วิศวกรสันติภาพท้องถิ่น: ต้นแบบผู้นำสร้างสันติสุขในชุมชน

Main Article Content

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอชุดองค์ความรู้จากโครงการวิจัยย่อยประกอบด้วย
3 โครงการย่อย 1) คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสันติสุขในชุมชน 2) การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขในชุมชน 3) รูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยมีพื้นที่การศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการรวบรวมวิเคราะห์ด้วยวิจัยอนาคต (EDFR) การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยและพัฒนา (R&D) ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน
43 คน


          ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะผู้นำสันติภาพท้องถิ่น ประกอบด้วย สันติภายใน (Inner Peace) และสันติภายนอก (Outer Peace) มี 13 ตัวชี้วัด หลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขในชุมชน ประกอบด้วยปรัชญาหลักสูตรวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่มีเนื้อหาหลักสูตร 6 Module โดยอบรม 3 วัน 20 ชม.และติดตามผล 1 เดือน ผลการใช้รูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข พบว่า ผู้นำท้องถิ่นทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะวิศวกรสันติภาพทั้ง 5 ด้าน สูงกว่ากว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนน ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปขยายผลในการทำพัฒนาชุมชนให้สันติสุข ได้ชุดองค์ความรู้วิจัย ได้แก่ (1) โมเดล I-O-C คุณลักษณะผู้นำสันติภาพ (2) โมเดล PDCA เพื่อพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้น  4) โมเดล 3P-I to O for Local peace engineers สามพลังในการพัฒนาสันติภายในสู่สันติภายนอกของวิศวกรสันติภาพท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chantrawutikorn, S. (2019). Study and Development of a Training Model Based on Threefold Trainingto Strengthen Ethical Leadership for Executive Officers and Team Leadersin an Organization. (Doctoral Dissertation). Graduate school: Srinakharinwirot University. Bangkok.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). National Strategy.

Pansuwan, A. (2014). The Development of Community Leader Characteristics in Accordance of Phranakhonsriayutthaya. (Doctoral Dissertation). Graduate school: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Dharmapitaka (P.A. Payutto). (2001). Buddhist methods of teaching. (8th ed.). Bangkok: National Education Agency.

Phramaha Hansa Dhammahaso. (2018) . The Integration of the Knowledge in Field of Peace for Developing Peace Building Process in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies, 6(3), 1254-1266.

Sandmann, L. R., & Vandenberg, L. (1995). A framework for 21st century leadership. Journal of Extension, 33(6).

Singmatr, S., Meemana, P., & Kaewin, D. (2017). Leadership traits of the Executive in the 21st century. RMU GRC 2017. Retrieved December 15, 2020, from http://gs.rmu.ac.th/grc2017/fullpaper/file/PS-O-01.pdf.wamwichakar/bthbathchumchnthxngthinkabkarkhabkheluxnsumodelprathesthiy40.

Wattanapradith, K. (2016). Peace Community in the 26th Buddhist Century: Knowledge Learned from Peace Community in Conflict Areas. Journal of MCU Peace Studies, 6 (Special), 13-24.

Wattanapradith, K., Seethong, K., Rojjanauthai, S., & Areekul, C. (2018). The Holistic Development of Mind and Wisdom: Documentary and Research Synthesis. (Doctoral Dissertation). Graduate school: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Wisupee, W. (2017). The role of local communities to propel Thailand to model 4.0. Learning Institute for Everyone. Retrieved December 15, 2020, from https://sites.google.com/a/life.ac.th/main/bthkh

Wongyai, W., & Phatphon, M. (2019). The Coaching for competencies. Bangkok: Center for Innovation, Curriculum and Learning Leadership.