@article{รัตนธรรม_นิลวรรณาภา_2021, title={การนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสาน}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/252850}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการศึกษาข้อมูลจากกฎหมายโบราณอีสานฉบับปริวรรตของ Channawet (2017) จำนวน 18 ฉบับ ได้แก่ 1) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 1 2) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 2 3) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 3 4) อาณาจักรหลักคำเมืองสุวรรณภูมิ 5) หลักคำเมืองกาฬสินธุ์ 6) หลักคำเมืองภูเขียว 7) อาณาจักรหลักไชยพระไชยเชษฐาธิราช 8) หลักคำเมืองสกลนคร 9) กฎหมายโบราณ (หลักคำ) 10) อาณาจักรธรรมจักหลักไชย 11) อาณาจักรธรรมศาสตร์-ราชศาสตร์-สร้อยสายคำ 12) คัมภีร์พระธรรมศาสตร์เมืองขอนแก่น 13) สร้อยสายคำ 14) คัมภีร์โพสะราช 15) คัมภีร์ธรรมศาสตร์-ราชศาสตร์ 16) พระธรรมนูญ 17) พระธรรมศาสตร์ และ 18) พระอัยการ ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายโบราณอีสานมีการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคม 7 อุดมการณ์ ได้แก่ 1) อุดมการณ์เกี่ยวกับผู้ปกครอง-ผู้ใต้ปกครอง 2) อุดมการณ์เกี่ยวกับศาสนา 3) อุดมการณ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ 4) อุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทชายหญิง 5) อุดมการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่ 6) อุดมการณ์เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติและ 7) อุดมการณ์เกี่ยวกับชาตินิยม โดยการแทรกอุดมการณ์ภายใต้ความกลัวบทลงโทษจากการทำผิดกฎหมายทำให้ซึมซับอุดมการณ์เหล่านั้นโดยที่ไม่รู้ตัวตัวบทกฎหมายที่เรามองเพียงแค่ว่าเป็นตัวบทที่บังคับหรือควบคุมคนในสังคมอีสานให้ประพฤติอยู่ในกรอบระเบียบ จารีต ประเพณี แท้จริงแล้วยังมีอำนาจบางอย่างที่แฝงอยู่ในตัวบทเหล่านี้ โดยผู้เขียนใช้อำนาจผ่านภาษาในการครอบงำความคิดของคนในสังคมเพื่อให้คนในสังคมอยู่ในกรอบระเบียบของสังคมที่ผู้เขียนตีกรอบไว้ให้ ว่า พฤติกรรมแบบไหนดี แบบไหนไม่ดี รวมทั้งการปลูกฝังให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์</p>}, number={7}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={รัตนธรรม อัญชลี and นิลวรรณาภา ราชันย์}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={3083–3095} }