@article{ธรรมเหมไพจิตร_ตันเปาว์_2021, title={กลยุทธ์การตลาดการเช่า-ซื้อ อาคารที่พักอาศัยคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/245946}, abstractNote={<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมความต้องการของผู้เช่า-ซื้ออาคารที่พักอาศัยและคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อวิเคราะห์ กลยุทธ์การเป็นผู้นำในเรื่องต้นทุน กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง และกลยุทธ์การกำหนดเป้าหมาย และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 3) เพื่อสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดการเช่า-ซื้อที่เหมาะสม และงานวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่ม ผู้เช่า-ซื้อ จำนวน 331 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้บริหาร ผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คน และเขตปริมณฑล จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไค-สแควร์ (Chi-square) และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เช่า-ซื้อ เลือกโครงการที่มีการรักษาความปลอดภัยมีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.63, S.D. = .538) มีสาธารณูปโภค สโมสรมีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.24, S.D. = .925) และที่ตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้ามีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.21, S.D. = .674) สนใจโครงการบริษัทที่มีชื่อเสียงมีคะแนนเฉลี่ย ( =4.52, S.D. = .500) โครงการหรูหรามีระดับมีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.50, S.D. = .501) มีขั้นตอนแนะนำสินเชื่อจากสถาบันการเงินอย่างดีมีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.30, S.D. = .781) และมีปัจจัยการตัดสินใจเช่า-ซื้อ ตามกระแสสังคมเพื่อการยอมรับ มีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.60, S.D. = .496)และจากการที่ได้เห็นบ้านหรือห้องตัวอย่างก่อนตัดสินใจมีคะแนนเฉลี่ย ( = 4.77, S.D. = .421) 2. กลยุทธ์การเป็นผู้นำในเรื่องต้นทุน (Leader cost) โดยการลดต้นทุนด้านลักษณะทางกายภาพ สร้างกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ที่ผู้เช่า-ซื้อให้ความสนใจ ตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม ระดับราคาที่ 2,000,001-2,500,000บาท และระดับราคา 4,500,001-5,000,000บาท) และกลยุทธ์การกำหนดเป้าหมาย และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Focus strategy) ซึ่งเป็นนักธุรกิจ เจ้าของกิจการ อายุ 35-49ปี ซึ่งก็ให้ความหมายในทำนองเดียวกัน 3. องค์ประกอบของตัวแปรที่สังเกตได้ทั้ง 9 ตัว มีค่าเป็นบวกประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอาชีพ ด้านรายได้ ปัจจัยการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ P1 ด้านสถานที่ P3 ด้านการส่งเสริมการขาย P4 ด้านบุคคล P5 ด้านกระบวนการ P7 ปัจจัยการตัดสินใจเช่า-ซื้อ ด้านการรับรู้ - เรียนรู้ Y2 และด้านการบริการหลังการขาย Y3 โดยตัวแปรสังเกตได้ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด ด้านรายได้ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.07 ด้านบุคคล(People) P5 โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .92 นอกจากพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบแล้ว ยังสามารถพิจารณาได้จากค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R^2) ซึ่งก็ให้ความหมายในทำนองเดียวกัน</p>}, number={6}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={ธรรมเหมไพจิตร นพวัตติ์ and ตันเปาว์ กฤษฎา}, year={2021}, month={ต.ค.}, pages={2518–2530} }