รูปแบบการพัฒนาสันติภาวะของผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ กรณีศึกษาเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นภษร รัตนนันทชัย
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

             บทความนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ โดยกระบวนการการสร้างสันติภาวะ การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวคิดการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ ตามหลักสันติภาวะ ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการการพัฒนาสันติภาวะของผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ สำหรับเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร


             งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาจากแนวคิด หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาข้อมูลเอกสาร และการศึกษาแบบภาคสนาม  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ต้องขังที่มีคำพิพากษาเด็ดขาด ถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และมีกำหนดโทษเหลือจำคุกต่อไปอีกไม่เกิน 6 เดือน – 1 ปี ตามหลักเกณฑ์ของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ผ่านการคัดเลือกและยินดีเข้าร่วมกิจกรรม โดยการสุ่มแบบเจาะจง  ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 23 ท่าน การสนทนากลุ่มเฉพาะโดยผู้เชี่ยวชาญ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม  นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะพรรณนา


             ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาผู้ต้องขังตามหลักสันติภาวะ สามารถถอดออกมาเป็นกระบวนการการพัฒนาได้ ประกอบด้วย หลักสติ ขันติ สันติ และไตรสิกขา มาบูรณาการร่วมกับกระบวนการ 5G คือ GOING GOAL GROWING GRATEFULNESS GIVER เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยให้กับผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ เน้นให้มีการฝึกสติ ฝึกความอดทน เรียนรู้ เข้าใจอารมณ์ตนเอง สามารถควบคุมตนเองได้ ปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ พฤติกรรม การอยู่ร่วมในสังคม และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีสติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Behavioral development division. (2019). Project to study the factors of recidivist offenders released in 2019. Research report by Department of corrections: Ministry of Justice.

Chitsawang, N. (2015). Prison Statistics. Retrieved February 2, 2020, from http://www.Thaicorrection.com.

Department of corrections. (2019). Retrieved February 2, 2020, from. http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2019-06-01&report=.

Mahachulalongkornrajavidyalaya. (1996), Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.

Phramaha Hansa Dhammahāso. (2011). Buddhist Peaceful Mean: Integrating the Principles of Tools and Manage Conflicts. Bangkok: 21 Century.

Phramaha Hansa Dhammahāso. (2016). Peace Studies: The Buddhist Path to World Peace. Nonthaburi: Panyachatra Books Binding Co., Ltd.

Phra Dhammapiṭaka (P.A.Payutto). (2008). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidalaya University.

Phra Paisal Visalo. (2012). Before the Relationship Ends. Bangkok: Post Publishing Printing.

Pipatchana, T. (2018). Inmates’ Preparation before Their Release by Using Religions. The Degree of Master of Laws (Department of Law), Dhurakij Pundit University.

Songsampan, S. (1998) Encyclopedia of International Correction. 1st edition. Bureau of Penology: Department of Corrections.

The royal pardon decree. (2019) Retrieved February 2, 2020, from. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/059/T_0001.PDF.