https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/issue/feed
วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
2024-12-27T00:00:00+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิชัย นรากรณ์
prasittichai@psru.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นวารสารที่เน้นการวิจัย ด้านการจัดการครอบคลุมทั้งสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น บริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ การบริหารธุรกิจ เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทความวิชาการและบทความที่มีคุณภาพ ที่มีประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎี (Theoretical contribution) ที่ช่วยให้นักวิจัยสามารถพัฒนาและสร้างความรู้ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ (Managerial contribution) ช่วยให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารธุรกิจ และเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบต่างๆ อันเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่เรื่องราวในเชิงวิทยาการจัดการในแขนงต่างๆ รวมทั้งเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนความรู้ระว่าง คณาจารย์ นักวิชาการ ผู้บริหาร นักธุรกิจ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป</p>
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/272289
การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจงานฝีมือเครื่องเงินจากปัญญาฐานรากสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงบ้านคลองเตย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
2023-10-27T13:58:29+07:00
ยุชิตา กันหามิ่ง
loogtaw@hotmail.com
รัชนีวรรณ บุญอนนท์
loogtaw@hotmail.com
ชลธิชา แสงงาม
loogtaw@hotmail.com
ทิพย์หทัย ทองธรรมชาติ
loogtaw@hotmail.com
<p>การวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับและเพิ่มมูลค่าธุรกิจงานฝีมือเครื่องเงินจากปัญญาฐานรากสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงบ้านคลองเตย อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวจำนวน 400 คนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ช่างทำเครื่องเงิน สมาชิกกลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินชาวเขาบ้านคลองเตยอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานฝีมือเครื่องเงินจำนวน 28 คน ใช้การสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์รูปแบบผลิตภัณฑ์การมีลวดลายดั้งเดิมที่เลียนแบบมาจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัวสิ่ง ของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน โดยมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเพื่อต้องการลวดลายใหม่ สร้างความหลาหลายให้กับสินค้าและสะท้อนความเป็นชนเผ่าในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งความคิดเห็นต่อการยกระดับและเพิ่มมูลค่าธุรกิจงานฝีมือเครื่องเงินจากปัญญาฐานรากสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสวยงาม รองลงมา คือ ด้านประโยชน์การนำไปใช้และด้านเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความคุ้มค่า</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/274831
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ความไว้วางใจ และคุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยในประเทศไทย
2024-01-31T09:46:19+07:00
พิสิษฐ์ พิชญ์สิริทรัพย์
golfkopprs@gmail.com
ลัสดา ยาวิละ
golfkopprs@gmail.com
รัตนา สิทธิอ่วม
golfkopprs@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด ความไว้วางใจ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยในประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ กลุ่มผู้บริโภคที่เคยใช้อุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยในประเทศไทยจำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยในประเทศไทยมีตัวแปรด้านผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยในประเทศไทย โดยสามารถใช้สมการพยากรณ์ได้ร้อยละ 63 ความไว้วางใจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยในประเทศไทย โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 58 และคุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์กีฬาแบรนด์ไทยในประเทศไทย โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 53 โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/271792
การศึกษาผลการใช้หลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
2023-10-03T13:43:44+07:00
ปาริชาต เตชะ
tampoo37@gmail.com
ศิริพร โสมคำภา
tampoo37@gmail.com
จิรัฎฐ์ เพ็งแดง
tampoo37@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการมือใหม่ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2) เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต แบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Ratting Scale) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการมือใหม่ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมในยุคดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.01, S.D.=0.11)</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/274105
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในประเทศไทย
2024-02-28T09:15:48+07:00
ปวีณา โทนแก้ว
supitcha.chot@pcru.ac.th
สุพิชชา โชติกำจร
supitcha.chot@pcru.ac.th
นิพนธ์ เพชระบูรณิน
supitcha.chot@pcru.ac.th
วิศิษฏ์ บิลมาศ
supitcha.chot@pcru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย โดยวิธีดำเนินการวิจัยจะเป็นรูปแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงแรงงาน และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใน ปี พ.ศ. 2565 และใช้แบบจำลองถดถอยเชิงเส้นในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า จำนวนการจ้างงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2561-2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า การจ้างงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่มีการกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี นอกจากนี้ จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจ้างแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 พบว่า หากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพิ่มขึ้น และจำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้การจ้างงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งทำให้เศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดมีการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่มีตัวเลขการจ้างงานต่ำติดต่อกันหลายปีซึ่งภาครัฐอาจดำเนินนโยบายที่มีลักษณะเป็นการกระจายความเจริญสู่ชนบท โดยการสร้างอุปสงค์แรงงานในชนบทด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ ๆ ที่เกิดจากคนในพื้นที่ เพื่อทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ และส่งผลให้การจ้างงานในประเทศเพิ่มขึ้น</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/267974
วิธีการวัดคุณภาพของระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคล เพื่อการบริการทางการแพทย์ในยุคดิจิทัล
2023-06-16T16:26:00+07:00
อลิชา มุณีสว่าง
ton_munee@yahoo.com
วศิน เหลี่ยมปรีชา
ton_munee@yahoo.com
วิมลา ผ่องแผ้ว
ton_munee@yahoo.com
<p>งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการประเมินคุณภาพระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) และวิเคราะห์ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคลในบริบทของการบริการทางการแพทย์ โดยใช้กรณีศึกษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยเชิงปริมาณนี้ อาศัยทฤษฎีดีลอนและแม็คคลีนในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่วัดจากผู้ใช้งาน จำนวน 297 คน ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล สหวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงบรรยาย (ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพโดยรวมของระบบ HIS อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=3.65) โดยมิติย่อยเรียงตามลำดับ ได้แก่ 1. คุณภาพของระบบ 2. คุณภาพของสารสนเทศ 3. ประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคล 4. การใช้งาน และ 5. ความพึงพอใจของผู้ใช้ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคลมากที่สุด คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้ (.435) รองลงมาคือ การใช้งาน (.185) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แสดงค่า R<sup>2 </sup>= .796 คิดเป็นร้อยละ 79.60 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 งานวิจัยครั้งนี้ยืนยันว่า วิธีการที่เสนอสามารถประเมินคุณภาพของระบบ HIS ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการจัดการระบบสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ต่อไป</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/272322
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนของตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
2023-11-24T08:31:51+07:00
วชิรวิทย์ กรรณิกา
pupgoodlife@gmail.com
รัชนีวรรณ บุญอนนท์
pupgoodlife@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลและค้นหาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของอาหารท้องถิ่นประเภทลาบของตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นประเภทลาบในการสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประชาชนในตำบลท่าขุนราม จำนวน 10 คน การสนทนากลุ่มและการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารท้องถิ่นตำบลท่าขุนราม จำนวน 8 คน และสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว จำนวน 33 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในรูปค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) อาหารท้องถิ่นประเภทลาบของตำบลท่าขุนรามมี 3 ประเภท ได้แก่ ลาบเหนือ ลาบอีสาน และลาบภาคกลาง ซึ่งลาบแต่ละประเภทมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันดังนี้ ลาบภาคเหนือในการทำจะใช้น้ำพริกลาบเหนือที่ชุมชนตำเอง ลาบอีสานจะใช้ข้าวคั่วเป็นตัวชูรสในการปรุง โดยเป็นข้าวคั่วที่ชุมชนคั่วเอง ส่วนลาบภาคกลางนั้นจะเน้นใช้วัตถุดิบที่ปลูกขึ้นเองในครัวเรือนหรือในชุมชน ปรุงรสชาติเผ็ด เปรี้ยว นำ (2) ผลการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นประเภทลาบพบว่า สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารท้องถิ่นตำบลท่าขุนรามมีมติให้นำอาหารท้องถิ่นประเภทลาบ มาพัฒนาเป็นอาหารสูตรใหม่ คือ ไส้กรอก ซึ่งจะได้ไส้กรอก จำนวน 3 สูตร ได้แก่ ไส้กรอกลาบเหนือ ไส้กรอกลาบอีสาน และไส้อั่วสมุนไพร และเมื่อนำอาหารที่พัฒนาขึ้นไปสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่ออาหารท้องถิ่นประเภทลาบที่พัฒนาขึ้นใหม่ของตำบลท่าขุนราม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูตรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไส้อั่วสมุนไพร รองลงมา คือ ไส้กรอกลาบเหนือ และไส้กรอกลาบอีสาน ตามลำดับ อนึ่งนอกจากนี้ นักท่องเที่ยวได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไส้อั่วสมุนไพร ดังนี้ ไส้อั่วสมุนไพรมีรสชาติอร่อย แต่ควรเพิ่มตะไคร้ ใบมะกรูดเพื่อให้มีกลิ่มหอมสมุนไพรมากขึ้น ไส้กรอกลาบเหนือ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ ไส้กรอกมีรสชาติอร่อย มีกลิ่นหอมสมุนไพรและมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ไส้กรอกลาบอีสาน มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ ควรเพิ่มรสเปรี้ยวและควรปรับกลิ่นของไส้กรอกให้หอมเครื่องเทศ</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/272940
เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวินิจฉัยโรคของใบพริก และวิธีป้องกันเบื้องต้น
2024-01-02T15:26:35+07:00
พัชรพร มานวม
kacahrin@rmutl.ac.th
คัชรินทร์ ทองฟัก
kacharin@rmutl.ac.th
<p>พริก ถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย และมีการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยผลผลิตที่ได้นั้นจะต้องมีคุณภาพ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้ผลผลิตที่ได้เกิดโรคและทำให้ผลผลิตลดลง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวินิจฉัยโรคของใบพริกและวิธีป้องกันเบื้องต้น 2) ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวินิจฉัยโรคของใบพริกและวิธีป้องกันเบื้องต้น มีขั้นตอนในการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) การทำโมเดล Decision Tree 3) การออกแบบและพัฒนาระบบแบบเว็บแอปพลิเคชัน และ 4) การประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอปพลิเคชัน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) การทดสอบโมเดลด้วยวิธีการทดสอบแบบไขว้ J48 Random Tree ด้วยการ Training และ Testing ผลการทดสอบโมเดล J48 มีประสิทธิภาพดีที่สุด และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อเว็บแอปพลิเคชันวินิจฉัยโรคของใบพริกและวิธีการป้องกันเบื้องต้นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.33, S.D.=0.60) ซึ่งแอปพลิเคชันใช้งานง่าย สะดวก และเนื้อหาครอบคลุม สามารถอธิบายโรคที่เกิดกับใบของพริกได้ มีประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ที่สนใจ</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/277436
การตลาดแบบไร้รอยต่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษา BMP FRESH SHOP
2024-06-01T10:25:06+07:00
ณิชาภา สว่างโรจน์
nichaphaswangrocn@gmail.com
ภาศิริ เขตปิยรัตน์
nichaphaswangrocn@gmail.com
ชัชชัย สุจริต
nichaphaswangrocn@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการตลาดแบบไร้รอยต่อ และการตัดสินใจซื้อสินค้า BMP FRESH SHOP และ 2) เพื่อศึกษาการตลาดแบบไร้รอยต่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า BMP FRESH SHOP เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ลูกค้าทั่วไป หรือลูกค้าประจำที่เคยซื้อสินค้า หรือใช้บริการร้าน BMP FRESH SHOP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 385 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของการตลาดแบบไร้รอยต่อ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการเข้าใจพฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้ามากที่สุด รองลงมา คือ การส่งมอบประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และการสร้างความผูกพันกับลูกค้า พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านพฤติกรรรมภายหลังการซื้อมากที่สุด รองลงมา คือ การประเมินผลทางเลือก และการตัดสินใจซื้อ ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ตัวแปรอิสระทุกตัวแปร ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าร้าน BMP FRESH SHOP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อธิบายค่าความผันแปรของการตลาดแบบไร้รอยต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าร้าน BMP FRESH SHOP ได้ร้อยละ 81.7 (R<sup>2</sup> = .817)</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/276170
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถูกเพิกถอนของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2024-03-21T10:46:42+07:00
วิชชกานต์ เมธาวิริยะกุล
witchatkarn.ma@rd.go.th
ปานฉัตร อาการักษ์
witchatkarn.ma@rd.go.th
ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน
witchatkarn.ma@rd.go.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการถูกเพิกถอนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรคือบริษัทที่ถูกเพิกถอนในช่วงปี พ.ศ. 2562-2566 จำนวน 53 บริษัท และกลุ่มตัวอย่างคือบริษัทที่ถูกเพิกถอน จำนวน 20 บริษัท โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 2 ปีก่อนถูกเพิกถอน รวมเป็นจำนวน 40 ข้อมูลบริษัท และใช้การวิเคราะห์ปัจจัยในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อการถูกเพิกถอนได้แก่ ปัจจัยด้านผลตอบแทน ประกอบด้วย อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) และอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ (TAT) และปัจจัยด้านสภาพคล่อง ประกอบด้วยอัตราส่วนสภาพคล่อง (CR) ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้ร้อยละ 82.34 โดยผ่านการทดสอบด้วย Kaiser-Meyer-Olkin เท่ากับ 0.58 ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.01</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/274027
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวผ่านเรื่องเล่าจาก สุรากลั่นชุมชน กรณีศึกษาสุรากลั่นชุมชน ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
2024-02-02T14:57:10+07:00
ดวงกมล สุขมงคล
duangkamol.su13@gmail.com
จิตศักดิ์ พุฒจร
duangkamol.su13@gmail.com
วงศ์ลัดดา วีระไพบูลย์
duangkamol.su13@gmail.com
<p>การนำเสนอสุรากลั่นชุมชนผ่านเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ในการผลิตและวัตถุดิบที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ถ่ายทอดผ่านรูปแบบของกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าของสุรากลั่นชุมชนให้เกิดการรับรู้และเผยแพร่ในวงกว้าง บทความวิชาการนี้จึงเป็นการนำเสนอแนวคิดการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวผ่านเรื่องเล่าจากสุรากลั่นชุมชน กรณีศึกษาสุรากลั่นชุมชน ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ผู้เขียนได้รวบรวมความรู้ในเรื่องสุรากลั่นชุมชนของจังหวัดสุโขทัยนำเสนอเป็นรูปแบบกิจกรรม 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมเยี่ยมชมแหล่งปลูกวัตถุดิบในการผลิต 2) กิจกรรมเรียนรู้วิธีในการผลิตสุรากลั่นชุมชน 3) กิจกรรมชิมสุรากลั่นชุมชนควบคู่กับมื้ออาหาร4) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ 5) กิจกรรมอื่นที่สร้างประสบการณ์ในการท่องเที่ยว เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ 4 ด้าน คือ 1) การได้รับความบันเทิง 2) การได้รับความรู้ 3) การเกิดสุนทรียศาสตร์ และ 4) การหลุดพ้นจากชีวิตประจำวัน บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวสามารถจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับและเพิ่มการรับรู้ของสุรากลั่นชุมชนได้มากขึ้น ผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชนสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในอนาคตต่อไป</p>
2024-12-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม