@article{ลาภเจริญ_2020, title={การศึกษาระบบ E-Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร สู่มาตรฐานระดับสากล}, volume={8}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/230437}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อศึกษาระบบ e-learning และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางการใช้เทคโนโลยี e-learning ในการแสวงหาความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เท่าทันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการที่มีความสมัยใหม่ และ การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 400 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ในกรณีที่เก็บแบบสอบถามผ่าน Google Form กับผู้เรียนในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยมีการศึกษาระบบแบบ E-Learning จำนวน 400 คน คือ การสุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงโอกาสที่ทุกหน่วยประชากรจะถูกเลือกและสามารถประมาณค่าความน่าจะเป็นได้ เลือกสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีการจับฉลาก ผู้วิจัยเลือกการหยิบฉลากครั้งเดียวให้ได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ</p> <p>        ผลการศึกษาพบว่า ด้านโครงสร้างของเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์ของบทเรียน พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า การศึกษาผ่านระบบ  E-Learning สามารถประสานงานกันให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น และด้านการที่ E-Learning ช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง และE-Learning มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ทำให้เกิดความน่าสนใจ มีกิจกรรมในการเรียนที่หลากหลาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ E-Learning เป็นการเพิ่มช่องทางในการเรียนที่ทันสมัยและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p> <p>        การประเมินข้อเสียของระบบ E-learning  การไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอนพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนบางคนไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย การไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>:</strong> การศึกษาระบบ E-Learning,ศักยภาพของผู้เรียน,มาตรฐานระดับสากล</p>}, number={1}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={ลาภเจริญ สุภาวดี}, year={2020}, month={ก.พ.}, pages={295–307} }