@article{วรเดชนัยนา_หงษ์สุวรรณ_2020, title={ช้างในวรรณกรรมนิทานอีสาน:การสร้างอัตลักษณ์สัตว์และความหมายทางวัฒนธรรม}, volume={8}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/234912}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช้างในเชิงการสร้างอัตลักษณ์สัตว์และความหมายทางวัฒนธรรมผ่านวรรณกรรมนิทานอีสาน 3 เรื่อง คือ ท้าวคัทธนาม นางผมหอมและสังข์ศิลป์ชัย โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องสัตวศึกษามาประยุกต์ใช้  เพื่อตรวจสอบและหาคำตอบว่า วรรณกรรมนิทานอีสานได้นำเสนอการสร้างอัตลักษณ์สัตว์ให้กับช้างในลักษณะใดบ้าง และการสร้างอัตลักษณ์นั้นมีความสำคัญต่อความหมายทางวัฒนธรรมอย่างไร  จากการศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ให้กับช้าง พบว่า 1) การสร้างอัตลักษณ์ด้านร้ายให้กับช้าง สะท้อนให้เห็นการแบ่งแยก ตัดขาดและเบียดขับสัตว์ให้ไกลจากสังคมวัฒนธรรมมนุษย์ บนพื้นฐานของมโนทัศน์ที่มองว่า ช้างเป็นสัตว์ป่าที่มีความป่าเถื่อน โหดร้ายและสันดานดิบ 2) การสร้างอัตลักษณ์ด้านดีให้กับช้าง ด้วยการสวมใส่พฤติกรรมและคุณลักษณะทั้งอารมณ์ความรู้สึก สติปัญญา และความสามารถบางประการให้เหมือนมนุษย์ และยกระดับให้สามารถกระทำจริยธรรมอันดีงามได้ ส่วนประเด็นความหมายทางวัฒนธรรมพบว่า      1) ช้างในฐานะสัญลักษณ์ของพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ มีความลึกลับยากแก่การหยั่งรู้และอยู่เหนือ          การควบคุมของมนุษย์ ทั้งยังเป็นตัวเชื่อมระหว่างโลกสามัญกับโลกศักดิ์สิทธิ์ 2) ช้างในฐานะสัญลักษณ์ของ การสืบเผ่าพันธุ์และเพศสภาวะ  เป็นสัตว์ที่มีพลังอำนาจในการสร้างสภาวะการเจริญพันธุ์ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการให้ความสำคัญทางเพศสภาวะระหว่างหญิงและชาย</p>}, number={1}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={วรเดชนัยนา คมกฤษณ์ and หงษ์สุวรรณ ปฐม}, year={2020}, month={ก.พ.}, pages={233–246} }