วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu <p><span lang="TH"> วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (</span>Songklanakarin Journal of Management Sciences) <span lang="TH">เป็นวารสารทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดิมวารสารชื่อ “วารสารวิทยาการจัดการ (</span>Journal of Management Sciences)” <span lang="TH">ซึ่งได้ทำการปรับเปลี่ยนชื่อวารสารใหม่ โดยมีผลบังคับใช้กับวารสาร ปีที่ </span>37 <span lang="TH">ฉบับที่ </span>2 <span lang="TH">กรกฎาคม - ธันวาคม </span>2563 <span lang="TH">เป็นต้นไป ปัจจุบันมีการเผยแพร่วารสารใน</span><span lang="TH">รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (</span>Online) เพียงอย่างเดียว<span lang="TH">โดยมี </span>ISSN <span lang="TH">คือ </span>2730-3462 (Online) <span lang="TH">ทั้งนี้ เปิดรับพิจารณาบทความที่มาจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา</span></p> en-US <p> บทความที่ตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อย่างไรก็ตาม กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำ คัดลอก หรือเผยแพร่ แต่จะต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ</p> journal.fms.psu@gmail.com (Asst. Prof. Dr. Orraya Suwanno) journal.fms.psu@gmail.com (Mr.Wutthipong Whandee) Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 โมเดลการวัดทุนทางปัญญาในประเทศไทยระหว่างช่วงการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/268206 <p> ในปัจจุบันนี้รัฐบาลไทยได้วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในประเทศไทยให้เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ และทุนทางปัญญาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจดังกล่าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอโมเดลตัววัดสำหรับทุนทางปัญญาในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยพัฒนาแบบสอบถามจากงานวิจัยของ Bontis (1998) และมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 บริษัทที่ได้ตอบแบบสอบถามนี้ และงานวิจัยได้ใช้วิธีสถิติ PLS-SEM ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาโมเดล ซึ่งประกอบด้วยทุนมนุษย์ ทุนโครงสร้าง และทุนความสัมพันธ์ ผลการวิจัยสนับสนุนความเที่ยงและความตรงของโมเดล และตัววัดทุนมนุษย์สะท้อนผ่านความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร ทักษะการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา และการทำงานอย่างเต็มที่ ในขณะที่ทุนโครงสร้างจะแสดงผ่านกระบวนปฏิบัติงานและการเข้าถึงระบบข้อมูล ส่วนทุนความสัมพันธ์จะสะท้อนผ่านความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นตัวหลัก ผลการวิจัยนี้จะทำให้ผู้บริหารเห็นแนวทางกิจกรรมในการพัฒนาทุนทางปัญญาในองค์กร นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลสามารถเสนอแนะแนวทางของนโยบายเพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ พัฒนาทุนทางปัญญาในองค์กรได้</p> สุคนธ์ อดุลเดชา, ศิริลักษณ์ ศุทธชัย, กฤตพา แสนชัยธร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/268206 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความฉลาดทางวัฒนธรรม การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมและผลผลิตในงาน: กรณีศึกษาแรงงานต่างด้าวชาวลาวในอุตสาหกรรมเกษตร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/266628 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของความฉลาดทางวัฒนธรรมต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมและผลผลิตในงาน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานต่างด้าวชาวลาวในอุตสาหกรรมเกษตรในประเทศไทย จำนวน 352 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจและด้านพฤติกรรมส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม แต่ความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านปัญญาส่งผลทางตรงเชิงลบต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ ยังพบว่าความฉลาดทางวัฒนธรรมส่งผลทางอ้อมต่อผลผลิตในงานผ่านตัวแปรการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยตัวแปรอิสระสามารถร่วมกันพยากรณ์ผลผลิตในงานได้ร้อยละ 75 (R<sup>2 </sup>= 0.75)<br /> ผลการวิจัยนี้ยืนยันเชิงประจักษ์ว่าความฉลาดทางวัฒนธรรม ด้านแรงจูงใจ ด้านพฤติกรรม ด้านปัญญาและการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อผลผลิตในงานของแรงงานข้ามชาติ ในเชิงวิชาการงานวิจัยนี้ให้ผลการวิจัยเชิงลึกด้วยการวิเคราะห์อิทธิพลของความฉลาดทางวัฒนธรรมแบบรายด้านและแสดงความสำคัญของตัวแปรคั่นกลางการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าแรงงานข้ามชาติสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมด้านความฉลาดทางวัฒนธรรมให้กับแรงงาน และสร้างแนวทางในการส่งเสริมแรงงานให้สามารถทำงานในวัฒนธรรมที่แตกต่าง</p> ชาตยา นิลพลับ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/266628 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/267565 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลจากประชากรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ 20,824 คน จาก 9 แห่ง กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบโควตาจาก 9 สหกรณ์ ๆ ละ 50 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 450 คน เก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยองค์ประกอบของทฤษฏีองค์กรแห่งการเรียนรู้ของเซงเก้ทั้ง 5 องค์ประกอบส่งผลต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขององค์กรนอกจากนี้ผลการวิจัยสามารถยืนยันได้ว่าทฤษฏีองค์กรแห่งการเรียนรู้ของเซงเก้สามารถนำมาใช้เป็นหลักการในการปฏิบัติงานและการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของสหกรณ์ออมทรัพย์ในระยะยาว</p> อนุชา วิทยากร-ภูริพันธุ์ภิญโญ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/267565 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การกำกับดูแลกิจการกับคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/264671 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการกำกับดูแลกิจการกับคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2558-2562 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 519 บริษัท 2,595 ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการศึกษาแบบจำลอง Modified Jones (1995) พบว่า ขนาดของสินทรัพย์ เป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพกำไร ส่วนแบบจำลอง Yoon et al. (2006) พบว่า การที่ประธานฝ่ายบริหารและประธานคณะกรรมการเป็นบุคคลเดียวกัน ความเสี่ยงทางการเงิน เป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพกำไร และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ เป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพกำไร ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า แบบจำลอง Yoon et al. (2006) มีจำนวนองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับรายการคงค้างซึ่งใช้ดุลพินิจของผู้บริหารมากกว่าแบบจำลอง Modified Jones (1995) ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการ และเป็นข้อมูลประกอบการสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ รวมถึงผู้ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม นักลงทุน หรือผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการ สามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสัญญาณเตือนภัยหรือเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพกำไร และเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการกำหนดแนวทางที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลทำให้คุณภาพกำไรของกิจการมีมากยิ่งขึ้น</p> กฤตพงศ์ วัชระนุกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/264671 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปิดเผยข้อมูลการควบคุมภายในกับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/267513 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลการควบคุมภายในกับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 288 บริษัท โดยศึกษาการเปิดเผยข้อมูลการควบคุมภายใน ที่วัดค่าโดยใช้ดัชนีการเปิดเผยข้อมูลการควบคุมภายในตามแบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ซึ่งเป็นไปตามกรอบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประมาณค่าตัวแปรการจัดการกำไรจากรายการคงค้างรวมที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร โดยใช้โมเดล Yoon, Miller, and Jiraporn (2006) ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ระดับการเปิดเผยข้อมูลการควบคุมภายในไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการกำไร ผลการศึกษาแสดงว่า การจัดการกำไรเป็นผลจากการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหาร ซึ่งระบบการควบคุมภายในไม่สามารถตรวจพบได้ทั้งหมด ผลการศึกษาเชิงประจักษ์ให้แนวทางกับบริษัทในการวางแผนเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน และการพัฒนากระบวนการกำกับดูแลกิจการเพื่อเพิ่มคุณภาพกำไร และสร้างความตระหนักให้กับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียในการตัดสินใจลงทุนในบริษัทต่าง ๆ</p> สุกัญญา กิริยาดี, อรุณี ยศบุตร, สัตยา ตันจันทร์พงศ์, รัชนียา บังเมฆ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/267513 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแบบจำลองการอธิบายการสนับสนุนการจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบของคนท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/268032 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการอธิบายการสนับสนุนการจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบของคนท้องถิ่น ที่ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร และตัวแปรสังเกต 16 ตัวแปร ประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามกับคนท้องถิ่น 200 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า การจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบทำให้คนท้องถิ่นมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้คนท้องถิ่นสนับสนุนการจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เช่นเดียวกับการให้ข้อมูลการจัดการตามแนวทางการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในชุมชนกับคนท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องการดูแลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ดังนั้น หากต้องการกระตุ้นให้คนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและสนับสนุนการจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในชุมชน ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรให้ข้อมูลกับคนท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการดูแลการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และควรจัดเวทีเพื่อเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับการจัดการการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในชุมชน นอกจากนี้ ควรจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในชุมชนที่เป็นการเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นแสดงถึงความห่วงใยต่อผู้อื่นในสังคมและผู้เยี่ยมเยือน ซึ่งนอกจากทำให้คนท้องถิ่นสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในชุมชนแล้วยังทำให้คนท้องถิ่นพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย</p> อัครพงศ์ อั้นทอง, กันต์สินี กันทะวงศ์วาร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/268032 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาคุณภาพโครงงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาในสถานประกอบการด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/269245 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อคุณภาพโครงงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาในธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้นิเทศงาน จำนวน 116 คน และคณาจารย์นิเทศ จำนวน 102 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง 218 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ที่กำกับดูแลการดำเนินงานสหกิจศึกษา<br /> ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นต่อคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก หากแยกกลุ่มประเภทของสถานประกอบการพบว่า คุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาในธุรกิจบริการมีมากกว่าโครงงานสหกิจศึกษาในธุรกิจท่องเที่ยว ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาที่พบมากที่สุดคือ สถานประกอบการไม่เปิดโอกาสให้นำผลงานไปทดลองกับผู้มารับบริการจริง รองลงมาคือ ระยะเวลาในการทำโครงงานน้อยไป นักศึกษาขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และขาดความรับผิดชอบ ตามลำดับ แนวทางพัฒนาคุณภาพโครงงานสหกิจศึกษาจึงควรมีการสื่อสารกับสถานประกอบการถึงวัตถุประสงค์และความสำคัญของผลสัมฤทธิ์ของโครงงาน รวมทั้งควรมีจัดอบรมทักษะที่จำเป็นในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และทักษะที่จำเป็นในการทำงาน นอกจากนี้ ยังควรจัดอบรมกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมก่อนไปปฏิบัติงานจริง</p> ชลลดา มงคลวนิช Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/269245 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครื่องมือชี้วัดความเป็นอิสระของท้องถิ่นไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/266632 <p> บทความนี้มุ่งพัฒนาเครื่องมือชี้วัดความเป็นอิสระของท้องถิ่นไทย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ผู้เขียนศึกษาด้วยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ประกอบไปด้วยการทบทวนวรรณกรรม การพัฒนาเครื่องมือชี้วัดและทดสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและการประชุมกลุ่มย่อย จัดเก็บข้อมูลนำร่องเพื่อวิเคราะห์ค่าความเที่ยง การวิเคราะห์ปัจจัย และจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 602 แห่ง ผลวิจัยพบว่า เครื่องมือชี้วัดนี้มีคุณภาพที่ดีในทางวิชาการ ช่วยเติมเต็มช่องว่างทางวิชาการในเรื่องนี้ และสามารถบ่งชี้ได้ว่าความเป็นอิสระของท้องถิ่นปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น การส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระเพิ่มขึ้นจึงมีความสำคัญ นอกจากนี้ รัฐควรนำเครื่องมือดังกล่าวใช้ติดตามความก้าวหน้าในการผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระเพิ่มขึ้นต่อไป</p> วีระศักดิ์ เครือเทพ, สิริภากร สระทองจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/266632 Fri, 14 Jun 2024 00:00:00 +0700