การวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ ของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ภิลักษณ์ชญา วัยวุฒิ
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที
พระเมธาวินัยรส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของนักศึกษาพยาบาล 2)  เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธสันติวิธีการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่พยาบาล 3) เพื่อการวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า  


    1) การพยาบาล คือ การใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ โดยยึดหลักให้ความปลอดภัย การส่งเสริมสุขภาพอนามัยอันดีต่อประชาชนและสังคม โดยมิได้คำนึงถึง เพศ อายุ
เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะตลอดจนสิทธิทางการเมือง และพยาบาลต้องได้รับการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะสาขาการพยาบาล ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ จะต้องมีทักษะการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  2) หลักพุทธสันติวิธีสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่พยาบาลได้แก่ (1) หลักพรหมวิหาร 4 (2) หลักอิทธิบาท 4 และ (3) หลักสังคหวัตถุ 4  3) การวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ได้ดังนี้ หลักพรหมวิหาร 4 ส่งเสริมความรัก ความเมตตา และสันติภายในใจของพยาบาล เพื่อเป็นฐานปฏิบัติงานต่อผู้ป่วยอย่างมีความสุข หลักอิทธิบาท 4 ส่งเสริมการทำงานของพยาบาลให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และหลักสังคหวัตถุ 4 ส่งเสริมสัมพันธภาพสร้างบรรยากาศความสุขในการศึกษาและปฏิบัติงานพยาบาล ดังนั้น หลักพุทธสันติวิธีทั้ง 3 ประการ สามารถสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของพยาบาลให้ดีขึ้น และสามารถทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ส่วนผู้ป่วยได้รับการบริการรักษาที่ดีและมีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ekkaphan, M., Phongsart, K. & Khamlai, A. (2018). Influential Factors on Career Commitment of Professional Nurses: A Case Study of the Nakhon Phanom Hospital. Humanities and Social Sciences Journal, 9(1), 69.

Moopayak, K. et. al. (2015). Correlation between Emotional Intelligence and Adaptive Behaviors of Nursing Students. J Nurse sci, 33(Supply), 55-65.

Naosuwan, K. & Sattayarak, W. (2016). Identity Components of Nursing College Students Ministry of Public Health. KKU Academic Journal, 19(38), 77-92.

Pitakavakath, P. (2013). A Study of the Characteristics of Nursing Students of the Royal Thai Navy College. Thesis Master of Arts, M.Ed. (Higher Education). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.

Srikhamsuk S. A. Worahan, W. & Senarak, W. (2011). Happiness of Undergraduate Nursing Students, Faculty of Nursing. Khon Kaen University Journal of Nursing Science & Health, 34(2). 71.

Sutsuk, U. (2009). Health Care in Tipitaka. Integration for Health & Life Quality (2nd ed.). Nonthaburi: Theppratankanpim.

Sirilai, S. (2008). Ethics for Nurses. (10th ed.). Bangkok: Chulalongkorn Printing House.

Senadisai, S. and Panich, W. (2011) . Basic Nursing: Concepts and Practice. Bangkok: Gold Point Printing. World Health Organization.

WangfaiKaew, K. (2009). A Study of Applying Buddhist Principles to Promote Teachers' Duties, Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phayao Campus.