TY - JOUR AU - Nuntapha, Chanchai PY - 2018/09/06 Y2 - 2024/03/28 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19: การบริหารการศึกษา JF - วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ JA - jmbr VL - 3 IS - 2 SE - บทความวิชาการ DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/141089 SP - 221-236 AB - <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน 4) เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน&nbsp; และ 5) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน โดยมีพื้นที่การศึกษาของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19&nbsp; กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 326 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Enter และวิธี Stepwise</p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย</strong></p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง (r=.621) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 2 ด้าน คือ ด้านการกำหนดเป้าหมายร่วมกันและสร้างความเข้าใจกับเป้าหมายนั้น (X<sub>2</sub>) และด้านการกำกับติดตามและจัดให้มีการสะท้อนผลกระบวนการเรียนการสอน (X<sub>3</sub>) โดยมีประสิทธิภาพการทำนายร้อยละ 43.50 (R<sup>2</sup>=.435) 5) สมการพยากรณ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน คือ = .450(X<sub>2</sub>)+.271(X<sub>3</sub>)</p> ER -