รูปแบบการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

เพ็ญประภา มีเพียร
พงษ์ธร สิงห์พันธ์
จิณณวัตร ปะโคทัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบ 3) เพื่อทดลองรูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ มีการดำเนินการ 4 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ โดยการสัมภาษณ์ สถานศึกษาต้นแบบ 3 แห่ง ใช้แบบสอบถามกับ ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการ และครู จำนวน 224 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2) สร้างรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 3) ทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการ และครู โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 4) ประเมินผลรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการ และครู โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 6 องค์ประกอบ 1) วัตถุประสงค์ 2) หลักการ 3) ระบบและกลไก 4) วิธีดำเนินการ 5) แนวการประเมิน 6) เงื่อนไขความสำเร็จ การดำเนินการมี 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา 1.1) นโยบาย 1.2) ด้านวิชาการ 1.3) ด้านงบประมาณ 1.4) ด้านบริหารทั่วไป 1.5) ด้านบริหารบุคคล 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 2.1) การดำเนินการด้านหลักสูตรสถานศึกษา 2.2) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 2.3) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 2.4) การวัดผลและประเมินผล 3) ด้านครูผู้สอน 3.1) คุณสมบัติครูผู้สอน 3.2) การพัฒนาครู 3.3) กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู 4) ด้านคุณภาพผู้เรียน 4.1) ผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการ 4.2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การประเมินรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ มากที่สุด




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akachote, N. (2019). Model of project management for teaching and learning according to the Ministry of Education curriculum in English (English Program: EP) of secondary schools under the Office of the Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Nakhon Sawan RajabhatUniversity. Nakhon Sawan.

An, Y. (2011). Guidelines for project management that provide teaching and learning according to the Ministry of Education curriculum in English of basic education institutions in Chiang Mai. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Basic Education Commission Office. (2010). Basic Education Core Curriculum 2008. Third edition. Bangkok: Rally Press. Agricultural Cooperatives of Thailand.

Boonwatanakul, S. (2013). Female character in Boonlua's novel. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Deethayat, P. (2011). Satisfaction of Parents towards Bilingual School Project of Municipality 6 Nakhon Chiang Rai School. (Master’s Thesis). Chiang Rai Rajabhat University. Chiang Rai.

Ministry of Education. (2005). Strategies for the development of children and youth with special abilities. Bangkok: Teachers Council of Lat Phrao Publishing House.

Niamthet, W. (2011). How to manage the English Program Program for success. Journal of Education, 12(2), 11-23.

Personality development for excellence, administration center. (2020). Operation of the development of individual potential for excellence. Bangkok: Ministry of Education.

Promma, P. (2014). Development of Bilingual School Administration Components in Thailand. (Doctoral Dissertation). Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. Pathum Thani.