@article{เอนกทวีกุล_2021, title={การศึกษาการเมืองเรื่องกลุ่มทหารในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2516-2562}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/250562}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการก่อตัวของกลุ่มทหารโดยเฉพาะการก่อตัวของกลุ่มทหารภายในกองทัพบกไทย และ 2) การเข้ามามีบทบาททางการเมืองของกลุ่มทหารตั้งแต่ พ.ศ. 2516-2562 วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากการวิเคราะห์เอกสาร บทความ หนังสือ งานวิจัย หนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โดยนำข้อมูลที่ได้มารวบรวมวิเคราะห์ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้กรอบแนวคิดการรวมกลุ่มทหาร และการเข้ามามีบทบาททางการเมืองเมื่อได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งคุมกำลังและระดับสูงในกองทัพบก ผลการวิจัยพบว่า 1) การก่อตัวของกลุ่มทหารในกองทัพบกไทยเกิดขึ้นจากการล่มสลายอำนาจรวมศูนย์ของนายทหารระดับสูงในกองทัพบกที่นำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 การก่อตัวของกลุ่มทหารเป็นลักษณะของการรวมกลุ่มความเป็นเพื่อนร่วมรุ่นนักเรียนนายร้อย จปร. นำโดยกลุ่มทหาร จปร.7 และ จปร.5 แม้ว่ากลุ่มทหาร จปร. จะสลายลงภายหลังปี พ.ศ. 2535 แต่การก่อตัวของกลุ่มทหารยังเกิดขึ้นและได้เปลี่ยนเป็นการรวมกลุ่มของนายทหารที่เติบโตในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ หรือกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์ และกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ หรือกลุ่มทหารวงศ์เทวัญ ที่มีการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายและอิทธิพลโดยการสนับสนุนเพื่อนร่วมรุ่นเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญในกองทัพบก และสนับสนุนนายทหารผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความใกล้ชิดให้มีตำแหน่งสำคัญทางยุทธศาสตร์ของกองทัพบก เช่น ตำแหน่งคุมกำลังรบ ซึ่งเป็นรูปแบบการวางกำลังในระยะยาวของทั้งสองกลุ่ม และ 2) ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนถึงปี พ.ศ. 2535 เป็นยุคที่กลุ่มทหารรุ่น จปร. นำโดยกลุ่มทหาร จปร.7 และ จปร.5 เข้ามามีบทบาททางการเมืองโดยการถ่วงดุลอำนาจ และครองอำนาจในกองทัพบก และภายหลังปี พ.ศ. 2535 จนถึงปี พ.ศ. 2562 เป็นยุคที่กลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และวงศ์เทวัญแข่งขันขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงและคุมกำลังในกองทัพบกโดยเฉพาะผู้บัญชาการทหารบก และแม่ทัพภาคที่ 1 การที่กลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์สามารถดำรงตำแหน่งทั้งสองอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มสามารถวางกำลังในระยะยาวและเข้ามามีบทบาททางการเมืองที่เหนือกว่ากลุ่มทหารวงศ์เทวัญภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จนถึงปี พ.ศ. 2562</p>}, number={7}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={เอนกทวีกุล ปิยะภพ}, year={2021}, month={พ.ย.}, pages={2906–2916} }