Verbs in Wuming Zhuang: A Syntax-Semantics Interface Approach

Authors

  • Naruadol Chancharu University of Cambridge

Keywords:

คำกริยา, ภาษาจ้วงอู่หมิง, วากยสัมพันธ์, อรรถศาสตร์, ส่วนต่อประสานระหว่างวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์, verbs, syntax, semantics, syntax-semantics interface

Abstract

This present study offers a descriptive analysis of verbs in Wuming Zhuang (WZ), conducted by adopting a syntax-semantics interface approach. It addresses three important issues: identification of WZ verbs, their subclassification, and their lability and argument realisation. First, it is argued that WZ verbs are a category organised by the principles of prototype structure and family resemblance and marked by fuzziness. Some important characteristics of prototypical verbs in WZ are that they concern relations between temporal and causal sequences and exhibit tense/aspect/modality marking. Second, 23 subclasses of WZ verbs can be distinguished by their transitivity, the semantic roles taken by their arguments, and their lexical aspect. Third, a causative verb is identified as a transitive verb with agentive/patientive participation, while an inchoative verb is an intransitive verb with patientive participation. A labile verb then is a verb form that can be used both causatively and inchoatively. Moreover, it is proposed that the argument realisation of WZ verbs observes a hierarchy in which a syntactic relation hierarchically lower must encode a semantic role as high as or lower than the semantic role encoded by a hierarchically higher syntactic relation.

 

คำกริยาในภาษาจ้วงอู่หมิง: การศึกษาจากมุมมองของส่วนต่อประสานระหว่างวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์

นฤดล จันทร์จารุ

การศึกษานี้นำเสนอการวิเคราะห์กริยาในภาษาจ้วงอู่หมิงเชิงพรรณนา จากมุมมองของส่วนต่อประสานระหว่างวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ การศึกษานี้มุ่งตอบประเด็นปัญหาสำคัญสามประการ คือ การระบุชี้ การจัดประเภท และความสามารถในการเปลี่ยนสลับและปรากฏเป็นรูปของหน่วยร่วมแสดงของกริยา จากผลการวิจัยพบว่ากริยาในภาษาจ้วงอู่หมิงเป็นกลุ่มประเภทที่จัดเรียงโดยหลักการโครงสร้างต้นแบบและความคล้ายคลึงแบบครอบครัว และมีลักษณะเหลื่อมซ้อนกัน ลักษณะสำคัญบางประการของกริยาต้นแบบในภาษาจ้วงอู่หมิงคือ มีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างลำดับเหตุการณ์ทางเวลาและสาเหตุ และมีการระบุกาล/การณ์ลักษณะ/ทัศนภาวะ นอกจากนี้ ยังพบว่าสามารถแบ่งคำกริยาในภาษาจ้วงอู่หมิงออกเป็น 23 ประเภทย่อยได้ โดยดูจากกรรมสภาพ บทบาททางอรรถศาสตร์
ของหน่วยร่วมแสดง และการณ์ลักษณะประจำคำศัพท์ของกริยา ข้อค้นพบอีกประการหนึ่ง คือ สามารถระบุได้ว่ากริยาบอกการก่อเหตุคือสกรรมกริยาที่มีการร่วมเหตุการณ์แบบผู้กระทำ/ผู้ถูกกระทำ ในขณะที่กริยาบอกการเปลี่ยนสภาพคืออกรรมกริยาที่มีการร่วมเหตุการณ์แบบผู้ถูกกระทำ ดังนั้น กริยาที่เปลี่ยนสลับได้ก็คือรูปกริยาที่สามารถใช้ได้ทั้งสำหรับบอกการก่อเหตุและสำหรับบอกการเปลี่ยนสภาพ นอกจากนี้แล้ว การศึกษานี้ยังเสนอว่า การปรากฏเป็นรูปของหน่วยร่วมแสดงของกริยาในภาษาจ้วงอู่หมิงเป็นไปตามลำดับชั้น โดยความสัมพันธ์ทางวากยสัมพันธ์ที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า จะต้องเข้ารหัสบทบาททางอรรถศาสตร์ที่สูงเท่ากันหรือต่ำกว่าบทบาททางอรรถศาสตร์ ที่ถูกเข้ารหัสโดยความสัมพันธ์ทางวากยสัมพันธ์ที่มีลำดับชั้นสูงกว่าเท่านั้น

Downloads

How to Cite

Chancharu, N. (2016). Verbs in Wuming Zhuang: A Syntax-Semantics Interface Approach. Journal of Letters, 40(1), 70–99. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51394