การศึกษาแนวคิดเรื่องสัมมาชีพและความรับผิดชอบในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม
พระมหาเจริญสุข คุณวีโร
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
เกษศิรินทร์ ปัญญาเอก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสัมมาชีพในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบในพระพุทธศาสนา (3) เพื่อศึกษาคุณค่าเกี่ยวกับสัมมาชีพและความรับผิดชอบในพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัย    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง นำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์


          ผลการวิจัยพบว่า สัมมาชีพ คือ การดำรงชีพที่มีความบริสุทธิ์ทั้งกาย, วาจา และใจ โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น พุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดสัมมาชีพ คือ หลักศีล 5 หลักอิทธิบาท 4 หลักจักร 4 หลักอริยทรัพย์ 7 และหลักมรรค 8 การจัดการทรัพย์มี 2 ส่วน คือ 1) การจัดการทรัพย์ภายนอก ประกอบด้วยหลักการแสวงหา, หลักการบริหาร,การออมทรัพย์และหลักการใช้ทรัพย์ 2) การจัดการทรัพย์ภายในคืออริยทรัพย์ 7 เน้นปัญญาเป็นที่ตั้ง เป้าหมายของสัมมาชีพมี 3 ระดับคือ ระดับบุคคล, ระดับสังคม และระดับขั้นสูงสุดคือการบรรลุพระนิพพาน แนวคิดความรับผิดชอบในพระพุทธศาสนานั้นเริ่มต้นจากการบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 ด้าน และพุทธกิจ 5 ทั้งนี้เพื่อมุ่งประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขของมวลมนุษย์ ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระกิจที่บุคคลพึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ต่อบุคคลอื่น หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมความรับผิดชอบ คือ หลักกตัญญูกตเวที หลักพรหมวิหารธรรม หลักฆราวาสธรรม หลักสังคหวัตถุ หลักทิศ 6 หลักสัปปุริสธรรม หลักอปริหานิยธรม และหลักอารยวัฒิ ในพระพุทธศาสนานั้นคุณค่าของสัมมาชีพและความรับผิดชอบมี 5 อย่าง คือ คุณค่าระดับบุคคล, ระดับครอบครัว, ด้านระบบเศรษฐกิจ, ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ดังนั้น ฐานความคิดนี้จึงเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนในการนำไปประยุกต์ใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

PhraDhammapitita. (P.A.Payutto), (1995). Buddhist Economics. Bangkok: Komol Kiemthong Foundation.

Jinawanno, V. (2013). Professional ethics. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Kanchanapan, S. (2008). Corporate social responsibility management strategy of business corporation. (Master's Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1990). Tripitaka: Thai version. Bangkok: MCU Press.

Phramaha Sompong Santacitto. (1996). “Corporate Social Responsibility of Business Organizations (CSR): Integrated Buddhist Concepts” in Buddhism and Recovery from an Overview of the World Situation., Edited by Phramaha Hansa Dhammahaso. Bangkok: Century Company Limite.

Phramaha Suthit Aphakaro, (2008), CSR: “Roles and relationships with Buddhist organizations”, in Buddhism and Ethics, Edited by Phrasutheethammanuwat. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Singchoo, P. (2014). Corporate social responsibility. Sripathum Review, 14(2), 123.

Somporn, S. (1995). Human relations. (2nd Ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Theerathanachaikul, S. (2014).The Business Ethics. Bangkok: Panyachon Press.