วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr <p><strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> ISSN : 2465-5503 (พิมพ์) </span></span></strong><br /><strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> ISSN : 2630-0524 (ออนไลน์</span></span></strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> )</span></span></p> <p><strong> วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ </strong>เป็นวารสารด้านสังคมศาสตร์ <span style="vertical-align: inherit;">มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป </span>เปิดรับผลงานที่เป็นบทความวิชาการและบทความวิจัยในมิติด้านพระพุทธศาสนา ด้านศาสนศึกษา ด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรมศึกษา ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านสังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ <span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> <br /> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายใน หรือนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ บทความทีได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ต้องมีค่าความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat ในระบบ Thaijo ไม่เกิน 20% <br /></span></span></p> <p> </p> th-TH journalbudpan@gmail.com (พระมหาประกาศิต สิริเมโธ,ผศ.ดร.) journalbudpan@gmail.com (ฉัตรระวี มณีขัติย์) Tue, 31 Dec 2024 22:25:06 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 UNDERGRADUATE STUDENTS’ EXPERIENCES TOWARDS USING GOOGLE TRANSLATE IN LEARNING ENGLISH https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/281399 <p>The objectives of this study were to investigate students’ experiences at Rajamangala University Technology Lanna Tak in using Google Translate for their learning English and to explore the students' attitudes and satisfactions towards using Google Translate. The sample in this study was 925 students from 3 faculties and 1 major which was conducted the stratified sampling method for selecting the sample. The research instrument was the questionnaire which conducted by using Likert Scale of rating. The quantitative data collected and analyzed for the mean () and Standard Deviation (SD) by using the statistical computer program and Microsoft Excel Program. The analysis of the mean or average and Standard Deviation (SD) were revealed and interpreted according to each item to discover the undergraduate students’ experiences towards using Google Translate (GT).Whereas the qualitative data was gather by conducting in-depth focus group interview by questioning about the experiences in using Google Translate including attitudes and satisfactions. Finally, the data analysis of mean score will be interpreted as the descriptive statistics analysis and the finding presented that the experiences in using Google Translate at a high level ( = 3.71) and the attitudes towards using Google Translate in this study at a very high level ( = 4.30) whereas the satisfactions towards using Google Translate in this study at a high level ( = 4.11).</p> Sathirasak Rungsinanont Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/281399 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 NOBLE HAPPINESS ACHIEVING SUSTAINABLE AGRONOMY TO SUSTAINABLE DEVELOPMENT: ANALYTICAL PERSPECTIVES FROM CASE STUDIES OF THAILAND’S MODEL COMMUNITIES TOWARDS CONTINUE, SUSTAINABLE, AND DEVELOPMENT https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278567 <p>The aim of this research is threefold: 1. to gather knowledge related to the Sufficiency Economy Philosophy (SEP)towards Continuity, Sustainability, 2. to compile indicators of success factors in Sustainable Agronomy derived from the application of the Sufficiency Economy Philosophy (SEP) in the dimension of Noble Happiness from model communities, and 3. to extract lessons from organizations/model communities that have applied the Sufficiency Economy Philosophy (SEP) leading to sustainable practices aligned with health goals using SDG 16 (Peace) as a comparative measure. This will be achieved through qualitative research methods, involving the examination and analysis of data derived from documents or research, by reviewing relevant concepts, theories, and literature including data form The Community Development Department, 2022 to collected data from villages around 6 Royal Initiative Development Study Centers, a total of 145 villages, including Chanthaburi, Chachoengsao, Phetchaburi, Narathiwat, Chiang Mai and Sakon Nakhon provinces. Primary data inputs from qualified experts in related fields via focus group with 20 Key informants. The study found that model communities have three key dimensions: 1. Social aspects, such as fostering community bonds and solidarity, establishing community learning centers, and having knowledgeable local teachers within the community, 2. Economic aspects, including households effectively managing expenses to increase income, promoting the community as a tourism destination, and creating platforms for economic education to enhance income, and 3. Environmental aspects, such as sharing practical knowledge among households within and outside the village, having core organizational groups within the community for natural resource conservation and environmental protection. These three dimensions are crucial in guiding the application of the Sufficiency Economy. Philosophy (SEP)alongside the adoption of new agricultural theories focusing on water management and appropriate land allocation. This ensures farmers have sufficient food resources, addressing livelihood challenges and contributing to overall economic stability in the country.</p> Chulaporn Kobjaiklang, Thidsanu Methawudthisakun, Aphimuk Sadomphruek, Wimonpan Thawornprasert Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278567 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 PROVIDING EDUCATION FOR THE VISUALLY IMPAIRED IN FOREIGN COUNTRIES https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/266001 <p>Studies for visually impaired people in foreign countries are different. For example, in the United States, it was found that visually impaired people, in addition to experiencing unusual physical hardships, are also framed by family members who will be educated because of the embarrassment of their child's abnormality. The United States Constitution does not support the study in special schools because it is considered to be an incorrect approach, separating children from society and therefore sending children to study together with normal children creates an understanding of the limitations between normal children and children with disabilities. It is a correct and appropriate approach, so the government has expanded special education in the form of joint learning and reduced the number of special schools or specialized schools. Sweden has various laws that clearly define the characteristics of children with disabilities, emphasizing that teachers, in addition to having basic knowledge suitable for children with special needs, must also have teaching skills and use psychology. All classroom teachers must devote their time, by providing tutoring for 2 hours per week, teachers have helped a lot in solving the problem of children with disabilities in Sweden. In Japan, there are both special schools and co-educational schools. There are 3 types of special schools: schools for the deaf, Schools for the Blind, and Schools for the disabled, which are separated into 3 types of schools specifically for the disabled: schools for mentally retarded children, schools for children with physical disabilities, schools for chronically ill children. If children with moderate disabilities will be arranged to attend classes. As with normal children, children with disabilities who can enter special schools must undergo a selection process that is established by law and the Japanese Ministry of Education has a set curriculum. Australia will promote inclusive education by nearly 100 percent. There will be research and use of research results to develop techniques for training individuals to have knowledge and ability and use appropriate tools that can help children with all special needs. More people can learn well and have the means to attend regular school. The Australian government will support the emphasis on parent education and the development of children who have been diagnosed as being able to develop in all areas, parent training, home visits, demonstrations, follow-up, and communication technology are used in teaching and fully support education.</p> <p> </p> Supawadeeporn Drejare Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/266001 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อสร้างมาตรฐานกระถางต้นไม้ ปูนปั้นจากปูนซีเมนต์ผสมโฟมของกลุ่มผู้ประกอบการใน ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/277592 <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการผลิต คุณลักษณะ คุณภาพ และอัตราส่วนที่เหมาะสมเป็นมาตรฐานในการนำโฟมมาเป็นส่วนผสมของการผลิตกระถางต้นไม้ปูนปั้นของกลุ่มผู้ประกอบการใน ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และ 2) กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริงการผลิตกระถางต้นไม้ปูนปั้น ด้วยวิธีการทดสอบหาค่าแรงอัดและความหนาแน่นแห้งของก้อนซีเมนต์มอร์ตาร์ขนาด 50 x 50 x 50 มิลลิเมตร ที่อายุ 28 วัน ตามมาตรฐานสมาคมวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากนั้นใช้ทฤษฎีก้างปลา และวิธีการเชิงระบบ โดยการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย 10 ราย วิเคราะห์และสรุปข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำเสนอกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง<br />ผลการศึกษา พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมเป็นมาตรฐาน คือ ซีเมนต์ : ทราย : น้ำ เท่ากับ 1.0 : 1.0 : 0.4 และเม็ดโฟมร้อยละ 37 โดยปริมาตร ซึ่งมีหน่วยน้ำหนักประมาณ 1,300 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีค่ากำลังรับแรงอัด เท่ากับ 4.5 เมกะปาสคาล และรูปแบบของกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า คือ อัตราส่วนที่เหมาะสมเป็นมาตรฐาน 2) กระบวนการ เป็นการสร้างความสนใจคุณค่าของผลการศึกษา การสอดแทรกความรู้ และการปั้นกระถางต้นไม้ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสมเป็นมาตรฐาน 3) ผลผลิต กระถางต้นไม้ปูนปั้นที่เป็นมาตรฐานและต่อปั้นของช่างปั้นที่มีความแตกต่างกัน 4) การควบคุม คือ ด้านคุณภาพของกระถางต้นไม้ปูนปั้นที่ต้องมีอัตราส่วนที่เหมาะสมเป็นมาตรฐาน และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ คือ ความคิดเห็นที่จะเป็นข้อมูลในการแก้ไขปรุบปรุงให้กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้มีความชัดเจนถูกต้อง นำไปต่อยอดพัฒนาการผลิตสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ในอนาคตเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป</p> กิตติพันธ์ หันสมร; ยาตรา จำปาเฟื่อง, นิกูล ชุมมั่น, ณัฐนิชา สุโพธิ์, ศุภชัย สินถาวร Copyright (c) 2024 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/277592 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/281416 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของทุนทางวัฒนธรรม และ 2) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ตัวแทนชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน และการสนทนากลุ่ม ตัวแทนชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 70 คน 2) การวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนในตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก จำนวน 351 คน และ 3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการฝึกปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 2 ผลิตภัณฑ์ จำนวน 25 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การระดมสมอง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปอุปนัยและสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการประเมินศักยภาพของทุนทางวัฒนธรรมพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านทุนด้านการท่องเที่ยว มีศักยภาพมากที่สุด รองลงมาคือ ทุนด้านหัตถกรรม อยู่ในระดับปานกลาง และทุนด้านวัฒนธรรมประเพณี ทุนด้านเกษตรกรรม และทุนด้านอื่น ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย&nbsp;2) แนวทางในการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก คือ การดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าจากทุนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว “โมเดลสะพานแขวน” และ “พวงกุญแจศาลหลักเมือง” โดยประยุกต์ใช้ทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนหรือใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ ถือเป็นการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ โดยผสานเข้ากับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่เกิดขึ้นมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจมากขึ้น ด้านการตลาดในระยะ 3 เดือนแรก พบว่า สามารถจำหน่ายได้ในปริมาณเฉลี่ยเกิน 83% ต่อครั้งที่ผลิตของทั้ง 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ นำมาซึ่งรายได้แก่กลุ่มซึ่งจะทำให้เกิดความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ต่อไปในอนาคต</p> รัฐพล ภุมรินทร์พงศ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/281416 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมกระบวนการเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ ผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรชุมชน บนฐานการคิดเชิงออกแบบ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270289 <p>โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ ผ่านกระบวนการพัฒนา<br>นวัตกรชุมชน บนฐานการคิดเชิงออกแบบ ในตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ซึ่งดำเนินการในรูปแบบของการจัดอบรบเชิงปฏิบัติการที่อาศัยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ตามแนวทางของ Stanford University (2012) ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง, การขมวดปมปัญหา, การค้นหาแนวทางแก้ไข, การร่างนวัตกรรมต้นแบบ และการนำนวัตกรรมต้นแบบไปทดสอบ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2565 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ตัวแทนสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 15 คน (2) คณะผู้วิจัยของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 9 คน (3) นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม จำนวน 45 คน และ (4) ตัวแทนลูกค้าที่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ จำนวน 22 คน โดยดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ได้ตัวแทนที่สามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว ล้วนเข้ามาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในขั้นตอนสำคัญของโครงการวิจัยทั้งสิ้น สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แนวทางการสนทนากลุ่มและแบบสังเกตการณ์ ซึ่งหลังจากดำเนินการยกระดับผลิตภัณฑ์เสร็จสิ้นแล้ว จึงปรากฏผลการดำเนินงาน 6 รายการต่อไปนี้ (1) ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ‘กระเป๋าผ้ามัดย้อมแม่อิงชิโบริ’ (2) ข้อมูลความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (3) กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (4) นวัตกรชุมชนด้านการตลาด (5) ผลการเปรียบเทียบผลประกอบการ ก่อนและหลังดำเนินการ และ (6) กระบวนการนวัตกรรมและการเรียนรู้</p> วรรณภา ทองแดง, รักษ์ศรี เกียรติบุตร, ธัญญพัทธ์ มุ่งพัฒนสุนทร, ประยงค์ จันทร์แดง, สาริณีย์ ภาสยะวรรณ,, ณัฐฑรี สินธุนาวา, อนุรัตน์ ฝันถึงภูมิ,, ภัทธิญา จินดาคำ, พรโอบอุ้ม วงศ์วิลาศ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270289 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278344 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 25 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ผลการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า ภาพรวมของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เป็นบทเรียนที่น่าสนใจ มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ต้องปรับปรุงเว็บไซต์ในบางประเด็น เช่น ปรับรูปแบบตัวอักษรบนเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์อื่น ๆ นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ เพิ่มเติมรูปภาพในส่วนของข้อมูลเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรับคำชี้แจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยกำหนด ตัดลิงก์เชื่อมโยงนิทานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนออก เนื่องจากไม่สอดคล้องกับวัยของผู้เรียน และเพิ่มเติมอีเมล เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อของเว็บไซต์</p> <p>2) ผลการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการทดสอบหลังเรียน (X = 28.52; S.D = 1.73) สูงกว่าก่อนเรียน (X = 10.60; S.D = 5.02) และเมื่อเปรียบเทียบโดยทดสอบสมมติฐานด้วย t-test พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสามารถเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้</p> ชนันภรณ์ อารีกุล, เอกภูมิ เจียมวิทยานุกูล Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278344 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานบนมูคที่ใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้สภาพแวดล้อมแบบเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี: การวิจัยระยะที่ 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278314 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานบนมูคโดยใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้สภาพแวดล้อมแบบเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยศึกษาจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์และการรู้ดิจิทัล จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานบนมูคโดยใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้สภาพแวดล้อมแบบเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัล มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ หลักการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและใช้ทรัพยากรการเรียนรู้แบบเปิด หลักการใช้โครงงานเป็นฐาน โดยใช้ปัญหาที่สนใจหรือสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกจริงเป็นบริบทของการเรียนรู้ หลักการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมแบบเกมมิฟิเคชันที่ดึงดูดความสนใจผู้เรียน หลักการมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารแลกเปลี่ยนแนวคิดด้วยเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสาร หลักการเน้นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และขั้นตอนการเรียนการสอนมี 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมผู้เรียน ขั้นที่ 2 การกำหนดและนำเสนอหัวข้อโครงงาน ขั้นที่ 3 การวางแผน ขั้นที่ 4 การดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 5 การสรุปผล ขั้นที่ 6 การนำเสนอผลงาน&nbsp; 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ย 4.42</p> ภานุวัฒน์ บุตรเรียง, รัฐพล ประดับเวทย์, นฤมล ศิระวงษ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278314 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 วาทกรรมที่ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัวภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/279376 <p>บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: จากวาทกรรมสู่การตอบโต้ของเกษตรกรลุ่มแม่น้ำท่าจีน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม และเพื่อศึกษาวาทกรรมที่ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัว ทำการวิเคราะห์และเผยให้เห็นถึงอำนาจการครอบงำของวาทกรรมพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบทางลบต่อเกษตรกรลุ่มน้ำท่าจีน คือ 1) ผลกระทบด้านกายภาพ 2) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 3) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนำไปสู่การปรับตัวของเกษตรกร คือ 1) การปรับตัวด้านอาชีพ 2) การปรับตัวตามสถานการณ์เฉพาะหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านเงินทุนและองค์ความรู้ของแต่ละคน และวาทกรรมที่ทำให้เกษตรต้องปรับตัว ที่มีวาทกรรมเป็นกระแสหลักที่ถูกพูดถึงในพื้นที่ศึกษาโดยรัฐนักวิชาการ 5 วาทกรรม ก็คือ 1) วาทกรรมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากต้นตอแหล่งผลิตในภาคการเกษตร 2) วาทกรรมการพึ่งตนเองก่อน เมื่อเกิดภัยพิบัติให้เกษตรกรคิดหาทางพึ่งตนเองและเอาตัวรอดด้วยตนเองก่อน 3) วาทกรรมการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รัฐมีแนวคิดในการป้องกันน้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพชั้นใน ให้นครปฐมเป็นฟลัดเวย์ รัฐบอกให้ชาวนครปฐมเป็นผู้เสียสละบ้านของตนให้เป็นพื้นที่รับน้ำ 4) วาทกรรมการผลิตเพื่อการค้า รัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ชาวสวนกล้วยไม้ปลูกเพื่่อส่งออกเป็นจำนวนมาก เกษตรจึงต้องใส่ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงเพื่อให้ดอกกล้วยไม้สวยงาม ซึ่งย้อนแย้งกลับนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5) วาทกรรมการเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือเกษตรอัจฉริยะเป็นความหวังใหม่ของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรต้องเสียเงินลงทุนด้านเทคโนโลยี แต่ก็ไม่สามารถทำได้ทุกคน</p> ปิยนาถ อิ่มดี Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/279376 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในฐานวิถีชีวิตใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278341 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบกลยุทธ์การบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในฐานวิถีชีวิตใหม่ เป็นการวิจัยเชิงอนาคต แบบ EFR (Ethnographic Future Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ทรงคุณวุฒิและ ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารวิชาการ จำนวน 17 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา<br>ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในฐานวิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์ด้านนโยบายและแผนงานวิชาการในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง 2) กลยุทธ์ด้านการพัฒนาทักษะและสมรรถนะของบุคลากรบนฐานวิถีชีวิตใหม่ 3) กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมและสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) กลยุทธ์ด้านเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง</p> อาลิตา กาญจน์วราธร, นุชนรา รัตนศิระประภา Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278341 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278349 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 127 เขต กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งประเภท ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล รวม 381 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา<br>ผลการวิจัยพบว่า<br>1. องค์ประกอบระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารจัดการและสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูล 2) การบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบ 3) การพัฒนาฟังก์ชันการทำงานเพื่อจัดการบุคลากรแบบองค์รวม และ 4) การพัฒนาระบบวิเคราะห์และรายงานเพื่อการบริหาร<br>2. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า ระบบฯ จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถจัดการข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ลดความซ้ำซ้อน ทำงานได้รวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง มีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Big Data ร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และพยากรณ์ มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและปกป้องข้อมูล รองรับการเชื่อมโยงกับระบบอื่น ควรลงทุนระบบอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า และพัฒนาให้ใช้ได้จริง</p> อนิวัตธิ์ กาญจน์วราธร, มัทนา วังถนอมศักดิ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278349 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพระเครื่องรุ่นใหม่ในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269343 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของตลาดพระเครื่องและลักษณะการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพระเครื่องรุ่นใหม่ในปัจจุบันของประเทศไทย ประการที่สองเพื่อพัฒนากลยุทธ์การใช้การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพระเครื่องรุ่นใหม่ และประการสุดท้ายเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนารูปแบบทางการตลาดออนไลน์ของพระเครื่องรุ่นใหม่ในประเทศไทย ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์แก่นสาระ และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพระเครื่องรุ่นใหม่ในปัจจุบันของประเทศไทย ได้แก่ 1.การสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพระเครื่องรุ่นใหม่ โดยการนำเสนอพระเกจิคณาจารย์หรือผู้มีชื่อเสียง การนำเสนอประสบการณ์ของพระเครื่อง การใช้เฟซบุ๊ก การใช้ติ๊กต็อกแอพพลิเคชั่น และ การใช้ยูทูป 2.ความนิยมพระเครื่องรุ่นใหม่ 3.ด้านความศรัทธาด้านของสะสม 4.ด้านการลงทุน และ 5.ด้านระดับมูลค่าและราคา และกลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาดของพระเครื่องรุ่นใหม่ในประเทศไทย คือ กลยุทธ์ตลาดเฉพาะของวัตถุมงคลรุ่นใหม่ ประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.กลยุทธ์กานำเสนอจริยวัตรของพระเกจิคณาจารย์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2.กลยุทธ์การนำเสนอประสบการณ์การบูชาพระเครื่องผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 3.กลยุทธ์การสร้างความนิยมสะสมและลงทุนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ 4.กลยุทธ์การสร้างมูลค่าและราคาของพระใหม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์</p> ดนัย อินทรพยุง, ตรีเนตร ตันตระกูล Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269343 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษา ภายใต้ภาวะผู้นำการจัดการการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270010 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษา 2) เพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษาภายใต้ภาวะผู้นำการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อทดลองใช้นวัตกรรมหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษาภายใต้ภาวะผู้นำการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา&nbsp; ได้ศึกษาแนวคิดภาวะผู้นำการจัดการการเปลี่ยนแปลงของ Schratz &amp; Schley, 2014; The Corum Consultancy Ltd. Company, 2023 และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของ Vijayalakshmi,(2020) เป็นกรอบการวิจัย มีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย คือ ขั้นตอนที่ 1 การยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้นำการจัดการการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างนวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษาภายใต้ภาวะผู้นำการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้นวัตกรรมหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษาภายใต้ภาวะผู้นำการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง คือการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลประเภททวิภาษามีความเห็นว่าภาวะผู้นำการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษามีความสำคัญที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li class="show">นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษาภายใต้ภาวะผู้นำการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามี 5 ขั้นตอน คือ 1) การเลือกเพื่อกำหนดจุดประสงค์ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการจัดทำหลักสูตร 2) การเลือกและกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) การเลือกและกำหนดเนื้อหาในการเรียนรู้ 4) การบูรณาการระหว่างประสบการณ์และเนื้อหาในการเรียนรู้และ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;5) การประเมินผล</li> <li class="show">หลังทดลองใช้นวัตกรรมหลักสูตรสถานศึกษาโปรแกรมทวิภาษาภายใต้ภาวะผู้นำการจัดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนอนุบาลคิราคิราคิดส์ นานาชาติของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 (K1) มีคะแนนผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนทดลองใช้ = 1.20 คะแนน</li> </ol> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ โรงเรียนอนุบาลคิราคิราคิดส์ นานาชาติได้นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษานำไปสู่หลักสูตรสถานศึกษาตามมาตรฐานโรงเรียนอนุบาลของประเทศญี่ปุ่น&nbsp; ซึ่งทางโรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นกรอบในการพัฒนานักเรียน</p> ทรงพล บุญประเสริฐ, พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ, ธนีนาฏ ณ สุนทร Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270010 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยการติดต่อของโรคโควิด-19 ในจังหวัดเพชรบูรณ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270876 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการติดต่อของโรคโควิด-19 ในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการติดต่อของโรคโควิด-19 ในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการติดต่อของโรคโควิด-19 ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชน ข้าราชการในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล</p> สมเกียรติ คำโสม, เดชาวัต คงคาน้อย, ธานี ชาวสวน Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270876 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกที่มีผลต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269497 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ 2) ศึกษาผลกระทบด้านแรงงานจากการเปลี่ยนแปลงการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ้างงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก1) ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นคนไทย 4 คน 2) ผู้บริหารบริษัทยานยนต์ 4 คน 3) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ 4 คน และ 4) นักวิชาการเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ 3 คน จำนวนรวม 15 คน ผลการวิจัยพบว่า<br>1. การนำอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไปสู่เป้าหมาย ความสามารถทางนวัตกรรมจะเป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าและยังรวมถึงความพึงพอใจของลูกค้า นวัตกรรมของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ต้องใช้ความรู้ทางด้านการบริหารจัดการมาปรับปรุงระบบโครงสร้างให้มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ความเชี่ยวชาญและทักษะความชำนาญของบุคคลเมื่อนำความคิดใหม่ๆ นั้นมาสู่การปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรให้กับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมเกิดประโยชน์ต่อชีวิตสังคมและเศรษฐกิจ กระบวนการหรือบริการต้องมีลักษณะของความผันแปรให้เกิดความทันสมัยในตัวเองอย่างไม่หยุดนิ่ง<br>2. การปรับเปลี่ยนการใช้นโยบายส่งผลให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง ทุนมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความได้เปรียบและถือเป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ <br>3. การมีนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือห่วงโซ่แห่งคุณค่า <br>มีความสามารถในการแข่งขัน ต้องค้นหาวิธีการทำงานที่ได้ผลดีที่สุดและกำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงาน การสร้างความสามารถในการแข่งขันต้องมีการลงทุนสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง มีการรวมกลุ่มทางธุรกิจเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งมากขึ้น มีความพร้อมต่อการเปิดเสรีทางการค้า การบริการและการลงทุนของประชาคมอาเซียน มีการส่งเสริม นวัตกรรม เทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นตามความต้องการของลูกค้า โดยจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น </p> มานิตย์ พรหมการีย์กุล, สืบพงศ์ สุขสม Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269497 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามในกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269504 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงาม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงาม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และทำการเก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงาม 2) นักวิชาการเกี่ยวกับคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงาม และ 3) ผู้ใช้บริการ รวม 27 คน และผู้ร่วมสนทนากลุ่ม 7 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการเกี่ยวกับคลินิกเสริมความงาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ Facebook Instagram และ YouTube 2) ความสัมพันธ์ของรูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การตลาดแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการทำให้ติดอันดับในการค้นหา มีความสัมพันธ์ต่อองค์ประกอบของการตัดสินใจเลือกใช้บริการของคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามในกรุงเทพมหานคร ด้านทัศนคติต่อแบรนด์ การรับรู้แบรนด์ ภาพลักษณ์ของ แบรนด์ และความไว้วางใจในแบรนด์ และ 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของคลินิกเสริมความงามด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ Facebook, Instagram และ YouTube ควรเลือกรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายน้อย และเหมาะสมในทางปฏิบัติซึ่งจะสามารถสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจในด้าน เศรษฐกิจ ด้านความภักดีของผู้ใช้บริการ ด้านสัดส่วนของผู้ใช้บริการ และ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม</p> ธนิตพงศ์ มัลลิจารุพงศ์ , ภัครดา เกิดประทุม Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269504 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตข้าวปลอดสารพิษ เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกรกลุ่มขาณุ-โมเดล จังหวัดกำแพงเพชร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270040 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของเกษตรกรผู้ประกอบการ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะผู้ประกอบการ สภาพแวดล้อม ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตข้าวปลอดสารพิษ และ3) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตข้าวปลอดสารพิษ เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกรกลุ่มขาณุ-โมเดล จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกลุ่มผู้แทนเกษตรกรผู้ประกอบการกลุ่มขาณุ-โมเดล จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 20 คน พร้อมทั้งการสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้แทนนายกสมาคมโรงสีข้าว เจ้าของโรงสีบริษัทเอกชนค้าปลีก บริษัทตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันพันธุ์ข้าว และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 6 คน แล้วนำมาหาข้อสรุปด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและเสนอแนะอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูล <br />ผลการวิจัยพบว่า 1)คุณลักษณะของเกษตรกรกลุ่มขาณุ-โมเดล จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ (1)มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง (2) มีประสบการณ์ (3) มีทุนทรัพย์ (4)มีทัศนคติที่ดีในอาชีพเกษตรกร (5) มีทุนทางสังคม (6)มีการต่อยอดธุรกิจเกษตรในชุมชน 2)ความสัมพันธ์ของลักษณะผู้ประกอบการ สภาพแวดล้อม ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตข้าวปลอดสารพิษมีผลมาจาก(1)ความแตกต่างด้านประสบการณ์ (2) ความแตกต่างด้านทักษะการบริหารจัดการของเกษตรกร (3)ระดับรายได้ความร่วมแรงร่วมใจ และการเรียนรู้เทคโนโลยีของสมาชิก (4)สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และ(5)ทิศทางการกำหนดนโยบายของภาครัฐ 3)การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตข้าวปลอดสารพิษ ประกอบด้วย (1)การถ่ายทอดเทคโนโลยี (2)การส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม 3)การส่งเสริมแบบตลาดนำการผลิต 4)การส่งเสริมการศึกษานอกระบบของเกษตรกรกลุ่มขาณุโมเดลตามลำดับ</p> วัชรินทร์ อุ่นใจ, ภัครดา เกิดประทุม Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270040 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 นโยบายรัฐบาลดิจิทัลเพื่อบริการสาธารณะ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270432 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐ 3) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 10 คน จากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานของรัฐ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลมีแนวคิดการเป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์และสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศ 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล คือความไม่พร้อมของหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะขาดการบูรณาการการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ และบุคลากรขาดทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3) แนวทางการบริหารงานข้อมูลภาครัฐและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลในระดับหน่วยงานของรัฐ การบันทึกความร่วมมือในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ การกำหนดมาตรการความปลอดภัยในการใช้งานระบบดิจิทัล และการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานของรัฐด้านทักษะดิจิทัล</p> วีระ สระทองแก่น, สืบพงศ์ สุขสม Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270432 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมจีนของชุมชนเยาวราชผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270936 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสร้างองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี วีถีชีวิตของชุมชนเยาวราช 2) เพื่อสร้างสื่อเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตอันดีงามของชุมชนเยาวราชในยุคดิจิทัล 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตอันดีงามของชุมชนเยาวราช เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ใช้แนวคิดเกี่ยวกับทุนวัฒนธรรม และแนวคิดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเป็นกรอบการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี วีถีชีวิตของชุมชนเยาวราช กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้าชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้รู้ในชุมชน และคนในชุมชน จำนวน 60 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมจีนของชุมชนเยาวราช ผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ จำนวน 404 คน ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แนวคำถามเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนเยาวราชประกอบด้วยองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีสืบสานภายในชุมชนเยาวราช และองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณีอื่นๆ 2) การสร้างสื่อเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ เป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ความรู้ผ่านเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ ด้วยการใช้รูปแบบภาพมุมมอง 360 องศา ทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นเสมือนผู้เข้าได้เข้าในสถานที่จริง 3) ความพึงพอใจของการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตอันดีงามของชุมชนเยาวราช มีความพึงพอใจอยู่ในภาพรวมโดยเฉลี่ยที่ระดับมากที่สุด <br />องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาทางด้านการศึกษาในการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนในประเทศไทยและยังเป็นการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมจีนของชุมชนเยาวราชผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจำลองออนไลน์ แบบ 360 องศา ที่เป็นวิธีการเรียนรู้และสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิตจีนของชุมชนเยาวราช ที่ไม่จำกัดเพียงแค่คนในชุมชนอีกต่อไป เพราะเป็นการเปิดกว้างและเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้เรียนรู้ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนใดก็ตาม เวลาใดก็ตาม เพราะการเรียนรู้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และยังเป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้นอีกด้วย</p> สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์ , ชัชชุดา จิระนันทิพร Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270936 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270992 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน นักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป และ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน นักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/15 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จำนวน 44 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเชิงปฏิบัติการ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลเชิงปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ (2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลสรุปเป็นความเรียงด้วยการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 เฉลี่ยเป็นร้อยละ 83.98 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2. การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 เฉลี่ยเป็นร้อยละ 83.24 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด</p> สิรินาถ จันทวงษ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270992 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความเหมาะสมในการบริหารจัดการพื้นที่บึงขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271091 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบนิเวศของสัตว์บริเวณพื้นที่บึงขุนทะเล 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการระบบน้ำเสียภายในบึงขุนทะเล 3) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตประมงพื้นถิ่นบริเวณพื้นที่บึงขุนทะเล 4) เพื่อศึกษาด้านสันทนาการบริเวณพื้นที่บึงขุนทะเล และ 5) เพื่อเสนอแนวทางความเหมาะสมในการบริหารการจัดการพื้นที่บึงขุนทะเล ที่มีพื้นที่ศึกษาตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เทศบาลตำบลขุนทะเล เทศบาลตำบลวัดประดู่ องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีภายใต้กรอบแนวคิดการบริหารจัดการ การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น และการวางแผนเชิงปฏิบัติการโดยชุมชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 23 คน กลุ่มตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14 คน และกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบการภาคเอกชน จำนวน 13 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐานและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา <br />ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ทั้ง 5 ข้อ พบว่า 1) ได้ฐานข้อมูลระบบนิเวศของสัตว์ที่หลากหลายโดยเฉพาะสัตว์ปีกจำพวกนกที่จำแนกเป็น 54 วงศ์ 113 สกุล และ 142 ชนิด ส่วนสัตว์น้ำมีปลาประจำถิ่นในแม่น้ำตาปี ได้แก่ ปลาทกหรือปลาเค้าดำ ปลาสร้อยนกเขาหรือปลาขี้ขม มีลิงแสมประมาณ 50-100 ตัว 2) ได้จัดทำแนวทางการจัดการระบบน้ำเสียภายในบึงขุนทะเล จำนวน 6 จุด พร้อมงานระบบท่อระบายรวมรอบพื้นที่บึงขุนทะเล 3) เกิดการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของกลุ่มประมงพื้นบ้านและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ให้มีทักษะด้านการแปรรูปที่ได้รับมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจำหน่าย การส่งเสริมการอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ได้จัดทำแผนการพัฒนา โครงการ และพื้นที่จัดกิจกรรมที่ด้านสันทนาการ และ 5) ได้จัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอแนวทางความเหมาะสมในการบริหารการจัดการพื้นที่บึงขุนทะเล ภายใต้วิสัยทัศน์ คือ “บึงขุนทะเลยั่งยืน” และนโยบาย คือ “บึงขุนทะเลวิถีน่าเที่ยว ธรรมชาติสะอาด ผู้คนปลอดภัย” ภายใต้ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 เป้าประสงค์ 25 กลยุทธ์ และ 25 ตัวชี้วัด </p> นรา พงษ์พานิช, สมปราชญ์ วุฒิจันทร์, พงศ์พล ปลอดภัย , พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271091 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271248 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านงิ้วศิริราฎร์บำรุง ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ แบ่งเป็น 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ (1) แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ (2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน (3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ (4) แบบทดสอบการอ่านจับใจความ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (1) แบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความ (2) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา <br />ผลการวิจัยพบว่า 1)ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความ นักเรียนร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 71.70 ขึ้นไป 2) ทักษะในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ6R ร่วมกับแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ นักเรียนร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70.00 ขึ้นไป</p> อรยา เขียวรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271248 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการเรียนรวมด้วยกิจกรรมเสริมหลักสูตร : ห้องเรียนเสมอภาค เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะพลเมืองเข้มแข็ง สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271640 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของห้องเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีเด็กพิเศษเรียนรวม 2) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อสร้างความเสมอภาคในห้องเรียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาแนวคิดการจัดการเรียนรวมและการจัดการชั้นเรียนเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 คือ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการรายงานข้อมูลสถิติผู้พิการ และวัตถุประสงค์ที่ 2 คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และเกณฑ์การประเมินสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า<br />การศึกษาสถาพปัญหาห้องเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีเด็กพิเศษเรียนรวม พบว่า 1. โรงเรียนขาดการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมให้กับครูผู้สอนและผู้เรียนในกลุ่มปกติ เมื่อจำเป็นต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้พิการหรือผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่วนการค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกับผู้พิการหรือผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พบว่า ยังไม่ค่อยมีการศึกษาในประเด็นนี้มากนัก ผู้วิจัยจึงได้พัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรห้องเรียนเสมอภาคเพื่อทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย และสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้น พบว่า การมีปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกลุ่มปกติและนักเรียนพิการหรือมีความต้องการจำเป็นพิเศษมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น และได้ออกแบบ “EMPATHY MODEL” เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรห้องเรียนเสมอภาคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> กิจสุพัฒ บังวรรณ, อัจฉรา ศรีพันธ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271640 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 นโยบายการบริหารกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269501 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาหนี้และการใช้คืนเงินกองทุนเพื่อการศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปัญหาหนี้และการใช้คืนเงินกองทุนเพื่อการศึกษา 3) นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้และการใช้คืนเงินกองทุนเพื่อการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คณะอนุกรรมการกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 7 ราย กลุ่มที่ 2 สถานศึกษา ผู้กู้ยืมเงิน ธนาคารผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม จำนวน 29 <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้กู้ส่วนใหญ่ไม่ชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามที่กำหนด ผู้กู้ไม่มีรายได้ที่เพียงพอจะมาทำการชำระคืน การชำระหนี้คืนกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ชำระต่อปีเพียงครั้งเดียว ทำให้ผู้กู้มองว่าต้องชำระเงินเป็นจำนวนมาก ผู้กู้ ยอมให้ถูกดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อที่จะไปไกล่เกลี่ยในภายหลัง กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษามี Application ตรวจสอบข้อมูลการกู้ของผู้กู้ เปิดรับลงทะเบียนให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ แต่ทางกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ก็ยังไม่ได้มีการตอบกลับถึงผลการตรวจสอบว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาทำการหักจากเงินเดือนผู้กู้ และผู้กู้ยังขาดวินัยทางการเงิน 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปัญหาหนี้และการใช้คืนเงินกองทุน มาจากตัวผู้กู้ที่ไม่มีวินัยทางการเงิน ปัญหาเกี่ยวกับการค้ำประกัน ปัญหาหนี้ค้างชำระที่ไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ทำให้ผู้กู้ไม่มีความเกรงกลัวและไม่เคารพต่อกฎหมาย และเห็นว่าดอกเบี้ยของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเพียงร้อยละ 1 ต่อปี จึงนำเงินที่มีอยู่ไปชำระหนี้ในส่วนอื่นที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าแทน 3) การแก้ไขปัญหาหนี้และการใช้คืนเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา รัฐบาลปรับปรุงรูปแบบการจ่ายชำระหนี้คืนจากรายปี เป็นรายเดือน ปรับค่างวดที่จะต้องชำระเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน ปรับปรุง การเริ่มชำระหนี้ของผู้กู้ให้ผูกกับการมีงานทำ และเริ่มมีรายได้โดยไม่เกิน 5 ปีนับตั้งแต่จบการศึกษา ซึ่งเดิมกำหนดให้หลังจากจบการศึกษา 2 ปี ปรับปรุงการตัดชำระหนี้ให้ตัดส่วนของเงินต้นก่อนแล้วจึงตัดดอกเบี้ย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ภาครัฐควรที่จะเสนอให้มีการปรับแก้ข้อกฎหมายในการคิดอัตราดอกเบี้ย โดยไม่ให้มีดอกเบี้ยเกิดขึ้นกับผู้กู้ในอนาคตและผู้กู้ในอดีตเพื่อให้เกิดการส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างแท้จริง </p> สรวิศทชากร เลขานุกิจ, พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269501 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการเสริมสร้างศาสนิกสัมพันธ์เพื่อความสมานฉันท์ ของผู้นำศาสนาในจังหวัดนครปฐมด้วยจิตตปัญญาศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276814 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของความสัมพันธ์ทางศาสนาในจังหวัดนครปฐม สร้างคู่มือการเสริมสร้างศาสนิกสัมพันธ์เพื่อความสมานฉันท์ของผู้นำศาสนาด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา และประเมินคู่มือเสริมสร้างศาสนิกสัมพันธ์เพื่อความสมานฉันท์ของผู้นำศาสนาในจังหวัดนครปฐมด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แนวทางแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ ประเมินประสิทธิภาพคู่มือ ฯลฯ ประเมินผลกการใช้คู่มือ ฯลฯ จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำศาสนา ผู้บริหารองค์กรศาสนิกสัมพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนิกสัมพันธ์ และด้านจิตตปัญญาศึกษา ผู้เข้าร่วมทดลองการใช้คู่มือ ฯลฯ<br />ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดนครปฐมเป็นสังคมพหุนิยมทางศาสนามีองค์พระปฐมเจดีย์เป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์ทางศาสนา ทำให้ภูมิทัศน์ทางศาสนาของจังหวัดนครปฐมเอื้อต่อการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศาสนิกสัมพันธ์เพื่อความสมานฉันท์ของผู้นำศาสนาโดยเฉพาะเส้นทางศาสนิกสัมพันธ์รอบอาณาบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ ด้านความสัมพันธ์ของผู้นำศาสนา มีลักษณะต่างคนต่างอยู่ ไม่มีกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยสนิทสนมต่อกัน <br />ผลการสร้างคู่มือ ฯลฯ มีองค์ประกอบของคู่มือดังนี้ 1) แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการจัดกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา 2) ความสำคัญของการจัดกระบวนการเสริมสร้างศาสนิกสัมพันธ์เพื่อความสมานฉันท์ของผู้นำศาสนาในจังหวัดนครปฐม 3) รูปแบบและวิธีการจัดกระบวนการ ฯลฯ 4) องค์ประกอบของกระบวนการ ฯลฯ 5) การวัดและประเมินผล 6) คุณลักษณะของกระบวนกร 7) สถานที่ในการจัดกระบวนการ 8) ระยะเวลาในการจัดกระบวนการ<br />ผลการประเมินประสิทธิภาพคู่มือฯ ของผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่านมีค่าเฉลี่ยภาพรวม 4.37 ระดับมากสุด มีนัยยะสำคัญทางสถิติอยู่ที่ 0.85 ผลการประเมินประสิทธิภาพคู่มือฯ ของผู้นำศาสนาทั้ง 7 ท่านมีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ที่ 4.34 ระดับมากสุด มีนัยยะสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ 0.61 ผลจากการอบรมเชิงปฏิบัติการทดลองคู่มือการจัดกระบวนการ ฯ คะแนนเฉลี่ยศาสนิกสัมพันธ์ (ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำศาสนา มีความรัก ความสามัคคี มีความเข้าใจอันดีต่อกัน มีการติดต่อสื่อสารสัมพันธ์ สนิทสนมคุ้นเคย) ก่อนอบรมเชิงกฏิบัติการของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ที่ 3.55 ระดับมาก หลังการอบรม อยู่ที่ 4.68 ระดับมากสุด คะแนนเฉลี่ย ความสมานฉันท์ (ความเข้าอกเข้าใจ ความเห็นพ้องต้องกันในด้านความเห็น ความไว้เนื้อเชื่อใ จการให้อภัย การยอมรับความแตกต่างหลากหลาย และความสามัคคี) ก่อนการอบรมอยู่ที่ 3 .59 ระดับมาก หลังการอบรมอยู่ที่ 4.64 ระดับมากที่สุด</p> วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276814 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 เทคโนโลยีบล็อกเชนกับการนำมาใช้ในการควบคุมบริหารเงินนอกงบประมาณที่ไม่ได้มาจากกระทรวงการคลัง กรณีศึกษา: เทศบาลตำบลสีชมพู อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271185 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการเก็บเงินนอกงบประมาณและการตรวจสอบเงินโดยเกี่ยวกับทรัพย์สินที่หน่วยงานราชการได้รับไว้ 2) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการใช้จ่ายเงินและอุปสรรคในการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain กับระบบเงินนอกงบประมาณ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน เงินนอกงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณที่ไม่ใช่เงินคงคลัง&nbsp;กลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling Technique) ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารเทศบาล จำนวน 2 คน ผู้ปฏิบัติการจำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 5 คน ซึ่งเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของเทศบาลตำบลสีชมพู จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interviews) ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง โดยการจ่ายเงินในแต่ละครั้งจะต้องมีหลักฐานการจ่ายเพื่อใช้ในการตรวจสอบ ทุกรายการจะต้องมีการบันทึกการจ่ายเงินไว้ในระบบ 2) เงินนอกงบประมาณที่เทศบาลได้รับไม่ได้นำไปใช้กับโครงการใดโครงการหนึ่ง โดยส่วนใหญ่จะนำมาใช้ซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าไฟ ค่าซ่อมแซมทรัพย์สิน ค่ากระเช้าที่ทางเทศบาลนำไปเยี่ยมผู้ป่วย จึงก่อให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บเงินนอกงบประมาณ 3) ควรส่งเสริมงานเรียนรู้เทคโนโลยีบล็อกเชนกับบุคลากร ควรมีการอบรมและให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างเหมาะสมก่อนจะนำมาใช้จริง</p> พุทธจักร กงจีน, วิษณุ สุมิตสวรรค์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271185 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/279591 <p>โลกาภิวัฒน์ทำให้สังคมชุมชนเปลี่ยนแปลง ภูมิปัญญาท้องถิ่นกำลังจะหายไป การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ 2) พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ และ 3) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวปกาเกอะญอ การวิจัยนี้ ดำเนินการ 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการของศูนย์ฯ โดยศึกษาเอกสาร และภาคสนาม ในจังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จำนวน 4 ศูนย์ฯ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 60 คน เครื่องมือ คือ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบศูนย์ฯ ยกร่างรูปแบบ และสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน เครื่องมือ คือ แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกข้อมูล และ ระยะที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ การสนทนากลุ่ม จำนวน 21 คน เครื่องมือ คือ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์เนื้อหา <br />ผลการวิจัย พบว่า 1)ศูนย์ฯ มีสภาพแวดล้อม และวิถีความเป็นชุมชน เป็นทุนทางวัฒนธรรม จัดการเรียนการสอนโดยชุมชนมีส่วนร่วม ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาสภาพแวดล้อมอาคารสถานที่ สิ่งก่อสร้าง แหล่งเรียนรู้เสื่อมโทรม การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ บุคลากรขาดทักษะการจัดการเรียนรู้ ขาดงบประมาณ และปัญหาสิทธิประโยชน์ทางการศึกษา และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 2) ความต้องการของศูนย์ฯ พบว่า ต้องการยกระดับคุณภาพบุคลากร การจัดการเรียนรู้ การรับรองสถานะบุคลากรทางภูมิปัญญา การสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษา 3)รูปแบบศูนย์ฯ มีองค์ประกอบเป็นประโยชน์และศูนย์ฯ ควรได้รับการสนับสนุนและพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป </p> จุรี ขยัน, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล, กัมปนาท บริบูรณ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/279591 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 บางกระทุ่มน่าชม : ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276246 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบททั่วไป และวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาสและอุปสรรคทางการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก แบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้นำชุมชน ประชาชน และหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 40 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจ 5 แห่ง ได้แก่ วัดสนามคลีตะวันตก วัดไพรสุวรรณ วัดโคกสลุด วัดตายม และวัดย่านยาวพื้นที่อำเภอบางกระทุ่มมีศักยภาพสามารถพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมได้ 2) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม แบบมีส่วนร่วมของชุมชน จะต้องมีการพัฒนาด้านต่างๆ คือ ด้านการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว ด้านความสามารถในการเข้าถึง ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม แบบบูรณาการตามแนวพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักพุทธธรรมสัปปายะ 7 มาบูรณาการ ทำให้ได้กลยุทธ์การจัดการเชิงยุทธศาสตร์ 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การพัฒนาด้านกายภาพ กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากร กลยุทธ์การมีส่วนร่วม และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และบริการ </p> พระครูรัตนสุตาภรณ์, พระราชรัตนสุธี , พระมหาเทวประภาส มากคล้าย Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276246 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการพัฒนาเชิงพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริก เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของราษฎรบนพื้นที่สูง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/272847 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนของราษฎรบนพื้นที่สูง 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาเชิงพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาแนวคิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามแนวพระราชดำริเป็นกรอบการวิจัย มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 ราย ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยมี 2 ชนิด 1) แบบสำรวจเชิงพื้นที่ 2) แบบสัมภาษณเชิงลึก นำมาวิเคราะห์ข้อมูลและบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">บริบทชุมชนของราษฎรบนพื้นที่สูงมีต้นทุนทางภูมิสังคมที่หลากหลาย จากข้อมูลพื้นฐานด้านหนี้สิน รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา พบว่าปัญหาความยากจนยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม รายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีหนี้สินสะสม ตามความเจริญทางวัตถุและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านปัจจัยสี่ที่มากขึ้นจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม</li> <li class="show">กระบวนการพัฒนาเชิงพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสาและพระธรรมจาริก มี 4 ด้านตามแนวพระราชดำริ 1) การป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก 2) การพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ 3) ทฤษฎีใหม่ 4) การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร ประกอบกับพันธกิจของพระสงฆ์ที่เสริมความเข้มแข็งชุมชน ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยหลักภาวนา 4 คือ 1) ทางกาย ด้วยหลักสุขภาวะ 5 อ คือ อาหาร อุจจาระ อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ 2) ทางใจ มีการสาธยายธรรมในวันพระและวันสำคัญของชุมชน 3) ทางสังคม มีกิจกรรมที่เกื้อกูลกันในชุมชนด้วยหลักสารณียธรรม 4) ทางปัญญา มีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาให้เข้าใจหลักอริยสัจ 4</li> </ol> <p>กระบวนการนี้วิจัยนี้สามารถยกระดับไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อส่งเสริมสัมมาอาชีพสร้างรายได้ให้ราษฎรบนพื้นที่สูงและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้อีกระดับหนึ่ง</p> พระครูสุตพัฒโนดม (วรเมศร์ ผาคำ), พระครูพิลาสธรรมากร (ณัฐพล ประชุณหะ), สมบูรณ์ ตาสนธิ, เทวัญ เอกจันทร์,, บัวสวรรค์ จันทร์พันดาว Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/272847 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนในตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271114 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ชองชุมชนตำบลยางเนิ้ง 2) เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนตำบลยางเนิ้ง และ3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนตำบลยางเนิ้ง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้การสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล จำนวน 18 รูป/ท่าน 2) ผู้ให้การสนทนากลุ่ม จำนวน 7 รูป/ท่าน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ คือ ประเพณีถวายสลากภัตเป็นประเพณีที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนในตำบลยางเนิ้ง ซึ่งมีการอนุรักษ์และสืบทอดปฏิบัติมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันกลุ่มผู้ให้ความสำคัญคือ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ปกครอง แต่กลุ่มเยาวชน พบว่า ไม่มีองค์ความรู้และไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีถวายสลากภัต 2) การพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้และการจัดกิจกรรมบทบาทสมมติ โดยการให้เยาวชนและผู้ปกครองได้มีบทบาทในกิจกรรมประเพณีถวายสลากภัตตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่เยาวชนซึ่งนำไปสู่การพัฒนาวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 3) รูปแบบการพัฒนา โดยการใช้รูปแบบเชิงบูรณาการแบบมีส่วนร่วม ระหว่างองค์กรศาสนา องค์กรสถานศึกษา องค์กรสังคม และครอบครัว ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนภูมิปัญญาสู่ศิลปะสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนตำบลยางเนิ้งต่อไป <br />องค์ความรู้จากงานวิจัยพบว่า ในแต่ละพื้นที่จะมีภูมิประเทศประเพณีวัฒนธรรมที่แตกต่าง ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาสู่เยาวชนให้กลายเป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีวัฒนธรรมที่มีความเป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่นั้น ๆ</p> พระณัฐพงศ์ จันดาวัน, ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์, สหัทยา วิเศษ, ปรีชา วงศ์ทิพย์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271114 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาวิเคราะห์การสำรวมอินทรีย์ที่ปรากฏในมาคัณฑิยสูตร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270965 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและสาระสำคัญของมาคัณฑิยสูตร<br />2) เพื่อศึกษาการสำรวมอินทรีย์ที่ปรากฏในมาคัณฑิยสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์การสำรวมอินทรีย์ที่ปรากฏในมาคัณฑิยสูตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยข้อมูลในคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า 1)พระสูตรนี้เกิดขึ้นที่เมืองกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ พระพุทธเจ้าเสด็จแสดงธรรมเรื่องการสำรวมอินทรีย์แก่มาคัณฑิยปริพาชก ด้วยทรงพิจารณาว่าบุคคลนี้มีอุปนิสัยที่จะบรรลุอรหัตตผล สามารถเจริญปัญญาในพระพุทธศาสนา โดยยกอุปมา-อุปไมยขึ้นแสดง 3 เรื่อง คือ เปรียบกามของมนุษย์กับกามทิพย์ เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด ดังพุทธพจน์ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง 2) การสำรวมอินทรีย์ 6 คือ 1) จักขุนทรีย์ 2) โสตินทรีย์ 3) ฆานินทรีย์ 4) ชิวหินทรีย์ 5) กายินทรีย์ 6) มนินทรีย์ ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความสุขในลัทธิของมาคัณฑิยปริพาชก อันเป็นความสุขทางโลกียะ กับความสุขในพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน 3)การเกิด-ดับ คุณ-โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกจากกามคุณ 5 เป็นความแตกต่างระหว่างลัทธิมาคัณฑิยปริพาชก กับพระพุทธศาสนา เป็นจุดที่ทำให้มาคัณฑิยปริพาชกเปลี่ยนจากปุถุชน เป็นอริยบุคคล และบรรลุอรหัตตผลในที่สุด<br />องค์ความรู้ในงานวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่า เราไม่สามารถปิดกั้นกามคุณ 5 ได้ หากแต่สามารถไตร่ตรอง พิจารณา ใคร่ครวญ ไม่ยินดียินร้าย ในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัส ซึ่งเรียกว่า การสำรวมหรืออินทรีย์สังวร เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับโลกเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้</p> พรรัตน์ ตั้งธนะพงศ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270965 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการขยะอย่างยั่งยืนโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270342 <div><span lang="TH">ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในชุมชน เนื่องจากประเทศไทยมีอัตราการเกิดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นทุกปี ภายในปี </span><span lang="EN-US">2565 </span><span lang="TH">มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอยสูงถึง </span><span lang="EN-US">25.70 </span><span lang="TH">ล้านตัน โดยความรุนแรงของการจัดการขยะอย่างไม่ถูกวิธีทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศและสังคมโดยรวม ซึ่งการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เป็นส่วนสำคัญให้เกิดการอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีเศษสิ่งเหลือใช้มากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยหรือของเสียที่เป็นสาเหตุประการหนึ่งของการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย การจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องเกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างมีมาตรฐาน ในบทความนี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ </span><span lang="EN-US">1) </span><span lang="TH">แนวทางการจัดการขยะมูลฝอย </span><span lang="EN-US">2)&nbsp;</span>แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน&nbsp;<span lang="EN-US">3) </span><span lang="TH">แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ </span><span lang="EN-US">4) </span><span lang="TH">กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย โดยองค์ความรู้จากบทความนี้สามารถเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนางานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย สามารถนำไปพิจารณาปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตามบริบทของหน่วยงานนั้น ๆ รวมถึงสามารถสร้างองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนได้ </span></div> วรวุฒิ ตั้งประดิษฐ, ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ, ฐิติมา โห้ลำยอง Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270342 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานด้านการผลิต https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/277976 <p>การวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานและการจัดการการผลิตเป็นส่วนสำคัญในการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานและการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด การจัดการการดำเนินงานการผลิต เน้นการวางแผนและการควบคุมกระบวนการผลิต สร้างผลผลิตและกำไรสูงสุดในองค์กร&nbsp; การทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานและการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา เพราะมีผลต่อความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ดีขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการผลิต การวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานด้านการผลิตยังช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทำงานและผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การนำเสนอทฤษฎีและแนวคิดเหล่านี้ จึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตโดยนำเสนอทฤษฎีและแนวคิด ดังนี้ 1.) ออกแบบการวางแผน 2.) ปรับปรุงกระบวนการ, 3.) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 4.) การจัดการเครื่องจักรและบำรุงรักษา 5.) การควบคุมคุณภาพ &nbsp;6.) การจัดการสินค้าคงคลัง 7.) การวิเคราะห์ต้นทุนด้านการผลิต และ 8.) การพัฒนาระบบการผลิตอัตโนมัติ การวิเคราะห์ปัจจัยการดำเนินงานและการผลิตสามารถสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจ ช่วยให้องค์กรปรับปรุงการดำเนินงานการผลิตให้เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนในยุคการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นได้อย่างคุ้มค่า</p> วราวุฒิ ปัจฉิมพิหงค์, ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ , เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/277976 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารกิจกรรมเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270886 <p>หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี แต่การจัดการศึกษาที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ นักเรียนนขาดความรู้ความเข้าใจตลอดจนการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีที่อาจจะส่งผลต่อความมั่นคงของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข<br />บทความวิชาการนี้ผู้เขียนจะนำเสนอเกี่ยวกับปัจจัย องค์ประกอบและรูปแบบของการบริหารกิจกรรมเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี ให้มีความเป็นพลเมืองที่ดีตามครรลองของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข</p> ทรรศวรรณ วิบูลย์ธัญญ์, ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, อัจฉรา วัฒนาณรงค์, สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270886 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 วิถีผู้นำ วิถีชาวพุทธในรัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269929 <p>บทความนี้มีความวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบริบทสังคมชาวพุทธในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ แนวคิด และศาสนา วิวัฒนาการของพระพุทธศาสนาในอินเดียจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านมุมมองของผู้เขียนที่มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมกับองค์กรชาวพุทธในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วรัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย ทำให้ได้เห็นมุมมองที่หลากหลาย และความโดดเด่นของผู้นำชุมชนชาวพุทธ ในกิจกรรมการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา การส่งเสริมและการฟื้นฟูพระพุทธศาสนากลับสู่ดินแดนพุทธภูมิ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย เป็นรัฐที่มีประชาการชาวพุทธอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาที่สุดในประเทศ มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ และสร้างแรงกระตุ้นให้กับพระพุทธศาสนาได้เบ่งบานอีกครั้ง หลังจากยุคของ ดร. บี. อาร์. อัมเบ็ดการ์ ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับพุทธศาสนิกชนในประเทศอินเดียจำนวนไม่น้อย ใน 2 ภารกิจสำคัญ คือ 1) การนำพระพุทธศาสนากลับคืนสู่ประเทศอินเดียอีกครั้ง 2) การสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ด้วยการนำชาวอินเดียนอกวรรณะให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม หลังจากที่ ดร.อัมเบ็ดการ์เสียชีวิตลง บทบาทของผู้ที่จะนำชาวพุทธใหม่ในประเทศอินเดียก็ดูจะมีความสำคัญเด่นชัดมากขึ้น ผู้นำถือเป็นผู้กำหนดทิศทางให้กับผู้คนหมู่มาก ด้วยบริบทสังคมอินเดีย ที่ปลูกฝังความเสมอภาค ความเท่าเทียมในสังคม การมีผู้นำชุมชนชาวพุทธที่มีศักยภาพ และทำงานร่วมกับคนหมู่มากในรูปแบบเครือข่ายได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้เขียนจึงนำเสนอเนื้อหา เกี่ยวกับผู้นำชาวพุทธที่เข้มแข็งกับการก่อร่างและการผลิบานของเครือข่ายชาวพุทธ</p> <p>&nbsp;</p> ณัฏฐกิตติ์ ชัยเฉลิมมงคล , ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/269929 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700