ดาหลังฉบับ “ทรงแปลงแต่งใหม่”
การดัดแปลงเรื่องดาหลังและวรรณศิลป์ในฐานะนิทานคำกลอน
คำสำคัญ:
ดาหลัง, นิทานคำกลอน, สมุดไทย, การดัดแปลง, วรรณศิลป์บทคัดย่อ
เรื่องดาหลังฉบับ “ทรงแปลงแต่งใหม่” เขียนในสมุดไทย 1 เล่ม เก็บรักษาอยู่ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่องดาหลังฉบับนี้แต่งเป็นนิทานคำกลอน มีเนื้อหาเริ่มจากอิเหนาลาบุษบาส้าหรีกลับไปเข้าเฝ้าท้าวกุเรปันจนถึงดะหมังลวงบุษบาส้าหรีไปฆ่า ในสมุดไทยมีโคลงกระทู้ระบุว่ากวี “ทรงแปลงแต่งใหม่” จากเรื่องดาหลังที่ใช้เล่นละครซึ่งน่าจะหมายถึงเรื่องดาหลังพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 เรื่องดาหลังฉบับ “ทรงแปลงแต่งใหม่” นี้ สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ และผู้แต่งน่าจะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ด้วยเหตุที่เรื่องดาหลังฉบับ “ทรงแปลงแต่งใหม่” แต่งเป็นนิทานคำกลอนซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนว่ามีการนำรูปแบบนี้มาแต่งเรื่องดาหลัง อีกทั้งยังมีสำนวนแปลกต่างกับเรื่องดาหลังฉบับหลักคือเรื่องดาหลังพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 บทความนี้จึงมุ่งศึกษาการดัดแปลงเรื่องดาหลังและลักษณะทางวรรณศิลป์ของเรื่องดาหลังฉบับนี้ ในฐานะนิทานคำกลอน ผลการศึกษาพบว่า เรื่องดาหลังฉบับ “ทรงแปลงแต่งใหม่” มีเนื้อหาหลักตรงกับเรื่องดาหลังพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 แต่มีการดัดแปลงรายละเอียดเนื้อหาและลักษณะตัวละครให้ต่างออกไปหลายลักษณะ ทำให้ ปมขัดแย้งเกี่ยวกับความรักต่างศักดิ์เด่นชัดขึ้น เร้าอารมณ์สะเทือนใจของผู้อ่านผู้ฟัง และทำให้เรื่องราวชวนติดตามในฐานะวรรณกรรมเพื่อการอ่านการฟัง นอกจากนี้ เรื่องดาหลังฉบับนี้ยังประพันธ์ขึ้นอย่างมีวรรณศิลป์ ทั้งศิลปะการใช้ภาษาและศิลปะในการสอดแทรกคติคำสอน เรื่องดาหลังฉบับ “ทรงแปลงแต่งใหม่” นับเป็นเรื่องดาหลังสำนวนแปลกฉบับหนึ่งที่มีคุณค่าต่อวงวรรณคดีไทย ทั้งคุณค่าด้านวรรณคดีและคุณค่าด้านการขยายความรู้เกี่ยวกับประวัติวรรณคดีเรื่องดาหลังในสังคมไทยให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
References
ภาษาไทย
Anothai Jinaporn อโนทัย จินาพร. 1996. “Kan sueksa choeng wikhro bot lakhon phraratchaniphon rueang Dalang” การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทละครพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลัง [An Analytical Study of the Royal Version of Dalang]. Master’s thesis, Chulalongkorn University.
Cholada Ruengruglikit ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. 2006. Nangsue pralomlok thi khuenchue nai samai ratchakan thi 5 หนังสือประโลมโลกที่ขึ้นชื่อในสมัยรัชกาลที่ 5 [The Popular Tale Books in the Reign of King Rama V]. In Wannalada: Ruam botkhwam wichai lae botkhwam wichakan phasa lae wannakhadi Thai วรรณลดา: รวมบทความวิจัยและบทความวิชาการภาษาและวรรณคดีไทย. [Wannalada: A Collection of Academic and Research Articles on Thai Language and Literature], 245-277. Bangkok: Dissemination of Academic Work Project, Faculty of Arts Chulalongkorn University.
Damrongrachanuphap, Somdetphrachaoborommawongthoe Kromphraya ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. 1965. Tamnan lakhon Inao ตำนานละครอิเหนา [History of Inao Dance Drama] (4th ed.). Phra Nanakhon: Khlangwitthaya.
Damrongrachanuphap, Somdetphrachaoborommawongthoe Kromphraya ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. 1960. Nithan borannakhadi นิทานโบราณคดี [Tales Based on Archaeology]. Bangkok: Khasembannakit.
Peera Panarut พีระ พนารัตน์. 2019. Kromphra alak kap ngannangsue nai ratchasamnak Sayam กรมพระอาลักษณ์กับงานหนังสือในราชสำนักสยาม [Royal Scribes and Bookwork of the Siamese Royal Court]. Warasan phasa lae wannakhadi Thai วารสารภาษาและวรรณคดีไทย [Journal of Thai Language and Literature] 36(2): 110-163.
Phitthayalapphruethiyakon, Phraworawongthoe Krommamuen พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. 1974. Chumnum phraniphon khong Phraworawongthoe Krommamuen Phitthayalapphruethiyakon ชุมนุมพระนิพนธ์ของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร [The Collected Writings of Phraworawongthoe Krommamuen Phitthayalapphruethiyakon]. Bangkok: Rongphim Phrachan.
Phutthayotfachulalok, Phrabatsomdetphra พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ. 1956. Dalang ดาหลัง [Dalang]. Bangkok: Rungrueangtham.
Rueang Dalang Lem Sam (Phlat) เรื่องดาหลัง เล่ม 3 (พลัด) [Dalang, Volume 3 (Fragment)]. (n.d.). [Black Khoi Manuscript]. Klon Bot Lakhon กลอนบทละคร [Dance-Drama Play] (Number 364). National Library of Thailand, Bangkok.
Somrasmi Sindhuvanik โสมรัศมี สินธุวณิก. 2004. “Kan priapthiap rueang Dalang lae Inao kap rueang Panyi Malayu” การเปรียบเทียบเรื่องดาหลังและอิเหนากับเรื่องปันหยีมลายู [A Comparative Study on Panji Versions: Between Dalang, Inau and Panji Malay]. Master’s thesis, Silpakorn University.
Surapone Virulrak สุรพล วิรุฬห์รักษ์. 2004. Wiwatthanakan nattayasin Thai nai krung Rattanakosin phutthasakkarat 2325-2477 วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2477 [The Development of Thai Dance in the Rattanakosin Period from 2325-2477 B.E.]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Thaneerat Jatuthasri ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. 2018. “Muea koet ma pen sattri cha sanguan praweni hai chamsai”: Kannamsanoe tualakhon ying phuea son ying nai rueang Dalang phraratchaniphon ratchakan thi 1 “เมื่อเกิดมาเป็นสตรี จะสงวนประเวณีให้แจ่มใส”: การนำเสนอตัวละครหญิงเพื่อสอนหญิงในเรื่องดาหลังพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 [“Once One is Born a Woman, She Should be Careful to Preserve Her Purity”: Representation of Female Characters as Lessons for Women in Dalang by King Rama I]. Warasan Thai sueksa วารสารไทยศึกษา [Journal of Thai Studies] 14(2): 151-198.
Thaneerat Jatuthasri ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. 2019. Bot lakhon rueang Dalang chabap Muen Chamnian: Rueang Dalang samnuan kao thi phoeng phop บทละครเรื่องดาหลังฉบับหมื่นจำเนียร: เรื่องดาหลังสำนวนเก่าที่เพิ่งพบ [Bot Lakhon Rueang Dalang Chabap Muen Chamnian: The New Discovery of an Old Version of the Dalang] Warasan Aksorasat วารสารอักษรศาสตร์ [Journal of Letters], 48(2): 146-173.
Thaneerat Jatuthasri ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. 2020. Bot lakhon rueang Dalang chabap lekthi 35: Rueang Dalang samnuan Ayutthaya thi khat hai บทละครเรื่องดาหลังฉบับเลขที่ 35: เรื่องดาหลังสำนวนอยุธยาที่ขาดหาย [Bot Lakhon Rueang Dalang with the Given Number 35: A Missing Ayutthaya Version of the Dalang]. Warasan sinlapasat maha witthayalai Maejo วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [Journal of Liberal Arts, Maejo University] 8(1): 46-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
การป้องกันปัญหาด้านลิขสิทธิ์และการคัดลอกผลงาน
ผู้เขียนบทความมีหน้าที่ในการขออนุญาตใช้วัสดุที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้เขียนบทความมีความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการคัดลอกและทำสำเนาวัสดุที่มีลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด การคัดลอกข้อความและการกล่าวพาดพิงถึงเนื้อหาจากวัสดุตีพิมพ์อื่น ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มากำกับและระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจนในส่วนบรรณานุกรม การคัดลอกข้อความหรือเนื้อหาจากแหล่งอื่นโดยไม่มีการอ้างอิงถือเป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการที่ร้ายแรง และเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีใด ๆ เกิดขึ้น ผู้เขียนบทความมีความรับผิดชอบทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว