การตั้งคำถามเชิงวิพากษ์กับอัตลักษณ์เติร์กในเยอรมนี ในพระจันทร์กลืนดาว (Der Mond isst die Sterne auf) ของดีเลค ซาพท์จีโอกลู (Dilek Zaptcioglu)

Authors

  • ศิริพร ศรีวรกานต์ อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

วรรณกรรมสำหรับเยาวชน, การต่อรองอัตลักษณ์, คนเติร์กในเยอรมนี, ความรุนแรงข้ามพ้นพรมแดนเชื้อชาติ, นีโอนาซี, young adult novel, identity negotiation, Turks in Germany, violence beyond ethnic boundaries, neo-Nazis

Abstract

บทความเรื่องนี้ศึกษาวรรณกรรมสำหรับเยาวชนของเยอรมันเรื่อง พระจันทร์กลืนดาว (Der Mond isst die Sterne auf) ของดีเลค ซาพท์จีโอกลู (Dilek Zaptcioglu) ผู้ประพันธ์ผูกเรื่องให้ตัวบทดำเนินเรื่องในช่วงทศวรรษ 1990 อันเป็นระยะเวลาซึ่งโศกนาฏกรรมที่เคยเกิดขึ้นกับชาวยิวช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้หวนกลับมาสร้างความน่าสะพรึงกลัวให้แก่ชาวเติร์กในเยอรมนี คนเติร์กรุ่นพ่อมองปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติผู้มาอาศัยอยู่ในสังคมเยอรมันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวเติร์กในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับชาวยิวในอดีต กล่าวคือ มีการถูกกดขี่ในลักษณะคล้ายกัน ทำให้เขาประสบกับภาวะหลอนจากการยึดโยงชาวเติร์กเข้ากับชาวยิว และการยึดโยงความทรงจำเกี่ยวกับนาซีในอดีตเข้ากับนาซีใหม่หรือนีโอนาซี (Neo-Nazi) แม้จะดูเหมือนว่าตัวละครพ่อเป็นคนรุ่นเก่าที่ไม่สามารถต่อรองทางอัตลักษณ์ แต่อันที่จริงแล้วพ่อไม่ได้เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม พ่อมีความขัดแย้งในตนเอง เห็นได้จากการที่พ่อมีสองบ้าน พ่อแต่งงานและดำเนินชีวิตครอบครัวทั้งกับหญิงชาวเยอรมันและหญิงชาวเติร์กในเวลาเดียวกัน ตัวละครซึ่งเป็นตัวแทนของคนเติร์กรุ่นลูกที่แตกต่างไปจากคนรุ่นพ่อ ได้แก่ อัดนานกับเออเมอร์ ในขณะที่อัดนานรู้จักที่จะเล่นกับอัตลักษณ์และมีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อรองอัตลักษณ์เพื่อผลประโยชน์ เออเมอร์กลับถูกวางอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคดีความของพ่อหรือความรุนแรงทางชาติพันธุ์  นั่นอาจบ่งบอกว่าเขาไม่ได้ผูกโยงตนเองกับชาติพันธุ์และสามารถผูกสัมพันธ์ได้กับทุกคน ผู้วิจัยเสนอว่าผู้ประพันธ์ตั้งคำถามเชิงวิพากษ์กับอัตลักษณ์เติร์กโดยใช้กลยุทธ์การต่อรองอัตลักษณ์และพื้นที่ทางสังคมของตัวละครเติร์กในสังคมเยอรมัน ในการใช้กลยุทธ์ดังกล่าว ผู้ประพันธ์เสนอความรุนแรงข้ามพ้นพรมแดนเชื้อชาติและส่งเสริมให้เด็กเยอรมันรุ่นใหม่จับกลุ่มเป็นเพื่อนกันโดยไม่แบ่งแยกเขาแยกเราซึ่งจะช่วยลดทอนความแปลกแยกระหว่างคนต่างวัฒนธรรมในสังคมเยอรมันได้ในระดับหนึ่ง 

 

Problematizing Turk Identity in Germany in Dilek Zaptcioglu’s Der Mond isst die Sterne auf

Siriporn Sriwarakan

Lecturer, Department of Comparative Literature, Chulalongkorn University

This article explores Dilek Zapticioglu’s young adult novel, Der Mond isst die Sterne auf. The story is set in the 1990s when the same tragedy which had once happened to the Jews during World War II reoccurred and terrified the Turks in Germany. A Turkish character, as a father of the old migrant generation, finds the situation similar to that which happened to the Jews. In his view, Turkish migrants are persecuted in the same way as the Jews were by the Nazis; consequently, he is haunted by his thought of connecting the old Nazis to the neo Nazis and comparing the Turkish migrants with the Jews. It seems that the father character cannot negotiate with his identity. In fact, he can but he has a conflict with himself. This can be seen in his dual-family with two wives: one German and the other Turkish. His children, on the other hand, are different from their father. The two children characters, Adnan and Ömer, are representatives of the younger generation of German-Turks. Adnan is depicted as a figure who knows how to play upon identity and has tricks to negotiate with his identity for certain benefits. Ömer, on the other hand, is presented as an observer of all incidents, especially his father’s legal conflict and racial violence. This may suggest that Ömer is not bound to a Turk identity and is able to establish relationships with anyone. I argue that the author problematizes the Turk identity through the strategies of identity negotiation and making a social space for Turkish migrants in Germany. In doing so, the author deploys violence beyond ethnic boundaries and encourages German youth to have a close relationships with one another in order to eliminate the sense of alienation among people of different cultures in Germany.

Downloads

How to Cite

ศรีวรกานต์ ศ. (2016). การตั้งคำถามเชิงวิพากษ์กับอัตลักษณ์เติร์กในเยอรมนี ในพระจันทร์กลืนดาว (Der Mond isst die Sterne auf) ของดีเลค ซาพท์จีโอกลู (Dilek Zaptcioglu). Journal of Letters, 42(1), 215–247. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51121