วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru <p>วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นวารสารที่เน้นการวิจัย ด้านการจัดการครอบคลุมทั้งสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น บริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ การบริหารธุรกิจ เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความวิชาการและบทความที่มีคุณภาพ ที่มีประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎี (Theoretical contribution) ที่ช่วยให้นักวิจัยสามารถพัฒนาและสร้างความรู้ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ (Managerial contribution) ช่วยให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารธุรกิจ และเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบต่างๆ อันเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่เรื่องราวในเชิงวิทยาการจัดการในแขนงต่างๆ รวมทั้งเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนความรู้ระว่าง คณาจารย์ นักวิชาการ ผู้บริหาร นักธุรกิจ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป</p> คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม th-TH วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2985-2285 <div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ <strong>คณะวิทยาการจัดการ </strong><strong>มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม </strong>บทความที่ลงพิมพ์ใน<strong> วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม </strong>ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง</p> </div> <div class="item addthis"> </div> การสื่อสารเพื่อการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ กลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในเขตภาคเหนือ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/262096 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถทางการสื่อสารของนักศึกษาต่างชาติกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเขตภาคเหนือ 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในเขตภาคเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการสื่อสารกับการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเขตภาคเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาต่างชาติในกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเขตภาคเหนือทั้งหมด 400 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1)ความสามารถในการสื่อสารของนักศึกษาชาวต่างชาติ มีพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษดี แต่มีปัญหาในเรื่องของการใช้ภาษาไทยและการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในท้องถิ่น 2) แนวทางการปรับตัวของนักศึกษาชาวต่างชาติ คือ การพยายามเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ประเพณีของประเทศไทย เปิดใจ คิดเชิงบวกและสร้างการยอมรับในความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเข้ามาช่วยในการปรับตัว และ3) ความสามารถทางการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของกลุ่มนักศึกษาต่างชาติ อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ .05</p> เอกรงค์ ปั้นพงษ์ พิชญาพร ประครองใจ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 6 1 1 20 อิทธิพลการรับรู้ผ่านคลิปวิดีโอสั้นและภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยที่ส่งผลการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/265693 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการใช้แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคลิปวิดีโอสั้น ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย ความพึงพอใจ และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลการรับรู้ผ่านคลิปวิดีโอสั้น ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย<br />ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วย Smart PLS 4.0 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้านพฤติกรรมพบว่าส่วนใหญ่รับชมคลิปวิดีโอสั้นทุกวัน เฉลี่ยรวมทั้งวันมากกว่า 30 นาที แพลตฟอร์มที่ใช้รับชมมากที่สุด<br />คือติ๊กต็อก ด้านการทดสอบสมมติฐานจากสมการเชิงโครงสร้าง คลิปวิดีโอสั้นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจ ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน ความพึงพอใจของผู้บริโภคมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชน ส่วนการรับรู้ผ่านคลิปวิดีโอสั้นไม่มีมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> สุเพ็ญนภา บุญเพิ่ม สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 6 1 21 34 การพัฒนาระบบแจ้งเตือนการชำระเงินค่ามิเตอร์ของผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ สำหรับแผนกบริการลูกค้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนครราชสีมา 3 (สุรนารี) แบบเรียลไทม์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/267052 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบแจ้งเตือนการชำระเงินค่ามิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ซึ่งงานวิจัยนี้มีการนำโปรแกรมพาวเวอร์ออโตเมท ทำงานร่วมกับโปรแกรมแอปสคริปต์ เข้ามาช่วยให้ระบบมีความเป็นอัตโนมัติ อีกทั้งยังนำแอปพลิเคชันการแจ้งเตือนไลน์นอติไฟล์ มาสนับสนุนกระบวนการทำงานของพนักงาน พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบของแดชบอร์ด ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.72, S.D.=0.358) และความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.28, S.D.=0.387) โดยระบบช่วยให้การคลิก กรอกข้อมูล ดาวน์โหลด รวมทั้งแปลงไฟล์จากระบบบริการลูกค้าอัจฉริยะ (SCS) ที่พนักงานแผนกบริการลูกค้าใช้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ อีกทั้งในส่วนของการแจ้งเตือน สามารถแจ้งรายละเอียดได้อย่างทันทีทันใด มีความถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้ระยะเวลาในการจัดทำเอกสารเพื่อติดตั้งมิเตอร์ให้กับผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ลดลง ลดปัญหาข้อร้องเรียนในการให้บริการล่าช้า และการทำงานในส่วนของแดชบอร์ดสามารถช่วยในการสืบค้นข้อมูล และสรุปผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ชธีวาภัทร เทพเกาะ จักรกฤษ เพ็ชรไทย ธนชนก ชะนะมา นนทพัทธ์ ศิริศาตร์ ปิยะดา เลาะสันเทียะ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 6 1 35 49 ปัจจัยเหตุและผลของการใช้การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/267572 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเหตุที่มีผลต่อการใช้การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในพื้นที่ 19 กลุ่มจังหวัด จำนวน 320 แห่ง ใช้เทคนิคการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 218.51, p-value = 0.09, df = 81, RMSEA = 0.04, SRMR = 0.02, CFI = 0.99, GFI = 0.95, AGFI = 0.91) แสดงว่า โมเดลมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และปัจจัยด้านเทคโนโลยี ด้านองค์การ และด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการใช้การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ การใช้การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ ส่วนปัจจัยด้านเทคโนโลยี ด้านองค์การ และด้านสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ด้านองค์การ และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีฐานะเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรภายนอก มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงความสำคัญในการใช้การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากำหนดเป็นกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน</p> ศิริกานดา แหยมคง Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 6 1 50 72 การศึกษากระบวนการการผลิตสื่อ Vlog เพื่อการตระหนักรู้ด้านความรุนแรง ภายใต้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/267279 <p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดกิจกรรมค่ายสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตเทศบาลนครอุดรธานีให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ 2) เพื่อผลิตสื่อ Vlog เพื่อตระหนักรู้ด้านความรุนแรงภายใต้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ สื่อ Vlog เพื่อการตระหนักรู้ด้านความรุนแรงที่พัฒนาขึ้น ใช้การวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพได้คัดเลือกนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 6 โรงเรียน รวม 30 คน ได้มาแบบเจาะจง การผลิตสื่อ Vlog แบบมีส่วนร่วม มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) การผลิตสื่อ Vlog ใช้เทคนิค 3P ก่อนการผลิต การผลิต และหลังการผลิต 2) ขั้นตอนการผลิตสื่อใช้วิธีแบบมีส่วนร่วม โดยให้รุ่นพี่เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงนักเรียนทุกขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากนักเรียน จำนวน 265 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1) กระบวนการผลิตสื่อ Vlog แบบมีส่วนร่วมทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความตะหนักรู้ด้านความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จากการได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อขึ้นมา 2) นักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีผลงานสื่อ Vlog เพื่อตระหนักรู้ด้านความรุนแรงภายใต้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อแบบมีส่วนร่วม จำนวน 6 เรื่อง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ด้านผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 3) นักเรียนที่เข้าชมสื่อ Vlog การรู้เท่าทันสื่อเพื่อการตระหนักรู้ด้านความรุนแรง มีความพึงพอใจต่อสื่อ Vlog อยู่ในเกณฑ์มากทุกข้อโดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.06, S.D.=0.764) ส่วนด้านตระหนักรู้ด้านความรุนแรงรู้พบว่า นักเรียนมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทุกข้ออยู่ในเกณฑ์มาก โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ใน<br />ระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.09, S.D.=0.775)</p> เสกสรร สายสีสด สุวัฒนา ดีวงษ์ สุพรรษา ปัญญาทอง นวียาฐ์ ศักยเศรษฐ์ ชาย วรวงศ์เทพ บุณยนุช สุทธิอาจ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 6 1 73 91 คุณค่าตราสินค้าผักและผลไม้กระป๋องของไทยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ ของผู้บริโภคชาวอเมริกัน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/268743 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าตราสินค้าผักและผลไม้กระป๋องของไทยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคชาวอเมริกัน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เป็นพลเมืองอเมริกันที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์<br />คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการตระหนักรู้ต่อตราสินค้าและปัจจัยด้านความภักดีต่อตราสินค้าส่งผลต่อความตั้งใจซื้อตราสินค้าผักและผลไม้กระป๋องของไทยในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับนัยสำคัญ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยปรับมาตรฐาน เท่ากับ 0.50 และ 0.21ตามลำดับ ดังนั้น นักสื่อสารการตลาดควรสื่อตราสินค้าเพื่อสร้างการจดจำได้ง่าย รวมถึงการสร้างโปรแกรมความภักดีต่อตราสินค้ากับผู้บริโภคคนสุดท้ายและคนกลางทางการตลาดเพื่อทำให้ตราสินค้ามีคุณค่าสูงมากขึ้น</p> ณัฐพล จิตประไพ จันทิมา เขียวแก้ว Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 6 1 92 102 การวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรคและแนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านหมู่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/268504 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน 2) วิเคราะห์สภาพปัญหาอุปสรรค และ 3) ศึกษาแนวทางในการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านหมู่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ใช้แบบสอบถามและการสนทนา กลุ่มย่อย เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครัวเรือนในพื้นที่ชุมชนบ้านหมู่ 1 จำนวน 186 ครัวเรือน ๆ ละ 1 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ<br />การสนทนากลุ่มย่อยเป็นตัวแทนจากภาครัฐ หัวหน้าชุมชนและตัวแทนครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 9 คน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันไม่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน สาเหตุหลัก ๆ ไม่มีเวลาในการจัดทำ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ เคยเข้ารับการอบรมรวมถึงเคยได้รับการแจกคู่มือ สมุด เอกสารการจัดทำบัญชีครัวเรือน สภาพปัญหาและอุปสรรค ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ยังสับสนและไม่เข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนการสนทนากลุ่มย่อย พบว่า แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือน ควรมีการเชิญชวน ส่งเสริม สร้างทัศนคติที่ดี สร้างผู้นำต้นแบบ เช่น หัวหน้าชุมชน เพื่อเป็นตัวอย่างการจัดทำบัญชีครัวเรือน จัดอบรมให้ความรู้และติดตามผลหลังอบรมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสร้างแหล่งเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือนในชุมชน</p> วิชิต เอียงอ่อน อลิษา ประสมผล Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 6 1 103 118 การศึกษาการรับรู้และเจตคติของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการถ่ายโอนภารกิจตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/269105 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และเจตคติของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก และปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด 465 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนมาและเจตคติต่อพระราชบัญญัติโรงงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,t-test, One Way Analysis of Variance และ Schefte ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลกต่อภารกิจที่ได้รับถ่ายโอนมาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) เจตคติของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลกต่อพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบระดับการรับรู้กับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน มีระดับการรับรู้ความรู้และความเข้าใจในภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนมาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) ผลการเปรียบเทียบระดับเจตคติกับปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน มีระดับระดับเจตคติต่อพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 5) ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนมาได้แก่เรื่องขาดผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน</p> กิติยรัตน์ จันทร์หอม โชติ บดีรัฐ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 6 1 119 133