สันตินวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมวัฒนธรรมแห่งความสุข ของบุคลากร กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

ลินลา ตุ๊เอี้ยง
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและนำเสนอผลการใช้สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งความสุขของบุคลากร กระทรวงสาธารณสุขด้วยหลักพุทธสันติวิธีและหลักการมีส่วนร่วม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มอาสาที่เข้าร่วมเป็นบุคลากร กองบริหารการสาธารณาสุข จำนวน 25 ท่าน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (เทคนิค A-I-C ) การร่วมสะท้อนกิจกรรมด้วยเทคนิค AAR การออกแบบการจัดกิจกรรมมี 4 ระยะ การประเมินผลโดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า พื้นฐานแนวคิดสำคัญ ได้แก่การสร้างการมีส่วนร่วมด้วยหลักพุทธสันติวิธีเป็นพื้นฐาน ด้วยอิทธิบาท 4 ในการสร้างความสุขระดับบุคคล และสาราณียธรรม 6 ในการขยายพื้นที่ความสุขในระดับกลุ่มคนที่มีความเห็นร่วมกัน กระบวนการมี 4 ระยะ คือ 1 รดน้ำเมล็ดพันธุ์ 2 การบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ 3 การผลิดอกออกผล 4 การแผ่กิ่งก้านสาขา ผลที่เกิด พบว่าอาสากองบริหารสาธารณสุข เกิดวัฒนธรรมแห่งความสุข ในการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ 1) กายเป็นสุข 2) สังคมเป็นสุข 3) จิตเป็นสุข 4) ปัญญาเป็นสุข องค์ความรู้ใหม่ในงานวิจัย โมเดล P-H-D-B สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งความสุข ประกอบด้วย 1. P – Peace Volunteers การค้นหาคนที่มีต้นทุนความดี เพื่อให้เกิดแรงจูงใจการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม 2. H – Hearing รับฟังและร่วมกันการทำงานเป็นทีมด้วยความสามัคคี 3.D – Developing พัฒนากระบวนการปฏิสัมพันธ์อันดี 4.B –Branching การมีส่วนร่วมในการทบทวนปัญหา อุปสรรค ผลการดำเนินการในทุกขั้นตอน ผลที่ได้รับคือแตกยอดออกผลแห่งความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonsing. J. (2019) . A Study of Differences In Perceived Organizational Culture Of Agencies Under the Department of Health. Retrieved October 14 , 2020, from http://psdg.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/psdg/download/PR_2019/Culture_DoH%20Jarumon.pdf.

Champirueng, S. (2019). Developing a Curriculum for Enhancing Happiness in Organization of Nursing Colleges with Conversational Aesthetics. Journal of Public Health, 28(Sp1), 1-12.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (Eds.). (1990). The action research reader. Victoria: Deakin University.

Kerdkaew, T. (2006). Love: Social Reward and True Value. Journal of KKU, Academic Affairs, 9(18), 107-121.

Strategy and Work Plan Division: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2019). Guidelines for Driving Happiness, Ministry of Public Health, 2019 - 2020. Bangkok: Ministry of Public Health.

Tuaing, L. (2021) . Peace Innovation for Enhancing the Culture of Happiness for Personnel at The Ministry of Public Health: Documentary and Research Synthesis. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Wattanapradith, K. (2015). Buddhist Method for Creating Motivation to Observe the Five Precepts. Journal of Psychology Kasem Bundit University, 5(1), 1-15.

Wattanapradith, K. (2018). The Holistic Development of Mind and Wisdom: Documentary and Research Synthesis. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.