@article{ญาณสมฺปนฺโน_ปโยโค_วรินฺโท_2020, title={ศึกษาวิเคราะห์ตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี}, volume={5}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/240742}, abstractNote={<p>วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องตบะคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี และ 3) เพื่อวิเคราะห์ตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา หนังสือ และเอกสารผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในลักษณะพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ตบะ เป็นหลักปฏิบัติที่พุทธศาสนิกจะต้องฝึกหัดพัฒนาตนมิให้ความชั่วทั้งหลายมาครอบงำจิตใจ คือการฝืนความต้องการของกิเสล ความชั่วร้ายต่างๆ ที่เผาจิตใจเรามาแสนนาน โดยการอดทนอดกลั้นต่อกิเลสที่มากระทบทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ และฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง มีการรักษาศีล การสำรวมอินทรีย์ และปฏิบัติตามหลักหลักศีล สมาธิ และปัญญาตามลำดับ เพื่อให้เกิดการรู้จริงเห็นแจ้งในมรรค</p> <p>2) คำสอนเรื่องตบะ ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี มีที่มาอยู่ ๒ ส่วน คือ ๑) ตบะในฐานะเป็นมงคล และ ๒) ตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี โดยทั้งสองส่วนนี้มุ่งเน้นไปที่การสำรวมอินทรีย์ (อินทรียสังวร) และการสร้างความเพียร (วิริยะ) เมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้วจะมีผลทั้งในระดับโลกียะและโลกุตตระอันเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา</p> <p>3) จากการวิเคราะห์ ตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี สามารถนำมาเป็นแนวทางพัฒนาชีวิตได้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายบรรพชิต ได้แก่ (1) การพัฒนาชีวิตส่วนตน (๒) การพัฒนาระหว่างอุปัชฌาย์-อาจารย์กับศิษย์ (๓) การพัฒนาการศึกษา และ (๔) เผยแผ่และปฏิบัติธรรม และ 2) ฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ (1) การพัฒนาชีวิตส่วนตน (2) การพัฒนาครอบครัว (3) การพัฒนาการทำงาน และ (4) การพัฒนาสังคม โดยเป้าหมายการพัฒนาชีวิตด้วยตบะ ก็เพื่อเป้าหมายในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) ในเบื้องหน้า (ส้มปรายิกัตถะ) และเป้าหมายสูงสุด (ปรมัตถะ)</p>}, number={1}, journal={วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์}, author={ญาณสมฺปนฺโน พระมหาเกริกสัน and ปโยโค พระปลัดสมชาย and วรินฺโท พระมหาวีรธิษณ์}, year={2020}, month={เม.ย.}, pages={43–52} }