@article{เพี๊ยกเยียน_สุปภาโต_วุฒิพรโสภณ_2021, title={การสื่อสารภาพลักษณ์ทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการตลาดในชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม}, volume={6}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/250868}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ทางการตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการตลาดในชุมชนยายชา 2) เพื่อพัฒนาการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการตลาดในชุมชนยายชา 3) เพื่อนำเสนอการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการตลาดในชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเฉพาะ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า โดยใช้การสัมภาษณ์ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสำรวจความคิดเห็น  ทำการวิเคราะห์และสรุปผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ทางการตลาดของชุมชนประกอบด้วย 1) ด้านสินค้าหรือบริการที่จำหน่าย เช่น มีคุณภาพดี น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย มีเอกลักษณ์โดดเด่น 2) ด้านราคาสินค้าหรือค่าบริการมีความเหมาะสมและยุติธรรม 3) ด้านสถานที่จำหน่ายและระยะเวลาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด กิจกรรมการสื่อสารการตลาด อุปกรณ์ส่งเสริมการขายและการจัดวางสินค้า 5) ด้านการบริการ 6) ด้านการบริหารจัดการ</li> <li class="show">การพัฒนาภาพลักษณ์ทางการตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจของผู้บริโภค ประกอบด้วย 1) การโฆษณาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่สื่อถึงคุณภาพ ความสวยงาม และจุดเด่นของสินค้า 2) การประชาสัมพันธ์ ด้วยวิธีการเสนอข้อเท็จจริงเชิงบวก 3) การสื่อสารผ่านผู้ขาย พนักงานบริการทั้งหมดในตลาด และสื่อบุคคลอื่น 4) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายพิเศษ 5) การสื่อสารผ่านอัตลักษณ์ของชุมชน ด้วยการออกแบบลักษณ์ของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม อัตลักษณ์ของอาคาร สถานที่ การตกแต่ง บรรยากาศ ป้ายสัญลักษณ์ รวมถึงเครื่องแบบผู้ขาย ที่สื่อความหมายและสร้างความประทับใจในทิศทางที่ต้องการได้อย่างสอดคล้องกัน</li> <li class="show">รูปแบบการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจของกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการตลาดต้องจัดทำเป็นระบบ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ ด้วยการกำหนด 1) กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายและพฤติกรรมการบริโภค 2) วัตถุประสงค์ของการสร้างภาพลักษณ์ 3) กลยุทธ์การสื่อสารหรือเครื่องมือสื่อสารการตลาด ตามกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ พนักงานขาย เป็นต้น 4) กลยุทธ์การใช้สื่อ กิจกรรมและช่วงเวลาการใช้สื่อ 5) กลยุทธ์การนำเสนอสาร 6) วิธีการตรวจสอบ ประเมินผลภาพลักษณ์ตามเป้าหมายและการปรับปรุงแก้ไขในการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการตลาด</li> </ol>}, number={2}, journal={วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์}, author={เพี๊ยกเยียน องสมุห์ธนวัฒน์ and สุปภาโต พระปลัดประพจน์ and วุฒิพรโสภณ อุบล}, year={2021}, month={ก.ย.}, pages={167–181} }