@article{รุ่งเรือง_พลสิงห์ชาญ_2021, title={การประเมินคุณภาพของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/245521}, abstractNote={<p>บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อประเมินระดับคุณภาพบัณฑิตพยาบาลและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพบัณฑิตพยาบาลกับผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ในครั้งแรก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ บัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินคุณภาพของบัณฑิตพยาบาล จำนวน 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. สมรรถนะพื้นฐานวิชาชีพ 3. สมรรถนะส่งเสริมวิชาชีพ และ 4. คุณลักษณะเชิงวิชาชีพ และ ฉบับที่ 2 แบบบันทึกผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล ชั้นหนึ่ง ในครั้งแรก มีค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ด้วยสถิติไคส์สแควส์ ผลการวิจัยพบว่า บัณฑิตพยาบาลมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 โดยผ่านเกณฑ์ในระดับดี มากที่สุด จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 และมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ในแต่ละองค์ประกอบทุกคน โดยองค์ประกอบที่ 1 คุณธรรม จริยธรรม บัณฑิตมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ในระดับดีเยี่ยม มากที่สุด จำนวน28 คน คิดเป็นร้อยละ 30.11 บัณฑิตพยาบาลสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผ่านในครั้งแรก จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 76.34 และรายวิชาการพยาบาลมารดาและทารก สอบผ่านมากที่สุด จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับคุณภาพของบัณฑิตพยาบาลมีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (x^2 = 36.11, p = 0.000)</p>}, number={6}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={รุ่งเรือง คมวัฒน์ and พลสิงห์ชาญ ศรินยา}, year={2021}, month={ต.ค.}, pages={2360–2374} }