@article{เตชะเดชอภิพัฒธ์_ศรีสอน_ชยนนท์_2022, title={ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า ชายแดนไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว}, volume={10}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247037}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบกึ่งโครงสร้าง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารระดับสูง ผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME และประชาชนในพื้นที่  รวมทั้งสิ้น 20 คน และจัดกลุ่มสนทนา 10 คน วิเคราะห์แบบอุปนัย เป็นการตีความ สร้างข้อสรุปของข้อมูล ที่เป็นรูปธรรมและตรวจสอบข้อมูลโดยเทคนิคสามเส้า ด้านคน เวลา และสถานที่</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าชายแดนและเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด น้ำมันดีเซลเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงที่สุด สำหรับสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ประเทศไทยพึ่งพาลาวในด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ ในระบบการค้าผ่านแดนเพื่อป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 2) จุดแข็ง คือ มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ชายแดนติดกับไทย 17 เขต จุดอ่อน คือ ปัญหาการขนส่งมีต้นทุนสูง ขาดแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้อต่อการค้า โอกาส คือ ลาวเป็นศูนย์กลางสินค้าไทยไปเวียดนาม จีน อุปสรรค คือ การขาดนักการตลาดเชิงรุกมืออาชีพ และสินค้าปลอมแปลง 3) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว ใช้ยุทธศาสตร์ BETS ได้แก่ (1) การพัฒนาชายแดน (Border Development) (2) เศรษฐกิจ (Economy)  (3) การท่องเที่ยว (Tourism) และ (4) เงื่อนไขความสัมพันธ์ (Social Condition) ภายใต้ยุทธศาสตร์ BETS จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพความร่วมมือการค้าไทยและลาว บนพื้นฐานความสัมพันธ์ ด้านประเพณีและวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ</p>}, number={3}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={เตชะเดชอภิพัฒธ์ กานต์พนธ์ and ศรีสอน วิจิตรา and ชยนนท์ สัณฐาน}, year={2022}, month={พ.ค.}, pages={1093–1105} }