@article{ตุ๊เอี้ยง_วัฒนะประดิษฐ์_2021, title={สันตินวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมวัฒนธรรมแห่งความสุข ของบุคลากร กระทรวงสาธารณสุข}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/255136}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและนำเสนอผลการใช้สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งความสุขของบุคลากร กระทรวงสาธารณสุขด้วยหลักพุทธสันติวิธีและหลักการมีส่วนร่วม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มอาสาที่เข้าร่วมเป็นบุคลากร กองบริหารการสาธารณาสุข จำนวน 25 ท่าน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (เทคนิค A-I-C ) การร่วมสะท้อนกิจกรรมด้วยเทคนิค AAR การออกแบบการจัดกิจกรรมมี 4 ระยะ การประเมินผลโดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า พื้นฐานแนวคิดสำคัญ ได้แก่การสร้างการมีส่วนร่วมด้วยหลักพุทธสันติวิธีเป็นพื้นฐาน ด้วยอิทธิบาท 4 ในการสร้างความสุขระดับบุคคล และสาราณียธรรม 6 ในการขยายพื้นที่ความสุขในระดับกลุ่มคนที่มีความเห็นร่วมกัน กระบวนการมี 4 ระยะ คือ 1 รดน้ำเมล็ดพันธุ์ 2 การบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ 3 การผลิดอกออกผล 4 การแผ่กิ่งก้านสาขา ผลที่เกิด พบว่าอาสากองบริหารสาธารณสุข เกิดวัฒนธรรมแห่งความสุข ในการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ 1) กายเป็นสุข 2) สังคมเป็นสุข 3) จิตเป็นสุข 4) ปัญญาเป็นสุข องค์ความรู้ใหม่ในงานวิจัย โมเดล P-H-D-B สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งความสุข ประกอบด้วย 1. P – Peace Volunteers การค้นหาคนที่มีต้นทุนความดี เพื่อให้เกิดแรงจูงใจการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม 2. H – Hearing รับฟังและร่วมกันการทำงานเป็นทีมด้วยความสามัคคี 3.D – Developing พัฒนากระบวนการปฏิสัมพันธ์อันดี 4.B –Branching การมีส่วนร่วมในการทบทวนปัญหา อุปสรรค ผลการดำเนินการในทุกขั้นตอน ผลที่ได้รับคือแตกยอดออกผลแห่งความสุข</p>}, number={7}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={ตุ๊เอี้ยง ลินลา and วัฒนะประดิษฐ์ ขันทอง}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={2979–2992} }