@article{แก้วจิตคงทอง_2022, title={การเมืองในการจัดการความขัดแย้ง ของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี}, volume={10}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/246785}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุความขัดแย้ง 2) ศึกษาการจัดการความขัดแย้ง และ 3) ศึกษารูปแบบและวิธีการของการเมืองในการจัดการความขัดแย้งของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ใช้การวิจับแบบเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม จำนวน 66 คน เครื่องมือ คือ <br />แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและความขัดแย้ง คือ (1) ด้านความสัมพันธ์ เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม (2) ด้านข้อมูล เกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (3) ด้านค่านิยม เกิดจากพื้นที่ดำเนินโครงการกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม   (4) ด้านโครงสร้าง เกิดจากการส่งมอบพื้นที่โครงการ แนวก่อสร้างพาดผ่านและพื้นที่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น และ (5) ด้านผลประโยชน์ เกิดจากการประเมินค่าชดเชยที่ต่ำกว่าความเป็นจริง 2) การจัดการความขัดแย้ง ได้แก่ (1) ด้านการยอมรับ ด้วยกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่เป็นที่ยอมรับและการเข้ามามีส่วนร่วมของคู่ขัดแย้งทุกฝ่าย (2) ด้านการประนีประนอม โดยการให้รัฐกับประชาชนหาแนวทางและความต้องการในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และ (3) ด้านการร่วมมือ ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นผู้ร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหา และรัฐควรเป็นผู้สนับสนุนและให้ข้อมูลทางวิชาการและหลีกเลี่ยงประเด็นปัญหา และ 3) รูปแบบและวิธีการของการเมืองในการจัดการความขัดแย้ง ได้แก่ การจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โครงสร้างอำนาจชุมชนและผู้นำท้องถิ่น ความแตกต่างของผลประโยชน์จากการจัดซื้อที่ดิน ความแตกต่างของความคิดเรื่องผลประโยชน์สาธารณะระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น การมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ</p>}, number={2}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={แก้วจิตคงทอง พินิตา}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={638–651} }