@article{อภิปรัชญาสกุล_กาญจนาทวีกูล_2019, title={แนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0}, volume={7}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/202856}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะตัวชี้วัดศักยภาพโลจิสติกส์ในการพัฒนาศักยภาพ การแข่งขันสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย 2) เพื่อศึกษาลักษณะตัวชี้วัด ศักยภาพในการรองรับเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขนั สคู่ วามสำเร็จของ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการ สนทนากลุ่ม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ และผู้บริหาร ระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐบาล จำนวน 20 คน เลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีค่าดัชนีความสอดคล้องกัน เท่ากับ 1.0 ใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขันสู่ความสำเร็จของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยเพื่อรองรับ อุตสาหกรรม 4.0 มีดัชนีชี้วัด 4 ด้าน คือ ดัชนีด้านความสอดคล้องระหว่างองค์กรกับกลยุทธ์องค์กร ดัชนี ด้านการวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน ดัชนีด้านผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ และดัชนีด้าน การติดตั้งและวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวชี้วัดรวม 22 ข้อ ส่วนแบบประเมินดัชนีชี้วัดความพร้อมในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 มีดัชนีชี้วัด 6 หมวด คือ หมวดกลยุทธ์และการจัดองค์กร โรงงานอัจฉริยะ การดำเนินงานหรือการผลิตอัจฉริยะ ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ การบริการการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ และพนักงาน จำนวน 23 ตัวชี้วัด ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขันสู่ ความสำเร็จของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 อยู่ในระดับ 4.85 หรือระดับดีถึงดีมาก ซึ่งสามารถนำไปใช้สร้างความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย</p>}, number={5}, journal={วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร}, author={อภิปรัชญาสกุล คำนาย and กาญจนาทวีกูล กัญญามน}, year={2019}, month={ส.ค.}, pages={1447–1459} }