การพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยสู่อาชีพโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ณรงค์ศักดิ์ อัจฉรานุวัฒน์
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการไกล่เกลี่ยโดยผู้ประนีประนอมในศาลยุติธรรม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดผู้ไกล่เกลี่ยวิชาชีพขององค์กรเอกชน JAMS ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย 3) เพื่อพัฒนาการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทของศาลยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณ 20 คน ด้านการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ข้าราชการผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมระดับสูงทั้งผู้บริหารที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ผู้ประนีประนอม ทนายความอาวุโสผู้มีประสบการณ์เกินกว่า 20 ปี นักวิชาการและอาจารย์อาวุโส  แพทย์และนักธุรกิจในบริษัทมหาชนจำกัด


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประนีประนอมในศาลยุติธรรมที่ศาลแต่งตั้งให้แก่คู่พิพาทยังมีข้อจำกัดอยู่มาก
ในการไกล่เกลี่ยคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทจำนวนสูงๆ ซึ่งมักเป็นคดีที่มีความสลับซับซ้อนด้านกฎหมาย เนื่องจากขาดการพัฒนาความรู้ในสาขาต่างๆ  อีกทั้งการเป็นเพียงบุคคลภายนอกที่อาสาเสียสละเวลาเข้ามาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย มิใช่ ผู้ที่ยึดการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเป็นอาชีพที่ต้องมีความรู้ ความรับผิดชอบและความทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน 2) JAMS เป็นบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ให้บริการการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ให้บริการระงับข้อพิพาทประมาณ 12,000 เรื่องต่อปี (ข้อมูลปี
พ.ศ.2557) โดยร้อยละ 70 เป็นข้อพิพาททางแพ่ง, พาณิชย์ และทรัพย์สินทางปัญญา โดยองค์กรมีจุดเด่นด้านบุคลากรที่มีผู้ไกล่เกลี่ยอาวุโสและประสบการณ์ ทั้งด้านความรู้และความชำนาญการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ตลอดจนมีกฎเกณฑ์และกระบวนการเป็นระบบ รวมทั้งมีหน่วยฝึกฝนและพัฒนา ผู้ไกล่เกลี่ยเรียกว่า JAMS Training & Development Department ก่อให้องค์กรเกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง 3) ควรจัดให้มีผู้ไกล่เกลี่ยวิชาชีพ(Professional Mediator)ขึ้นในศาลยุติธรรม ในการพัฒนาการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกอีกช่องทางหนึ่งให้แก่คู่พิพาทไปกับผู้ประนีประนอมเพื่อเป็นการปฏิรูปการไกล่เกลี่ย โดยจะต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรควบคุมวิชาชีพ เรียกว่า Association of Thai Professional Mediator- A.T.P.M.ทำหน้าที่วางกฎเกณฑ์และกระบวนการให้เป็นระบบ ให้มีมาตรฐานวิชาชีพทั้งด้านจริยธรรมและสมรรถนะของผู้ไกล่เกลี่ยวิชาชีพ รวมทั้งติดตามประเมินผล




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alternative Dispute Resolution Office, The Office of the Judiciary. (2013). Handbook of The Center of Reconciliation and Peaceful Means. Bangkok: Tana press Co., Ltd.

Chantara-Opakorn, A. (2015). Alternative Ways for Dispute Resolution: Negotiation, Mediation and Conciliation, Arbitration. Bangkok: Faculty of Law, Thammasat University.

Manprasert, C. (2008). Achievement Evaluation on Mediation System of Court of Justice: a Case Study of Civil Court, Chiang Mai Province. Chiang Mai: Chiang Mai University.

Nooruangngam, P. (2013). Development of Restorative Justice: A Case Study of Mediation in Resolving Administrative Disputes Enforcement in Thailand. Journal of Thai Justice System, 6(2), 104–106.

Nuyimsai, W. (2016). A Comparative Study of Mediation Centre of Lawyers Council of Thailand and Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Office of Planning and Budget. Court of Justice Thailand. (2019). Annual Judicial Statistics Thailand 2019. Retrieved July 9, 2021, from https://oppb.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/2085/iid/196196

Office of Judicial Affairs, The Office of the Judiciary. (2017). Hawaii Conciliate. Bangkok: Tana press Co., Ltd.

Rungrueangphadung, P. (2018). Develoment of Subpaya to Enhance Efficacy of Mediation. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Todsungnoen, J. , & Gluntapura, O. (2014). Factors Contributing to the Success of the Community Mediation: A Case Study of Khok Kham District Community Justice Center, Mueang District, Samutsakhon Province. Journal of Social Sciences and Humanities, 40(1), 98–113.