@article{เฉลิมกาญจนา_พระธรรมวัชรบัณฑิต_วัฒนะประดิษฐ์_2022, title={รูปแบบการให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนสู่วิถีสันติสุขในศาลเยาวชนและ ครอบครัวกลาง}, volume={10}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/250771}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเด็กและเยาวชนกระทำความผิดของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง 2) เพื่อเสนอรูปแบบการให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนสู่วิถีสันติสุขในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยการศึกษาและเก็บข้อมูลจากผู้พิพากษา จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ผู้ให้คำปรึกษา ผู้ปกครอง เยาวชนและผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 62 ท่าน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ในรูปแบบ content analysis ให้ความสำคัญกับความคิดรวบยอด มีการตีความ Interpretation ซึ่งการวิเคราะห์และตีความจะนำความรู้จากทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มาร่วมในการพิจารณา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดที่พบมากที่สุดคือ ข้อหาที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด ซึ่งพฤติการณ์คดีมีทั้งครอบครองเพื่อเสพ ครอบครองเพื่อจำหน่าย ร่วมกันผลิต และยังพบว่า ยาเสพติดเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำผิดด้วยข้อหาอื่นด้วย 2) รูปแบบการให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนสู่วิถีสันติสุขในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักคิดพื้นฐาน ได้แก่ การนำหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาเป็นกรอบวิเคราะห์ในการให้คำปรึกษา 2) การพัฒนาผู้เกี่ยวข้องในการให้คำปรึกษาด้วยพลังเครือข่าย 3) ขั้นตอนในการให้คำปรึกษาของผู้ให้คำปรึกษาเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การสร้างสัมพันธภาพ 3) การสร้างความไว้วางใจ 4) การให้กำลังใจ 5) การกระตุ้นความคิดและตั้งเป้าหมายในชีวิต 6) เร้ากุศลให้ดำรงอยู่ในมรรค ได้องค์ความรู้ใหม่เรียกว่า NT&4D for Juvenile Counseling for Peaceful Way</p>}, number={1}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={เฉลิมกาญจนา ลัดดา and พระธรรมวัชรบัณฑิต and วัฒนะประดิษฐ์ ขันทอง}, year={2022}, month={ก.พ.}, pages={294–305} }