@article{ชิโนกุล_2021, title={ส่วนผสมทางการตลาดบริการของผู้ประกอบการธุรกิจ ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือตอนบน (จังหวัดเชียงราย) กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัดหนองคายและมุกดาหาร)}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/243168}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดเชียงราย หนองคาย และมุกดาหาร ที่มีต่อส่วนผสมทางการตลาดบริการ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย จังหวัดหนองคายและมุกดาหาร ที่มีต่อส่วนผสมทางการตลาดบริการ จำแนกตามจังหวัด 3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การวิจัยนี้เป็นแบบผสม ในการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ประกอบการจำนวน 425 ชุด ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารมาสนับสนุน</p> <p>          ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อส่วนผสมทางการตลาดบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความคิดเห็นต่อส่วนผสมทางการตลาดเฉพาะด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับด้านที่เหลืออยู่ในระดับมาก 2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นพบว่า ผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนผสมทางการตลาดบริการในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) ในการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า เชียงรายขาดพื้นที่ให้บริการนักลงทุน ในขณะที่หนองคายและมุกดาหารขาดนักลงทุนที่สนใจ ข้อค้นพบดังกล่าว นำไปสู่การใช้จุดแข็งของเชียงรายมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาการค้าต่างประเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นมาตรฐาน ราคาที่แข่งขันได้ เน้นการ ใช้สื่อสังคมแบบใหม่เข้าถึงลูกค้า โฆษณาใช้เทคโนโลยี และพัฒนาการลักษณะทางกายภาพ บุคลากรทุกระดับ ต้องเข้าใจการตลาดในบริบทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ไม่ควรยกเลิกเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งสามเขต แต่ควรพัฒนามาเป็นเมืองการค้าปลอดอากรเพื่อการท่องเที่ยวและพัฒนาการบริการอื่น</p>}, number={2}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={ชิโนกุล ชัยยุทธ}, year={2021}, month={เม.ย.}, pages={522–533} }