@article{ศุภผล_2021, title={พัฒนาการของการศึกษาปรัชญาการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2469-2561}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/245714}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาพรวมเกี่ยวกับพัฒนาการของการศึกษาปรัชญาการเมืองตะวันตกในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2561 และ 2) เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับบริบทอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาปรัชญาการเมืองตะวันตกในประเทศไทยตามแต่ละยุคสมัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะจงโดยผู้ให้ข้อมูลคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอนปรัชญาการเมืองในประเทศไทยจำนวน 13 ท่าน กรอบทฤษฎีที่ใช้คือ แนวการวิเคราะห์แบบประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง (History of Political Thought) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปรัชญาการเมืองตะวันตกได้เข้ามาสู่ประเทศไทยครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ผ่านงานแปลของเพลโต (Plato) เรื่อง Lysis หรือว่าด้วยมิตรภาพ (Friendship) โดยกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และหลังจากนั้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นักปฏิวัติก็ได้มีการนำงานแปลปรัชญาการเมืองตะวันตกมาสร้างความชอบธรรมให้กับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไรก็ดีปรัชญาการเมืองนั้นได้เริ่มมีการศึกษาอย่างเป็นทางการก็ช่วง พ.ศ. 2500 ซึ่งจากช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้ส่งผลโดยตรงต่อการที่ปรัชญาการเมืองในช่วงเวลานี้เจริญเติบโตในแง่ของการที่มีผู้ศึกษาทำวิจัยมากขึ้นและยังส่งผลมาจนถึงปี พ.ศ. 2561 2) ปรัชญาการเมืองในประเทศไทยนั้นมีการแปรผันตามบริบทและสังคมการเมืองของไทยในแต่ละยุค ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2561 ซึ่งไม่ว่าในยุคที่เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ปรัชญาการเมืองตะวันตกก็มักจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบการปกครองอยู่ตลอดเวลา</p>}, number={7}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={ศุภผล ศุภชัย}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={2893–2905} }