TY - JOUR AU - สร้างเอี่ยม, วรรณสิริ PY - 2019/12/27 Y2 - 2024/03/29 TI - หลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา JF - วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ JA - jmbr VL - 4 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/219000 SP - 517-526 AB - <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. องค์ประกอบหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2. ความแตกต่างของหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3. ผลการยืนยันหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1. แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2. แบบสอบถามความคิดเห็น 3. แบบสอบถามเพื่อยืนยัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 336 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน &nbsp;สถิติทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1). หลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ (1) หลักของการนิยามหน้าที่ (2) หลักของการคาดหวังความสำเร็จในการปฏิบัติ (3) หลักการใช้อำนาจและความรับผิดชอบ (4) หลักความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา (5) หลักของความรับผิดชอบของผู้มอบอำนาจ (6) หลักของสายบังคับบัญชา และ (7) หลักของข้อยกเว้น 2).ความแตกต่างหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเมื่อ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 องค์ประกอบคือ หลักของเอกภาพในการบังคับบัญชา และหลักของข้อยกเว้น&nbsp; และ 3). ผลการยืนยันหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์สอดคล้องกับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฏีของการวิจัย</p> ER -