https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/issue/feed วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2023-12-31T00:00:00+07:00 ดร.กนกกานต์ เทวาพิทักษ์ คุคค์ [email protected] Open Journal Systems <p>ISSN 2286-6809 (Print)<br />ISSN 2651-1819 (Online)</p> <p>วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research paper) บทความวิชาการ (Review article) โดยมีวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ ดังนี้<br /> 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยของอาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย <br /> 2. เพื่อส่งเสริม เผยแพร่การศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อการพัฒนาองค์ความรู้วิชาการ ในสาขาวิชาต่างๆ</p> <p>โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องครอบคลุมศาสตร์ทางด้านการบริหารและการจัดการ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ การบัญชี การเงินและการธนาคาร การตลาด การจัดการและการจัดการเชิงกลยุทธ์ พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว รวมทั้งหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าว</p> <p>** บทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทุกเรื่องต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง<strong> บทความละ 3 ท่าน ในรูปแบบ Double-Blind </strong> และจะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง </p> <p>**ผู้สนใจสามารถส่งบทความตีพิมพ์ผ่านระบบ Submission Online <strong>โดยไม่มีค่าใช้จ่าย</strong></p> <p> </p> <p>วารสารบริหารศาสตร์มีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 3 ครั้ง (เริ่มตั้งแต่ฉบับปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2567 เป็นต้นไป)</p> <p>- ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน</p> <p>- ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม</p> <p>- ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม </p> <p> </p> <p>- <a href="https://docs.google.com/document/d/1xjS_1WZP_CIwoQObd2cIM78Mp8Wkkd_k/edit?usp=sharing&amp;ouid=112051766367499053711&amp;rtpof=true&amp;sd=true">Template การเขียนบทความวิจัย</a></p> <p>- <a href="https://drive.google.com/file/d/1hmMGhx_65mSKVNnFzNWv4MR5WEkF1FFz/view?usp=sharing">แบบเสนอต้นฉบับ (ไทย)</a></p> <p>- <a title="Manuscript submission form" href="https://docs.google.com/document/d/1gNWwCSfK5WW37J2YKgfS7997ID281_s7/edit?usp=sharing&amp;ouid=112051766367499053711&amp;rtpof=true&amp;sd=true">Manuscript submission form</a></p> <p>- <a href="https://drive.google.com/file/d/1VXeFaV7BzgFw3LHMkgYV1zMzPCuanXuU/view?usp=sharing">คำแนะนำและการจัดเตรียมต้นฉบับ</a></p> <p>- <a href="https://drive.google.com/file/d/12999q0Q3hbeMAAyW_BJpspWtVTzM93XV/view?usp=sharing">คู่มือการใช้งานงานระบบ ThaiJO (สำหรับผู้แต่ง)</a></p> <p><strong>*** ผู้ส่งบทความกรุณาจั</strong><strong>ดทำแบบเสนอต้นฉบับ และจัดทำบทความตามรูปแบบที่กำหนด</strong></p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/267317 การประยุกต์ใช้แนวคิด 7ส สำหรับการตรวจประเมินในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษา สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง 2023-05-28T16:40:24+07:00 รัตนา หน่อจำปา [email protected] บุญเลิศ วงศ์เจริญแสงสิริ* [email protected] <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานแบบตรวจประเมินกิจกรรม 7ส ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน 7ส ในสถาบันการศึกษา และให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม โดยการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยกรณีศึกษา (Case Study Research) เพื่อให้ทราบถึงมุมมองที่มีต่อหัวข้อการตรวจประเมินที่มีอยู่ทั้งในด้านความสอดคล้องและความจำเป็นของเกณฑ์การตรวจประเมินที่ใช้อยู่ต่อการปฏิบัติงานจริง และประโยชน์ของการตรวจประเมินต่อการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยอาจารย์หรือผู้บริหารสายวิชาการ จำนวน 10 คน และผู้บริหารสายสำนักงานจำนวน 10 คน ซึ่งพิจารณาเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ถูกตรวจประเมินในพื้นที่อย่างน้อย 5 ครั้ง ประกอบกับเกณฑ์การตรวจประเมิน 7ส ที่ใช้งานอยู่จริง เพื่อใช้ผลการศึกษาเป็นแนวทางการปรับปรุงมาตรฐานแบบตรวจประเมินกิจกรรม 7ส และเปรียบเทียบความสอดคล้องของมาตรฐาน 7ส กับแบบการตรวจประเมินกิจกรรม 7ส ส่วนของพื้นที่สำนักงาน</p> <p> ผลการวิจัยประกอบด้วย ข้อสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อตรวจประเมินกิจกรรม 7ส พื้นที่สำนักงานทั้ง 12 ข้อ จากการเปรียบเทียบเกณฑ์แบบตรวจประเมินพื้นที่กับภาวะการปฏิบัติงานจริงของสำนักงาน พบว่าการปรับปรุงมาตรฐานแบบตรวจประเมินให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม โดยการปรับเกณฑ์ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ใช้งานสำหรับบุคลากร และสำหรับอาจารย์ และปรับหัวข้อที่มีความคล้ายกันเพื่อให้การตรวจไม่ซ้ำซ้อน โดยการรวมหัวข้อการตรวจเข้าด้วยกัน ทำให้ข้อแบบประเมินลดลงจาก 12 หัวข้อ เหลือ 8 หัวข้อสำหรับบุคลากร และเหลือ 9 หัวข้อสำหรับอาจารย์ ทั้งนี้ เพื่อให้การตรวจประเมินเป็นมาตรฐาน ต้องให้ความรู้ถึงเกณฑ์ตรวจประเมินในแต่ละหัวข้อว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรจึงมีการเพิ่มการระบุวัตถุประสงค์ของการตรวจในแต่ละหัวข้อโดยจัดทำรายละเอียดเกณฑ์การตรวจประเมินกิจกรรม 7ส ใหม่ขึ้น</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/269086 อิทธิพลของการรับรู้ภาระงานกับภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงาน กลุ่มเจเนอเรชั่นวายและซี ของบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่ง โดยมีค่าตอบแทน เป็นตัวแปรกำกับ 2023-06-10T06:03:18+07:00 บุษกร คำโฮม* [email protected] สมรักษ์ รัตนวัน [email protected] <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ภาระงานต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยมีค่าตอบแทนเป็นตัวแปรกำกับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานเจเนอเรชั่นวาย และเจเนอเรชั่นซี ในบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่ง จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ภาระงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจในค่าตอบแทนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 3) ภาวะหมดไฟในการทำงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมในระดับปานกลาง 4) การรับรู้ภาระงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน 5) ค่าตอบแทนเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาระงานต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/268990 การศึกษาปัจจัยการตลาดไร้รอยต่อที่ส่งผลต่อการบอกต่อของแบรนด์ เครื่องสำอางโฟร์ยูทู (4U2) ของผู้บริโภคในเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี 2023-07-14T05:13:34+07:00 นพวรรณ พงษ์สยาม [email protected] จารุพร ตั้งพัฒนกิจ* [email protected] <p> งานวิจัยเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาดไร้รอยต่อที่ส่งผลต่อการบอกต่อของแบรนด์เครื่องสำอางโฟร์ยูทู (4U2) ของผู้บริโภคในเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 424 คน ที่เป็นลูกค้าหรือต้องรู้จักแบรนด์เครื่องสำอาง 4U2 และอาศัยในเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน นำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือวิจัย (IOC) ได้ค่า เท่ากับ 0.811 จากนั้นจึงนำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูล และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้วิเคราะห์สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการตลาดไร้รอยต่อส่งผลต่อการบอกต่อของแบรนด์เครื่องสำอาง 4U2 โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์เท่ากับ 0.654 (R<sup>2</sup>= 65.4%) ปัจจัยการตลาดไร้รอยต่อส่งผลต่อการบอกต่อของแบรนด์เครื่องสำอาง 4U2 ต่อผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการเชื่อมโยงช่องทางเข้าหาผู้บริโภค (β = 0.194; Sig. = 0.000) ปัจจัยด้านการเข้าใจพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภค (β = 0.111; Sig. = 0.017) ปัจจัยด้านการมอบประสบการณ์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง (β = 0.105; Sig. = 0.018) และปัจจัยด้านการสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค (β = 0.508; Sig. = 0.000)</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/267201 อิทธิพลของตัวแปรคั่นกลางในความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาการเป็นผู้ประกอบการและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ 2023-03-27T12:54:50+07:00 สุธีรา เดชนครินทร์* [email protected] ธนัญญา ยินเจริญ [email protected] อัคญาณ อารยะญาณ [email protected] <p> วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรคั่นกลางในความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาการเป็นผู้ประกอบการและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 581 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บคือแบบสอบถามออนไลน์ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p> ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า โมเดลตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 2.84, ดัชนีวัดความสอดคล้องเชิงสัมพันธ์ เท่ากับ 0.974, ดัชนีที่แสดงการยอมรับของโมเดล เท่ากับ 0.968, ค่าราก ที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือในรูปคะแนน เท่ากับ 0.043 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า เท่ากับ 0.056) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาการเป็นผู้ประกอบการและความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการถูกคั่นกลางด้วยทัศนคติต่อการเป็นผู้ประกอบการและการรับรู้ความสามารถการเป็นผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกันก็ไม่พบอิทธิพลทางตรงระหว่างการศึกษาการเป็นผู้ประกอบการและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ แสดงให้เห็นว่าตัวแปรคั่นกลางของการศึกษานี้เป็นตัวแปรคั่นกลางแบบสมบูรณ์ ดังนั้น การค้นพบนี้นำไปสู่ความเข้าใจที่สำคัญเกี่ยวกับการอธิบายกลไกของตัวแปรคั่นกลางในความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาของผู้ประกอบการและความตั้งใจของผู้ประกอบการ</p> <p> </p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/267960 การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติ อิทธิพลทางสังคม และการตัดสินใจซื้อสินค้ามูเตลู ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 2023-07-23T17:02:25+07:00 เจนจิรา มะลาศรี [email protected] ภิญรดา เมธารมณ์* [email protected] <p> งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ทัศนคติ อิทธิพลทางสังคม และการตัดสินใจซื้อสินค้ามูเตลูประเภทอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาทางสังคมศาสตร์ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 10 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาทางวิทยาศาสตร์ 5 คน และในสาขาทางสังคมศาสตร์ 5 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติและอิทธิพลทางสังคมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามูเตลูประเภทอิเล็กทรอนิกส์ โดยทัศนคติที่ทำให้เกิดความต้องการต่อสินค้าจะสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล และจุดเริ่มต้นของความต้องการต่อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างเกิดจากอิทธิพลทางสังคม นอกจากนี้ยังพบว่าในขั้นตอนการประเมินทางเลือก กลุ่มตัวอย่างจะพิจารณาจากตราสินค้าและส่วนประสมทางการตลาดเป็นหลัก โดยสิ่งที่นำมาพิจารณามากที่สุดคือความเหมาะสมของราคาเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าภายใต้ความยินดีจ่ายของกลุ่มตัวอย่างแต่ละคน นอกจากนี้ ยังพบว่าในกลุ่มผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาทางสังคมศาสตร์จะมีความอ่อนไหวต่อการส่งเสริมการขาย สามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจซื้อได้ ณ จุดซื้อ หากมีสิ่งกระตุ้นจูงใจให้คล้อยตาม</p> <p> กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจต่อสินค้ามูเตลูอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน โดยในกลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาทางวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าเป็นสินค้าทางด้านความเชื่อที่ถูกประยุกต์เข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนา เรื่องเล่า และวัฒนธรรม ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาทางสังคมศาสตร์มีทัศนคติต่อสินค้ามูเตลูอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับรูปแบบการบริโภคของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะถูกออกแบบให้กับผู้ซื้อในรายบุคคล จึงทำให้มีผลโดยตรงต่อดวงชะตาของผู้ใช้งาน</p> <p> ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงธุรกิจ อาทิ เนื่องจากจุดเริ่มต้นของความต้องการต่อสินค้ามูเตลูเล็กทรอนิกส์มาจากอิทธิพลจากคนรอบข้าง ดังนั้น นักการตลาดสามารถทำตลาดแบบปากต่อปาก โดยการเลือกใช้สื่อและเนื้อหาให้ตรงกลับกลุ่มเป้าหมายได้</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/271085 การศึกษาโซ่อุปทานและความคาดหวังของชุมชนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจภาชนะรักษ์โลก: อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี 2023-08-26T22:47:59+07:00 นันทวัน หัตถมาศ หัตถมาศ* [email protected] มลฤดี โอปมาวุฒิกุล [email protected] นัฐพงษ์ ทองปาน [email protected] กัญญา ภัทรกุลอมร [email protected] ลัดดาวัลย์ จำปา [email protected] พรอารีย์ ศิริผลกุล [email protected] <p> เขตอำเภอบ่อพลอยถือเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี การที่มีเศษอ้อยเหลือทิ้งจำนวนมาก จึงนำไปสู่แนวคิดการทำธุรกิจการผลิตภาชนะรักษ์โลก ซึ่งเศษอ้อยเป็นวัสดุธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการผลิตภาชนะรักษ์โลก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการคือ การศึกษาความพร้อมของผู้มีส่วนได้เสียตามกิจกรรมสายโซ่อุปทานและความคาดหวังของชุมชนบ่อพลอยที่มีต่อธุรกิจภาชนะรักษ์โลก ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 120 คน แล้วนำมาแบ่งกลุ่มตามรายกิจกรรมใน สายโซ่อุปทาน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษากิจกรรม และแบบสอบถามเพื่อประเมินผลระดับ ความคาดหวัง เพื่อรวบรวมข้อมูลจาก ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> (1) ภาชนะรักษ์โลกที่มีวางจำหน่ายทั่วไปและถูกใช้มากที่สุดคือ แก้วกระดาษ แต่ไม่พบการจำหน่ายถาดใส่อาหารว่างในชุมชน ความพร้อมของผู้มีส่วนได้เสียตามกิจกรรมโซ่อุปทานนี้ประกอบด้วย เกษตรกรผู้รวบรวมและจำหน่ายเศษอ้อย (ร้อยละ 21.67) ผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตกระดาษและเครื่องขึ้นรูป (ร้อยละ 10) ร้านจำหน่ายเครื่องจักรกลเกษตร(ร้อยละ 2.50) ผู้ผลิตงานหัตถกรรม (ร้อยละ 1.67) กลุ่มช่างฝีมือสร้างเครื่องขึ้นรูป (ร้อยละ 29.17) และร้านจำหน่ายภาชนะ(ร้อยละ 8.33) ตามลำดับ ผู้ที่เกี่ยวข้องข้างต้นอาศัยโรงงานน้ำตาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งนี้กิจกรรมที่ยังขาดอยู่คือ ผู้ผลิตกระดาษ และผู้จำหน่ายเครื่องขึ้นรูป</p> <p> (2) ระดับความคาดหวังของชุมชนต่อการทำธุรกิจภาชนะรักษ์โลกที่มากที่สุดคือ การยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\dpi{80}&amp;space;\bar{X}" /> = 4.69) รองลงมาคือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ การสร้างเครือข่าย การอนุรักษ์ ภูมิปัญญา และการพัฒนาสังคม เท่ากับ 4.20, 4.02, 3.84, 3.71 และ 3.11 คะแนน ตามลำดับ</p> <p> ทั้งนี้จากผลการวิจัยข้างต้น หน่วยงานราชการในพื้นที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนได้</p> 2023-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023