พฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระเสียงก้องธรรมดาและสระเสียงก้องต่ำทุ้มในภาษาญัฮกุร (ชาวบน) ในคำพูดของผู้พูดกลุ่มอายุมากและกลุ่มอายุน้อย

Authors

  • ฉัตรียา ชูรัตน์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท) ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ภาษาญัฮกุร, ค่าความถี่มูลฐาน, ระดับเสียงสูง-ต่ำ และทิศทางการขึ้น-ตกของระดับเสียง, Nyah Kur, Fundamental frequency, Pitch height and contour

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระเสียงก้องธรรมดาและสระเสียงก้องต่ำทุ้มในภาษาญัฮกุร (ชาวบน) ออกเสียงโดยผู้พูดต่างกลุ่มอายุ ได้แก่ ผู้พูดกลุ่มอายุมาก และผู้พูดกลุ่มอายุน้อย กลุ่มอายุละ 5 คน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์ จากการวิจัย พบว่าพฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระเสียงก้องธรรมดาและสระเสียงก้องต่ำทุ้มเป็นไปในทิศทางเดียวกันในผู้พูดทั้งสองกลุ่มอายุ กล่าวคือค่าความถี่มูลฐานของสระเสียงก้องธรรมดามากกว่าค่าความถี่มูลฐานของสระเสียงก้องต่ำทุ้ม สะท้อนให้เห็นว่าสระเสียงก้องธรรมดามีระดับเสียงสูงกว่าสระเสียงก้องต่ำทุ้ม ทิศทางการขึ้น-ตกของระดับเสียงในผู้พูดทั้งสองกลุ่มอายุก็มีลักษณะเหมือนกัน กล่าวคือ สระเสียงก้องธรรมดามีลักษณะสูง-ตก ส่วนสระเสียงก้องต่ำทุ้มมีลักษณะต่ำ-ตก ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมา ในอนาคต หากภาษาญัฮกุร(ชาวบน) มีวิวัฒนาการกลายเป็นภาษามีวรรณยุกต์ที่ในระบบมี 2 หน่วยเสียงวรรณยุกต์ สระเสียงก้องธรรมดาซึ่งมีระดับเสียงสูงกว่าอาจนำไปสู่การเป็นวรรณยุกต์สูง และสระเสียงก้องต่ำทุ้มซึ่งมีระดับเสียงต่ำกว่าอาจนำไปสู่การเป็นวรรณยุกต์ต่ำ

 

Fundamental frequency behavior of clear-voiced vowels, and breathy-voiced vowels spoken by older and younger speakers in Nyahkur (Chaobon)

Charttreeya Churat

This study aims at investigating the fundamental frequency of clearvoiced vowels and breathy-voiced vowels in Nyah Kur (Chaobon) pronounced by older and younger speakers, each group consisting of five speakers. The findings show that the behavior of the fundamental frequency of clear-voiced vowels and that of breathy-voiced vowels is identical for both groups: the clear-voiced vowels have a higher fundamental frequency than breathy-voiced ones. This indicates that clear-voiced vowels tend to have a higher pitch than breathy-voiced vowels. In addition, the pitch contour of the older group is similar to that of the younger group, i.e. the pitch contour of the clear-voiced vowels is high falling, while the pitch contour of the breathy-voiced vowels is low-falling. The results of this study support the findings of other research reports. In the future, it is plausible that Nyah Kur (Chaobon) could become a tonal language with a two-tone system: present clear-voiced vowels with a higher pitch may possibly lead to a high tone and present breathy-voiced vowels with a lower pitch may evolve into a low tone.

Downloads

How to Cite

ชูรัตน์ ฉ. (2016). พฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระเสียงก้องธรรมดาและสระเสียงก้องต่ำทุ้มในภาษาญัฮกุร (ชาวบน) ในคำพูดของผู้พูดกลุ่มอายุมากและกลุ่มอายุน้อย. Journal of Letters, 40(1), 29–53. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51387