TY - JOUR AU - สามาอาพัฒ, วิจิตรา PY - 2021/09/01 Y2 - 2024/03/29 TI - การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus JF - วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ JA - jmbr VL - 6 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/250205 SP - 42-51 AB - <p>&nbsp;</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการความรู้ครูผู้สอนเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและเทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus ก่อนและหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนของครูด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus ตามเกณฑ์&nbsp; 75% 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แลนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้มาจากการวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 6 ชนิด ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ 2) แบบสังเกต 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 5) แผนการจัดการเรียนรู้ 6) แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ</p><p>ผลการวิจัยพบว่า</p><ol><li class="show">ครูผู้สอนมีพัฒนาการความรู้เกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและเทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus สูงกว่าก่อนการสร้างชุมชนการเรียนรู้</li><li class="show">ครูมีความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus อยู่ในระดับดีมาก</li><li class="show">นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 75 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับร้อยละ 80.85</li><li class="show">ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบ KWLH-Plus อยู่ในระดับมากที่สุด</li></ol><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาเป็นแนวทางในการพัฒนาครู เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างกัลยาณมิตร และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันระหว่างครูผู้สอน อันจะนำไปสู่การพัฒนาครู และพัฒนาผู้เรียน ในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสิ่งที่อ่านเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน</p> ER -