีริกธาตุจักรวาลวิทยา เส้นทางสายมหาสติปัฏฐาน และเส้นทางสายอริยสัจ 4 ส่วนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้วัดทั้ง 27 แห่ง</p>}, number={2}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={รักษาโฉม แม่ชีกฤษณา and ตั้งตุลานนท์ กรรณิการ์ and ทองประยูร พชรวีร์}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={523–537} }