กระบวนการพัฒนายุววิศวกรสันติภาพในสถานศึกษา

Main Article Content

ทัศนี ช้อยกิตติพันธ์
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) ศึกษาคุณลักษณะ 2) สร้างกระบวนการพัฒนา และ 3) นำเสนอผลกระบวนการพัฒนายุววิศวกรสันติภาพในสถานศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน นำไปทดลองด้วยการฝึกอบรมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิเคราะห์ผลด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณก่อนและหลังการทดลองโดยสถิติวิเคราะห์ One-Way ANOVA: t-test, p-value ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะของยุววิศวกรสันติภาพในสถานศึกษา ประกอบด้วย คุณสมบัติภายใน/ภายนอกและการมีเป้าหมายอุดมการณ์ ได้แก่ มีความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ มีจิตเมตตา เป็น นักสื่อสารที่ดี นักประนีประนอม เห็นคุณค่าและเชื่อมั่นในสันติวิธีว่าเป็นวิถีทางก้าวข้ามความขัดแย้ง 2) การสร้างกระบวนการพัฒนายุววิศวกรสันติภาพฯ ได้แก่ อริยสัจ 4 หลักโยนิโสมนสิการ หลักไตรสิกขา บูรณาการกับทฤษฎีทางตะวันตกเรื่องของการพัฒนาเยาวชน ผู้สอนเป็นผู้จัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ชุดฝึกอบรมสร้างด้วยหลัก K-A-M-P เน้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเรียนรู้ มีทัศนคติที่ถูกต้อง มีแรงบันดาลใจในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ประกอบด้วย 10 กิจกรรม 3) ผลกระบวนการพัฒนาฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยรวมก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปว่า ชุดฝึกอบรมนี้ทำให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำความรู้ หลักธรรมทางศาสนาและกระบวนการพุทธสันติวิธีไปใช้ในการจัดการความขัดแย้งและเสริมสร้างสันติสุข องค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า"กระบวนการ FILME-CMS-WWS Model" กล่าวคือ F - Faith Cultivation: บ่มเพาะศรัทธา I - Inner Peace Development: พัฒนาสันติภายใน L- Open mind to Learn: เปิดใจเรียนรู้ M - Bring heart with Buddhist peaceful Means: พุทธสันตินำใจ E - Emphatic Communication: สื่อสารใส่ใจยอมรับ CMS - Weave power for Conflict Management Skills: สานพลังสร้างทักษะการจัดการความขัดแย้ง W - Learn the World Wide: เรียนรู้โลกกว้าง และ S - Public Mind for Society: จิตสาธารณะเพื่อสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Academic Group, Thailand Education Partnership. (2018). The Future Path of Thailand Education. Bangkok: Thailand Education Partnership (TEP).

Alternative Dispute Resolution Office-Thailand. (2016). Mediation in Educational Institutions. Bangkok: Thana Printing.

Amornwiwat, S. (2010) Three Main Concepts from the Study of Buddhadhamma. Retrieved January 14, 2019, from https://www.roong-aroon.ac.th/?page_id=1946.

Anonymous. (2012) . Social Problem. Retrieved December 26, 2018, from http://luck507.blogspot.com/2012/07/blog-post.html.

Chuengsatiansup, K. et al. (2012). Community Way; 7 Tools for Community. Bangkok: Suksala Press.

Khamkeaw, W. (2013) . An Analytical Study of the Knowledge of Human Development from the Knowledge of Buddhism (Research Report) . Bangkok: Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University.

Kumar, S. (2007) . Spiritual Compass: the Three Qualities of Life. (Kulkanokwan Hamdani, Translator). Bangkok: Suan Nguen Mee Ma Press. (2011).

National Child and Youth Development Promotion Committee. (2018). 2nd National Child and Youth Development Plan 2016-2021. (2nd ed). Bangkok: J.S Printing.

Nithiuthai, S. (2011). A Development of Youth According to Buddhism in Thai Society. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Methawinairoch (Suthep pavisigo) . (2018) . Vice President. Interview. September, 30.

Jandai, J. (2018). Local Philosopher. Interview. September, 17.

Jamchanya, K. (2018). Chief of Guidance. Interview. September, 18.

Samran, C. (2002). How do Teachers Know that Children are Learning?. (5th ed). Bangkok: The Siam Comercial Foundation.

Tangkananurak, W. (2012) . Mordew-Kruyui Pointing to the Aggressive Children Imitating from the Violent Society. Thai Health, Retrieved March 18, 2018, from https://www.thaihealth.or.th/Content/19130-.

Tantivanitchanon, J. (2016) . An Analytical Study of the Cultivation of Ethical Principle in the Youth by Phra Brahmgunaphorn (P.A. Payutto)’s Points. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Trepati, S. (2013) . Life Assests; Positive Development of Thailand. Retrieved November 23, 2018, from https://www2.nrct.go.th/Portals/0/data/07part1/07part2/07part3/,2013