@article{เกียรติคุณวงศ์_แนรอท_2021, title={การออกแบบกรอบแนวคิดสำหรับการวิจัย เพื่อศึกษาการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของแรงงานไทย}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/251466}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากภาครัฐเพื่อศึกษาการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของแรงงานไทยในปัจจุบัน 2) จัดทำข้อเสนอแนะกรอบแนวคิดการวิจัยเพื่อการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของแรงงานไทย จากการศึกษาด้วยวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพพุกรณี กับโครงการวิจัยเกี่ยวกับด้านการพัฒนาแรงงานและระบบสนับสนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มความสามารถการแข่งขันของแรงงานไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานในระดับอาเซียนจากโครงการวิจัยที่เคยได้รับทุนจากหน่วยงานของรัฐบาลไทยจำนวน 13 โครงการ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเด็นการศึกษาเรื่องการพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันของแรงงานไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานในระดับอาเซียนที่เกิดขึ้นระหว่าง ปี พ.ศ. 2555-2559 มีความสอดคล้องกับองค์ประกอบการพัฒนาเพื่อยกระดับทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี (ร่างกาย) ความรู้ (ปัญญา) และมาตรฐานคุณภาพชีวิต (ฐานะทางเศรษฐกิจ) 2) ประเด็นเกี่ยวข้องกับการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตหรือฐานะทางเศรษฐกิจของแรงงานไทยยังไม่ได้รับการสนใจมากนักอีกทั้งยังขาดการจัดสรรให้ทุนวิจัยอย่างเป็นระบบในประเด็นนี้ ทั้งที่ประเด็นดังกล่าวเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของเป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเด็นทางด้านร่างกายหรือปัญญา 3) กรอบแนวคิดสำหรับการวิจัยเพื่อศึกษาการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของแรงงานไทยควรประกอบด้วยการศึกษาเรื่อง การเพิ่มรายได้ การลดหนี้สิน การยกระดับหรือสร้างมาตรฐานอาชีพ การศึกษาเกี่ยวกับแหล่งตลาดงานในภูมิภาค โอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การเข้าถึงพื้นที่อยู่อาศัยและทำกิน ความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ และการหมุนเวียนของกระแสเงินสดที่ไหลเข้าและออกประเทศ</p>}, number={6}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={เกียรติคุณวงศ์ ณรงค์ and แนรอท เพ็ญณี}, year={2021}, month={ก.ย.}, pages={2288–2300} }