@article{ภู่ทอง_สอนสุภาพ_2022, title={บทบาทของท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์: กรณีศึกษา การพัฒนาเมืองระนองภายใต้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง}, volume={10}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249389}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา ทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของเมืองระนอง 2) ศึกษาแนวทางการจัดการของ อบจ. ระนอง ในการพัฒนาจังหวัดระนองสู่เมืองสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของ อบจ.ระนอง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์จากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิได้มาจากการสัมภาษณ์ โดยมีวิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มหรือบุคคลที่มีประสบการณ์มากในเรื่องนั้นๆ  และเป็นกลุ่มที่น่าสนใจและเป็นตัวแทนของเรื่อง มีทั้งหมด 3 กลุ่ม อันได้แก่ ภาครัฐ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อบจ. ระนอง ภาคเอกชน และภาคชุมชน ข้อมูลทุติยภูมิได้มาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบอุปนัย  ร่วมกับแนวคิดเมืองสร้างสรรค์ และแนวคิดเมืองนิยม เพื่อสรุปประเด็นแนวทางการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของท้องถิ่นในจังหวัดระนอง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เมืองระนองเป็นเมืองที่มีทุนทรัพยากรของเมืองที่โดดเด่นทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ทุนทางประวัติศาสตร์ ทุนทางยุทธศาสตร์และที่ตั้งของเมือง ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม และทุนผู้ประกอบการสร้างสรรค์ 2) แนวทางการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของ อบจ.ระนอง ใช้วิธีการเน้นพัฒนาเยาวชนให้มีความสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ท้องถิ่นอื่นๆ ได้พัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ตามบริบทพื้นที่ตนเอง 3) อบจ.ระนอง ยังเผชิญปัญหาอำนาจที่ไม่เพียงพอในการบริหารเมืองสร้างสรรค์ ขาดการเชื่อมโยงภาคส่วนต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ระนองมีภาคเอกชนและภาคชุมชนที่มีค่านิยมในการรักเมืองระนอง พัฒนาจากทุนทรัพยากรของพื้นที่ให้กลายเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองระนองสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ได้ในอนาคต</p>}, number={4}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={ภู่ทอง สิรวิชญ์ and สอนสุภาพ รัตพงษ์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={1684–1695} }