https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/issue/feed วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2025-04-26T00:00:10+07:00 พระมหาประกาศิต สิริเมโธ,ผศ.ดร. journalbudpan@gmail.com Open Journal Systems <p><strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> ISSN : 2465-5503 (พิมพ์) </span></span></strong><br /><strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> ISSN : 2630-0524 (ออนไลน์</span></span></strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> )</span></span></p> <p><strong> วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ </strong>เป็นวารสารด้านสังคมศาสตร์ <span style="vertical-align: inherit;">มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป </span>เปิดรับผลงานที่เป็นบทความวิชาการและบทความวิจัยในมิติด้านพระพุทธศาสนา ด้านศาสนศึกษา ด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรมศึกษา ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ด้านสังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ <span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"> <br /> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายใน หรือนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ บทความทีได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ต้องมีค่าความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat ในระบบ Thaijo ไม่เกิน 20% <br /></span></span></p> <p> </p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276560 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 2024-07-29T13:31:15+07:00 นฤมล ประเสริฐสังข์ 658210200203@rmu.ac.th ชยากานต์ เรืองสุวรรณ 658210200203@rmu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 38 คน และครู 293 คน รวม 331 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">สภาพปัจจุบันสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.46 – 0.59</li> <li class="show">แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 17 แนวทาง ได้แก่ 1) การทำงานเป็นทีม 5 แนวทาง 2) การบริการที่ดี 4 แนวทาง 3) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 4 แนวทาง และ 4) การพัฒนาตนเอง 4 แนวทาง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</li> </ol> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/283019 A PROCESS WRITING APPROACH MODEL COMBINED WITH THE EXIT TICKET CONCEPT TO FOSTER WRITING ABILITIES FOR GRADE 6 STUDENTS 2024-11-19T01:19:17+07:00 Rapin Chuchuen rapinchuchuen@gmail.com Kobkul Jaikwang rapin.c@rtu.ac.th Kanit Kongthong rapin.c@rtu.ac.th Waree Wongkhunnen rapin.c@rtu.ac.th <p>Writing is an essential communication skill that requires continuous development, particularly in educational settings where effective teaching strategies are crucial for supporting student learning. This study aimed to enhance the writing abilities of Grade 6 students by integrating the Process Writing Approach with Exit Tickets as a formative assessment tool. A total of 28 students, selected through cluster random sampling, participated in the study. Data were collected using writing lesson plans, pre-and post-tests, and interviews to gather insights into students' opinions. The results revealed a statistically significant improvement in students' writing skills (p &lt; .01) following the implementation of this approach. Exit Tickets provided real-time insights into student progress, enabling teachers to deliver timely and personalized feedback on key aspects of writing, such as topic selection, introductions, conclusions, and outlining. This method facilitated a systematic and effective development of students’ writing skills. Furthermore, most students described the approach as creative, practical, and easy to implement. However, challenges like internet connectivity issues and equipment limitations in online learning were noted. This study offers valuable insights for educators on integrating formative assessment tools like Exit Tickets into writing instruction. It also highlights the adaptability of this approach across diverse educational contexts to systematically and effectively enhance students' writing proficiency.</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/285251 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงาน บริษัทผลิตอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี 2025-03-06T02:24:41+07:00 ธนาพร อรุณสวัสดิ์ thanaporn.rmay@gmail.com ลัดดาวัลย์ สำราญ chueatamuen.p2630@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ของพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี และ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากพนักงานในบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี จำนวน 333 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของระดับความคิดเห็นของปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี อยู่ในระดับมาก นอกจากนั้น ผลการทดสอบสมมุติฐานยังพบว่า (1) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ด้านการใช้อิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา (2) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านโครงสร้างและกฎระเบียบ และด้านพันธกิจ (3) ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ได้แก่ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ด้านพัฒนาความสามารถของบุคลากร ด้านบูรณาการทางสังคม และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษานี้ผู้บริหารสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรีให้มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อไป</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/279151 การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย เพื่อนำสู่ผลสัมฤทธิ์แบบซอฟพาวเวอร์ 2025-02-25T23:04:17+07:00 พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ nnirun98@gmail.com พระภาวนาพิศาลเมธี Pali.2015kamaro@gmail.com พระครูพิบูลกิจจารักษ์ Pali.2015kamaro@gmail.com <p>บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทยเพื่อนำสู่ผลสัมฤทธิ์แบบซอฟพาวเวอร์” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย และเพื่อพัฒนาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทยเพื่อนำสู่ผลสัมฤทธิ์แบบซอฟพาวเวอร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสารด้วยเทคนิค 6’Cs และวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (Individual depth interview) กับพระวิปัสสนาจารย์พร้อมนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 8 รูป/ท่าน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า <br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1) วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ การเจริญสติตามฐานทั้ง 4 ได้แก่ (1) ฐานกาย (2) ฐานเวทนา (3) ฐานจิตตา และ (4) ฐานธรรม จนเห็นความเกิดขึ้น และเสื่อมไป ได้<br />2) วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย คือ 1. ใชัคำบริกรรมพุทโธ ควบคู่ไปลมหายใจ 2. ใช้สติที่อาการพองยุบของท้อง 3. ใช้สติตามดู ตามรู้ลักษณะอาการต่างๆ 4. ใช้การเพ่งแสงสว่างและภาพนิมิต และ 5. ใช้การเจริญสติที่ลมหายใจเข้าออก <br />3) การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมในสังคมไทยทั้ง 5 สาย ด้วยการพัฒนาสติให้มีกำลัง ดังนี้ 1.เว้นจากความเผลอ ความหลง ความเหม่อลอย 2.มีสติในทุกๆ อิริยาบถ 3.กำจัดความประมาท 4.ไม่ลืมเจริญสติปัฏฐาน 5.เป็นผู้อยู่โดยไม่ปราศจากสติ 6.ฝึกสติในรูปแบบให้ชำนาญ 7.เป็นผู้รู้สึกตัวได้ทันที และ 8.เป็นผู้เจริญสติอย่างต่อเนื่องจนเกิดวิปัสสนาปัญญาจนถึงขั้นบรรลุมรรค ผล นิพพาน</p> 2025-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/271478 การพัฒนาธรรมนูญตําบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนในอําเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 2025-02-24T21:21:23+07:00 สุเนตร ธนศิลปพิชิต sunait8888@gmail.com ไพทูรย์ มาเมือง sunait8888@gmail.com <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของประชาชนต่อการพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน ในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้และสารสนเทศธรรมนูญตำบลเพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน ในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือวิจัย คือ จากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ที่มาจากการคำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (1973) และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อความต้องการพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.67) 2)กระบวนการพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ สร้างการรับรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาธรรมนูญตำบล เปิดโอกาสให้มีการเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน กำหนดประเด็นในการยกร่างธรรมนูญตำบล กำหนดแนวทางการยกร่างธรรมนูญตำบล การจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันและการยกร่างธรรมนูญตำบล 3) การพัฒนาธรรมนูญตำบลเพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชนและหน่วยงานต่างๆ มีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน และมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและข้อปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276878 แนวทางการบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในการออกแบบ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมสมัยของชนกลุ่มน้อยในกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน 2024-04-26T23:53:25+07:00 ลู ซี่เวน 815595863@qq.com ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัต drnita2020@gmail.com <p>การวิจัยเรื่อง แนวทางการบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในการออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมสมัยของชนกลุ่มน้อยในกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของทุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชนกลุ่มน้อยในกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน (2) วิเคราะห์แนวทางการบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชนกลุ่มน้อยกวางสีในการออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมสมัย การศึกษา วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยวรรณกรรมจากเอกสารบทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของทุนทางวัฒนธรรมและการออกแบบภูมิทัศน์ วิเคราะห์แนวทางการบูรณาการของทุนวัฒนธรรมในการออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมสมัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงการบูรณาการภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมสมัยในการออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมสมัย จากการวิจัยได้ผลการวิจัยดังนี้ (1) ทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชนกลุ่มน้อยกวางสี มีคุณลักษณะของทุนทางวัฒนธรรม 3 ประการ คือ 1) ความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก 2) การบูรณาการและการสืบทอด และ 3) การอยู่ร่วมกันและการตอบแทนซึ่งกันและกัน และแนวปฏิบัติในออกแบบภูมิวัฒนธรรม มุ่งเน้นที่การคุ้มครองวัฒนธรรม และการบูรณาการเข้ากับสังคมใหม่ การมีส่วนร่วมและความร่วมมือด้านการศึกษา การฝึกอบรมจากสังคม องค์กรที่เกี่ยวข้อง (2) การสร้างแนวทางการบูรณาการทุนทางวัฒนธรรมในการออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมสมัยเป็นการจัดการที่เป็นระบบที่ต้องการการดำเนินการสร้างรูปแบบการบูรณาการ 3 ประการ คือ 1) การเปลี่ยนแปลงเชิงป้องกันวัฒนธรรม 2) การเปลี่ยนแปลงเชิงนวัตกรรมการผสมผสานวัฒนธรรมกับแนวคิดการออกแบบและเทคโนโลยีในการออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมร่วมสมัย 3) ความร่วมมือข้ามวัฒนธรรม ด้วยการผสมผสานวัฒนธรรมเชิงสหวิทยาการกับศิลปะและเทคโนโลยี มรดกวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอุตสาหกรรม การศึกษาและวัฒนธรรม</p> 2025-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276775 THE DEVELOPMENT TREND OF INTERNATIONAL EDUCATION IN CHINA AND THAILAND 2024-05-20T23:38:55+07:00 shaoyuan Zhao zsygf100@gmail.com Kumron Sirathanakul drnita2020@gmail.com <p>The concept of international education has gained significant attention in recent years as the world becomes more interconnected and globalized. China and Thailand have both made significant investments in their education systems, including a focus on internationalizing their education systems. This dissertation aims to explore the development trends of international education in China and Thailand, with a focus on the drivers, challenges, and strategies for developing international education in both countries. The study is based on a literature review of research studies, reports, and data on international education in both countries, as well as interviews with experts, policymakers, and practitioners in the field of international education. The findings of this study provide insights into the current state and future trends of international education in China and Thailand, and highlight the importance of comprehensive policies and effective strategies to overcome the challenges facing international education in both countries. In conclusion, this research provides a comprehensive comparative analysis of the development trends of international education in China and Thailand, shedding light on the similarities and differences in their international education landscape and offering valuable insights for policymakers, educators, and researchers. The findings have important theoretical and practical implications, as well as providing direction for future research and policy development in international education.</p> 2025-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/279268 ปัจจัยเชิงสาเหตุของความพร้อมทางการเงินที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ของวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย 2025-03-03T15:55:12+07:00 อรวิภา มากมิ่ง drnita2020@gmail.com สุพิน ฉายศิริไพบูลย์ ornwipa.m@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุของความพร้อมทางการเงินที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย 3) เพื่อสร้างแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุของความพร้อมทางการเงินที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ได้ดำเนินการทบทวนวรรณกรรมหรือแนวคิดทฤษฎีเพื่อสร้างแบบจำลองหรือกรอบแนวคิดก่อนที่จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีสำรวจ และวิเคราะห์ทางสถิติด้วยสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM)<br />ผลการศึกษา 1) ระดับความรอบรู้ทางการเงิน ภาวะผู้นำ โครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพร้อมทางการเงินขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ระดับความรอบรู้ทางการเงิน ภาวะผู้นำ โครงสร้างองค์กร และความพร้อมทางการเงินมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุของความพร้อมทางการเงินที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย พบว่า (1) ระดับความรอบรู้ทางการเงินมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพร้อมทางการเงินขององค์กรโดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.76 (2) ระดับความรอบรู้ทางการเงิน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.31 (3) ภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพร้อมทางการเงินขององค์กรโดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.71 (4) ภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 1.09 (5) โครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพร้อมทางการเงินขององค์กรโดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.76 (6) โครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 1.12 (7) ความพร้อมทางการเงินขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.84 3) แบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุของความพร้อมทางการเงินที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดย x2/df = 1.425, CFI = 0.98, GFI = 0.97, AGFI = 0.90, RMSEA = 0.04 </p> 2025-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/272488 แนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถในประเทศไทยเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2024-03-11T02:13:22+07:00 ธนเดช สงวนพันธุ์ AumDdriver@gmail.com ทักษญา สง่าโยธิน AumDdriver@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถในประเทศไทยเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถในประเทศไทยเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ศึกษาภาวะผู้นำในการพัฒนาธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถในประเทศไทยเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ปัจจัยความสำเร็จ และภาวะผู้นำ ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถในประเทศไทยเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 5) นำเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถในประเทศไทยเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการผสานวิธีโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงปริมาณ จำนวน 651 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย เชิงคุณภาพ ได้แก่ เจ้าของ ผู้บริหาร หรือครูผู้ฝึกสอนโรงเรียนสอนขับรถ เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก และผู้ใช้บริการ จำนวน 24 คน และผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 684 คน<br />ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ปัจจัยความสำเร็จ และภาวะผู้นำ ส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถในประเทศไทยเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า แนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงเรียนสอนขับรถในประเทศไทย เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยแนวทาง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอก 2) การตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3) การใช้คุณธรรมในการบริหารจัดการ และ 4) การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/273930 แนวทางการพัฒนาคุณค่าตราสินค้าของอาคารชุดที่อยู่อาศัยด้วยกลยุทธ์การตลาด การรับรู้คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาคารชุดที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2024-01-10T23:28:08+07:00 เสฎฐวุฒิ มัชฌิมารัตน์ Vice.president.mkt@gmai.com ภัครดา เกิดประทุม kruewan208@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับกลยุทธ์การตลาด การรับรู้คุณค่าตราสินค้า คุณค่าตราสินค้าและการตัดสินใจซื้ออาคารชุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การตลาด การรับรู้คุณค่าตราสินค้า และคุณค่าตราสินค้าของอาคารชุดที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลคุณค่าตราสินค้าต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาคารชุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณค่าตราสินค้าของอาคารชุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยผสมผสาน โดยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 500 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน <br />ผลการวิจัยเชิงปริมาณแสดงว่า โมเดลสมการเชิงโครงสร้างแบบจำลองอิทธิพลกลยุทธ์การตลาด การรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาคารชุดที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 83.313 ที่องศาอิสระเท่ากับ 64 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ0.053 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ1.302 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเท่ากับ0.984 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI)เท่ากับ 0.944 ค่าดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์เท่ากับ 0.025 <br />ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทุกท่านมีความเห็นตรงกันว่า 1) กลยุทธ์การตลาดส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าอาคารชุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) กลยุทธ์การตลาดส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าอาคารชุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) การรับรู้คุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าอาคารชุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4) คุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาคารชุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีแนวทางการพัฒนาคุณค่าตราสินค้าของอาคารชุดที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนี้ 1) ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ และ 2) การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านของเทคโนโลยีและวิถีใหม่ในการเดินทางของผู้บริโภค เครื่องมือในการตลาดดิจิทัลจึงมีความสำคัญ ผู้ประกอบการควรนำการสื่อสารการตลาดดิจิทัลมาใช้เป็นแนวทางในด้านการพัฒนากลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการสื่อสารในการพัฒนากลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นแบบแผนในการดำเนินธุรกิจต่อไป</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/273184 การพัฒนาบ้านธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ 2025-02-24T22:36:19+07:00 ธนวัฒน์ สิทธิใหญ่ Tanawat.s1965@gmail.com สมเดช มุงเมือง kruewan208@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาบ้านธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาบ้านธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนา บ้านธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 67 คน ได้แก่ 1) ผู้บริหารระดับสูงในจังหวัดลำพูน จำนวน 20 คน 2) ผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 20 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 27 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงนโยบาย ข้อมูลที่รวบรวมได้นำไปวิเคราะห์เนื้อหา <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาบ้านธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ มีศักยภาพและความพร้อมในการ ขับเคลื่อนภารกิจไปสู่เป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และการเข้าถึงโครงสร้างสาธารณะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาบ้านธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ การกำหนดทิศทางขับเคลื่อนนโยบายเมืองอัจฉริยะที่ชัดเจน การพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ การมีส่วนร่วมของประชาชนและการบูรณาการทุกภาคส่วน และ 3) แนวทางการพัฒนาบ้านธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ดังนี้ 1) ด้านการสร้างการเรียนรู้ให้กับประชาชน 2) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก 3) ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อมีทักษะสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี 4) การสื่อสารกับประชาชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อนำไปสู่ความอัจฉริยะในวิถีชีวิตของประชาชน และ 5) ด้านการดำเนินการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องร่วมมือกัน เพื่อให้การพัฒนาบ้านธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะอยู่บนพื้นฐานความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/272449 การถอดรหัสคำสำคัญมหาสติปัฏฐานสูตร 2023-11-02T09:07:57+07:00 สรัญญา โชติรัตน์ saranyar6363@gmail.com วิลาสีนี บุญธรรม saranyar6363@gmail.com วัชรี เลขะวิพัฒน์ saranyar6363@gmail.com อลิษา อินจันทร์ saranyar6363@gmail.com ประไพพรรณ กิ้วเกษม saranyar6363@gmail.com พระครูโสภณกิตติบัณฑิต (บุญเสริม ศรีทา) saranyar6363@gmail.com <p>งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์คำสำคัญจากวรรณกรรมปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องมหาสติปัฏฐาน 4 และเพื่อขยายความองค์ความรู้จากพระสูตรมหาสติปัฏฐาน 4 โดยอาศัยคำสำคัญ ระเบียบวิธีวิจัย โดยศึกษาจากผลงานวิจัยการสังเคราะห์งานเขียนทางพระพุทธศาสนา 100 เล่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นคำ 1,600 คำ โดยแจงนับกลุ่มคำสำคัญได้ 77 คำสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า การถอดรหัสคำสำคัญ 1) ด้านกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ประกอบร่วม 4 คำสำคัญ “สติ” “อานาปานสติ”“รูป” “กรรมฐาน” การพิจารณาฐานกาย “สติ” สำคัญที่สุด เป็นตัวนำไป เป็นกระบวนการปฏิบัติ อาศัยลมหายใจเข้าออกเป็นวัตถุพิจารณารูปกาย สู่ความรู้ตัวชัดตามอิริยาบถเพื่อสร้างสัมปชัญญะ การฝึกเป็นกรรมฐาน 2) ด้านเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ประกอบร่วม 4 คำสำคัญ “อายตนะ” “เวทนา” “ทุกขเวทนา” และ “สภาวธรรม” การพิจารณาฐานเวทนา คือ “อายตนะ” สำคัญที่สุด เป็นแดนเกิดเวทนา ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส และกายสัมผัส ใจกระทบอารมณ์ เกิดเป็นผัสสะ สัญญา และสังขาร ฝึกสติเห็นสภาวธรรม เพื่อออกจากอารมณ์จากทุกขเวทนา โดยวิธีการฝึกอุเบกขา 3) ด้านจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ประกอบร่วม 4 คำสำคัญ “จิตตภาวนา” “จิต” “จิตผู้รู้” “เจตสิก” การพิจารณาฐานจิต คือ “จิตภาวนา”สำคัญที่สุด เป็นตัวกำหนดจิต ให้จิตตั้งมั่นและมีพลังจิต โดยรับรู้เข้าใจอาการจิต ธรรมชาติจิต ตามเจตสิก เพื่อไปเป็นจิตผู้รู้ 4) ด้านธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ประกอบร่วม 4 คำสำคัญ “ไตรลักษณ์” “ธรรม” “ปัญญา” “นิพพาน” การพิจารณาฐานธรรม คือ “ไตรลักษณ์” สำคัญที่สุด นำเป็นธรรมเชื่อมโยง อาศัยโยนิโสมนสิการไปพิจารณาหลักธรรม อริยสัจ 4 และ มรรค 8 เพื่อได้ภาวนามยปัญญาจากการภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนา มุ่งให้สู่นิพพาน</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276561 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 2024-07-25T15:22:52+07:00 ปิยะนันท์ ศรีทา 658210200204@rmu.ac.th ชยากานต์ เรืองสุวรรณ 658210200204@rmu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) สร้างและประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 9 คน และครู 311 คน รวม 320 คน โดยวิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 สภาพปัจจุบันมีค่าอำนาจจำแนก 0.32–0.78 ค่าความเชื่อมั่น 0.92 สภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนก 0.51–0.88 ค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 สร้างและประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น มีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.47 – 0.53 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 3 หน่วย ได้แก่ สมรรถนะการใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางการพัฒนา 6 แนวทาง สมรรถนะการส่งเสริมสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวทางการพัฒนา 5 แนวทาง สมรรถนะการประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4 แนวทาง โดยมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กระบวนการพัฒนา มี 3 วิธี ได้แก่ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การวัดและประเมินผล และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/276795 การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2024-07-31T11:12:45+07:00 รุ่งฤดี บุญจันทร์ rungrudeeb19@gmail.com พจมาน ชำนาญกิจ rungrudeeb19@gmail.com ธนานันต์ กุลไพบุตร rungrudeeb19@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลัง ในการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลัง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้ศึกษาแนวคิดแนวคิดที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะครู แนวคิดการจัดการเรียนรู้และเทคนิคการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงรุกเป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จำนวน 8 โรงเรียน ในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายอุเทนโนนตาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 56 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบ สอบถาม 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย พบว่า ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodifies) ในภาพรวมทั้ง 3 ด้านคือ 1) ด้านเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) ด้านทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าเท่ากับ 0.58 2. รูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการนิเทศ และ 4) การวัดและประเมินผล และ 3. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลังเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย พบว่า 1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทยทั้ง 3 ด้าน หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อมีต่อการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/278293 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทผลิตอาหารแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี 2024-08-07T22:02:18+07:00 พัชณี เชื้อตาหมื่น chueatamuen.p2630@gmail.com ลัดดาวัลย์ สำราญ sampaio.fernando2023@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยความผูกพันองค์กร และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี และ (2) ศึกษาปัจจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลจากพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี จำนวน 333 ราย โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br />ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพในการการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐานยังพบว่า (1) ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบ (2) ปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านการบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน และด้านสภาพแวดล้อม (3) ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรได้แก่ ด้านความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร และด้านบรรทัดฐาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษานี้ผู้บริหารสามารถนําไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานให้สูงขึ้นต่อไป</p> 2025-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์