The Trauma of Post-1998 Indonesian Horror Films
Keywords:
trauma, Indonesian horror films, the New Order, post New Order, violence, บาดแผลฝังจำ, ภาพยนตร์สยองขวัญอินโดนีเซีย, ยุคระเบียบใหม่, ยุคหลังระเบียบใหม่, ความรุนแรงAbstract
In the decade following the end of the New Order regime in 1998; feature film making in Indonesia returned to both productivity and popularity after a hiatus in the 1990s. Significantly; a third of all films produced over the last decade have been horror films. Almost all of these horror films have deployed the familiar kuntilanak ghost; a grotesque avenging female spirit whose desire for justice propels the film’s narrative. Whilst these horror films have been popular with audiences; critics have dismissed them as cheap; commercial; derivative and simplistic.
In this paper I argue that when post-1998 horror films are subjected to greater scrutiny; they reveal an insight into what haunts contemporary Indonesian society. By closely analyzing the narrative structure of these films; a temporal gap is evident between the original violent incident (rape; murder; suicide; generally ‘crimes of passion’) and the reappearance of the ghost. Typically the ghost lies dormant until disturbed by a group of unsuspecting Jakartan youths who then become entangled in her search for justice. In horror films pre-1998; neither this temporal gap existed nor did the mediating role played by youths.
By drawing on psychoanalytical film theory that analyses how horror films represent widely held social anxieties; I suggest that the popularity of horror films in post 1998 Indonesia indicates a broadly felt trauma about the unresolved violence of the New Order regime. At the visceral level; these stories of horror provide catharsis for audiences in post 1998 Indonesia through the re-enactment of the violence in the genre of horror. My analysis of these films also reveals a relationship between popular film; contemporary audiences and historical trauma.
บาดแผลฝังจำในภาพยนตร์สยองขวัญอินโดนีเซียหลังปี 1998
โธมัส บาร์คเกอร์*
* นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore)
ในช่วงหนึ่งทศวรรษหลังสิ้นสุดการปกครองของยุคระเบียบใหม่ (the New Order) เมื่อ ค.ศ. 1998 การสร้างภาพยนตร์ขนาดยาวในอินโดนีเซียกลับมาเฟื่องฟูและได้รับความนิยม อีกครั้งหลังจากหยุดชะงักในช่วงทศวรรษ 1990 น่าสังเกตว่าหนึ่งในสามของภาพยนตร์ทั้งหมดที่ถูกผลิตในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานั้นเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ ซึ่งภาพยนตร์แนวนี้เกือบทั้งหมดใช้ผี กุนทิลานัก (kuntilanak) ในการดำเนินเรื่องเล่าของภาพยนตร์ โดยผี กุนทิลานัก นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะวิญญาณหญิงพยาบาทผู้มาเรียกร้องขอความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ขณะที่ภาพยนตร์สยองขวัญเหล่านี้ได้รับความนิยมจากผู้ชม บรรดานักวิจารณ์กลับไม่ให้ความสนใจ เนื่องจากมองว่าภาพยนตร์เหล่านี้เป็นภาพยนตร์เกรดต่ำ มุ่งหวังแต่ผลกำไร ดาษดื่น และไม่มีความซับซ้อน
ในบทความนี้ผู้วิจัยต้องการชี้ให้เห็นว่าหากพิจารณารายละเอียดของภาพยนตร์ สยองขวัญหลังปี ค.ศ. 1998 อย่างลึกซึ้ง จะพบว่าภาพยนตร์เหล่านี้ช่วยเปิดเผยให้เข้าใจถึงสิ่งที่หลอกหลอนสังคมอินโดนีเซียร่วมสมัย การวิเคราะห์โครงสร้างเรื่องเล่าของภาพยนตร์อย่างละเอียดแสดงให้เห็นรอยแยกชั่วคราวที่ชัดเจนระหว่างเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น (อาทิ การข่มขืน ฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย หรืออาชญากรรมทั่วไปที่เกิดจากความรักความหึงหวง) กับการปรากฏตัวซ้ำของผี ซึ่งโดยปกติผีจะอยู่อย่างสงบจนกระทั่งถูกรบกวนจากกลุ่มเด็กวัยรุ่นชาวจาการ์ตาที่ต้องเข้ามาพัวพันกับการแสวงหาความยุติธรรมของผีด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่างไรก็ตาม รอยแยกชั่วคราวดังกล่าวหรือการรับบทบาทเป็นสื่อกลางของวัยรุ่นกลับไม่ปรากฏในภาพยนตร์สยองขวัญก่อนปี ค.ศ. 1998
ในการนำทฤษฎีภาพยนตร์เชิงจิตวิเคราะห์เข้ามาวิเคราะห์ว่าภาพยนตร์สยองขวัญเป็นภาพแทนของความวิตกกังวลที่แพร่หลายในสังคมได้อย่างไรนั้น ผู้วิจัยเสนอว่าความนิยมภาพยนตร์สยองขวัญในอินโดนีเซียช่วงหลังปี ค.ศ. 1998 ชี้ให้เห็นบาดแผลฝังจำ (trauma) ที่รู้สึกร่วมกันในวงกว้างเกี่ยวกับความรุนแรงของการปกครองในยุคระเบียบใหม่ที่ยังไม่คลี่คลาย เมื่อพิจารณาในแง่ของสัญชาตญาณ เรื่องราวสยองขวัญเหล่านี้ช่วยให้ผู้ชมยุคหลังปี ค.ศ. 1998 ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกผ่านทางความรุนแรงที่เกิดขึ้นซ้ำในภาพยนตร์แนวดังกล่าวด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์สยองขวัญจึงแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพยนตร์ยอดนิยม ผู้ชมร่วมสมัย และบาดแผลฝังจำทางประวัติศาสตร์
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright and plagiarism
Authors are responsible for obtaining permission to use copyrighted materials from copyright owners. Authors are responsible for observing requisite copyright law when quoting or reproducing copyrighted materials. Quotations and reproductions of content from other published sources must be accompanied by a reference and all sources should be clearly listed in the references section. Quotations and reproductions of content from external sources without due attribution could be considered a severe infringement of academic conduct and may constitute a legal offence under the Copyright Act of B.E. 2537. Any legal ramifications arising from the infringement of copyright regulations would be the sole responsibility of the author(s).