การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและองค์ประกอบของฉากสวรรค์ ในภาพโอโจโยฌูสมัยเอโดะและภาพไตรภูมิสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
คำสำคัญ:
สวรรค์, โอโจโยฌู, ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา, เอโดะ, รัตนโกสินทร์ตอนต้นบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องคติความเชื่อเรื่องสวรรค์ผ่านการแสดงออกในงานจิตรกรรมของญี่ปุ่นและไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อและการนำเสนอภาพสวรรค์ในงานจิตรกรรมของญี่ปุ่นและไทย โดยศึกษาผลงานภาพภูมิทั้ง 6 และภาพโอโจโยฌูสมัยเอโดะในกรณีของญี่ปุ่น และศึกษาภาพไตรภูมิสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในกรณีของไทย ในบทความชิ้นนี้จะนำเสนอผลการวิจัยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับภาพโอโจโยฌูและภาพไตรภูมิ ผลการศึกษาพบว่า กรณีของประเทศญี่ปุ่น ในสมัยเอโดะยังคงพบฉากสวรรค์ในฐานะภูมิทั้ง 6 และยังพบองค์ประกอบที่แสดงความทุกข์ของชาวสวรรค์ ทั้งยังพบการใช้ภาพเทพสวรรค์ในบริบทใหม่แทรกไว้ในฉากพิพากษากรรมและฉากนรก กรณีประเทศไทย ภาพไตรภูมิสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไม่พบองค์ประกอบที่แสดงความทุกข์ แต่นิยมเขียนรายละเอียดของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บางกรณีเขียนฉากสวรรค์ผสมผสานกับเรื่องพุทธประวัติด้วยแต่เมื่อสำรวจเพิ่มเติมในภาพพุทธประวัติของญี่ปุ่นกลับพบผลงานที่วาดตอนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์น้อยมาก เมื่อศึกษาการนำเสนอ “สวรรค์” ในงานเขียนทางพระพุทธศาสนาพบว่า กรณีของญี่ปุ่น การนำเสนอเรื่องสวรรค์ในงานเขียนสมัยเอโดะประกอบไปด้วยคติความเชื่อทั้งพระพุทธศาสนา ลัทธิเต๋า-ขงจื่อ ส่วนกรณีของไทย สันนิษฐานว่าคติเรื่องสวรรค์เป็นสุคติภูมิและคติพระอินทร์ที่เกี่ยวกับการแสดงบารมีความชอบธรรมน่าจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่เขียนองค์ประกอบที่แสดงความทุกข์บนเทวโลก
References
ภาษาไทย
Chatri Prakitnonthakan ชาตรี ประกิตนนทการ. 2015. Kanmuang nai sathapattayakam samai ratchakan thi 1 การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 [Politics in Architectures in Rama I Period]. Bangkok: Matichon.
Fine Arts Department กรมศิลปากร (Ed.). 1977. Triphum lokawinitchayakatha chabap thi 2 (Triphum chabap luang) lem 3 ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ฉบับที่ 2 (ไตรภูมิฉบับหลวง) เล่ม 3 [Triphum Lokawinitchayakatha 2nd Edition (Triphum Royal Edition) Vol. 3]. Bangkok: Fine Arts Department.
Mural Painting of Triphum [Painting]. (n.d.-a). Dusidaram Worawihan Temple, Bangkok.
Mural Painting of Triphum [Painting]. (n.d.-b). Maithepnimit Temple, Bangkok.
Mural Painting of Triphum [Painting]. (n.d.-c). Thong Thammachat Worawihan Temple, Bangkok.
Namsai Tantisuk น้ำใส ตันติสุข. 2019. Chak sawan nai pab phum thung hok rawang yuk klang tueng yuk ton korn samai mai nai pratet yiipun ฉากสวรรค์ในภาพภูมิทั้ง 6 ระหว่างยุคกลาง-ต้นยุคก่อนสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น [Images of Heaven in Japanese Paintings of the Six Realms between Medieval and the Beginning of Early Modern Periods]. Warasarn mahawittayalai sinlapakorn วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร [Silpakorn University Journal] 39(5): 1-21.
Namsai Tantisuk น้ำใส ตันติสุข. 2020. Kor sangket rueng “sawan” nai ngan jittragam waduai pobphum lae puttaprawat nai pratet yiipun lae pratet thai ข้อสังเกตเรื่อง “สวรรค์” ในงานจิตรกรรมว่าด้วยภพภูมิและพุทธประวัติในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย Remarks on “Heaven” from the Paintings of Realms and Buddha’s Life in Japan and Thailand. In Karn prachum vichakarn radab chat kruekai kwarm ruammue wichakarn-wijai sai manutsayasat lae sangkommasat krung thi 13 wan thi 17–18 kanyayon 2563 “palang hang nawattakam manutsayasat lae sangkommasat” การประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายความร่วมมือวิชาการ-วิจัย สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 13 วันที่ 17–18 กันยายน 2563 “พลังแห่งนวัตกรรมมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” [Proceedings of the 13th National Conference of Humanities and Social Sciences (HUSOC) Network 17-18 September 2020 “Innovation Powered by Humanities and Social Sciences”], 155-182. Bangkok: Faculty of Humanities, Kasetsart University. https://sites.google.com/ku.th/human-husoc13/proceedingshusoc2020
Wilairat Yongrot วิไลรัตน์ ยังรอต. 1997. “Karn sueksa pab phum chakgrawarn chak pab chittragam fapanang samai rattanakosin ton ton nai khet krungthapmahanakorn”การศึกษาภาพภูมิจักรวาลจากภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร [A Study on Cosmo-geography in the Mural Paintings of Early Ratanakosin Period in Bangkok]. Master’s thesis, Silpakorn University.
ภาษาต่างประเทศ
Doi, Youko土井陽子. 2005. Machoufuzoku no fuukei: Kuonjishozou shakahassouzu wo itoguchi ni shite摩頂付属の風景-久遠寺所蔵釈迦八相図をいとぐちにして-[The Scene of Machoufuzoku: Using Shakahassou-zu of Kuon-ji as a Clue]. In Bunkashigaku no chousen文化史学の挑戦[Challenges in Cultural History], ed. Kasai Masaaki, 183-197. Kyoto: Shibunkakushuppan.
Jigoku-ezu 地獄絵図 [picture of hell] [Painting]. (n.d.). Senkou-ji Temple, Toyama.
Jigoku-zu 地獄図 [picture of hell] [Painting]. (n.d.). Joukoku-ji Temple, Chiba.
Kasuya, Makoto加須屋誠. 2017. “Kyuusai no butai” toshite no rokudou-e「救済の舞台」としての六道絵 [Rokudou-e as “a Stage of Salvation”]. In 1000 nenki tokubetsuten genshin jigoku gokuraku e no tobira 一〇〇〇年忌特別展 源信 地獄極楽への扉 [Millennial Memorial Exhibition: Imagining the Afterlife – Hells and Paradise Envisioned by the Buddhist Prelate Genshin], ed. Nara National Museum, 246-250. Nara: Nara National Museum and the Asahi Shimbun.
Nakano, Genzou中野玄三. 1989. Rokudou-e no kenkyuu 六道絵の研究 [The Art of the Pictures of the Six Realms]. Kyoto: Tankosha.
National Institute of Japanese Literature 国文学研究資料館編 (Ed.). 2000. Chuusei butsuden shuu中世仏伝集 [The Compilation of the Life of Buddha in Medieval Period]. Kyoto: Rinsen Shoten.
Oujouyoushuu-e 往生要集絵 [Oujouyoushuu Painting] [Painting]. (n.d.). Daikaku-ji Temple, Hyougo.
Shimbo, Tooru 真保亨. 1978. Butsudenzu 仏伝図 [Scenes from the Life of Buddha]. Tokyo: Mainichi Shimbunsha.
Takaoka Municipal Museum 高岡市立博物館編 (Ed.). 1993. Ecchuu ko ji no shihou Tokubetsuten Senkouji no bunkazai越中古寺の至宝 特別展 千光寺の文化財 [Treasure in Ecchuu Special Exhibition Cultural Properties of Senkouji]. Toyama: Takaoka Municipal Museum.
Tantisuk, Namsai タンティスック・ナムサイ. 2016. “Kinsei no oujouyoushuu-e no zuyou tokousei: Meikai no imeiji-ron” 近世の往生要集絵の図様と構成 : 冥界のイメージ論 [Motif and Composition of Oujouyoushuu Paintings in Early Modern Japan: An Analysis of Images of the Underworld]. Doctoral dissertation, Osaka University.
Yamamoto, Youko山本陽子. 2006. Shoujuraigoujibon rokudou-e “tendou” fuku shoukou 聖衆来迎寺本六道絵「天道」幅小考 [On the Hanging Scroll of Tendou of Rokudou-e at Shouju-raigouji]. Bulletin of Meisei University Department of Japanese and Comparative Culture, School of Japanese Culture 14: 61-72.
Yokoyama, S., & Matsumoto, T. 横山重, & 松本隆信 (Eds.). 1979. Muromachi jidai monogatari taisei 室町時代物語大成 [The Great Compilation of Muromachi Tales] (Vol. 7). Tokyo: Kadokawashoten.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
การป้องกันปัญหาด้านลิขสิทธิ์และการคัดลอกผลงาน
ผู้เขียนบทความมีหน้าที่ในการขออนุญาตใช้วัสดุที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้เขียนบทความมีความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการคัดลอกและทำสำเนาวัสดุที่มีลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด การคัดลอกข้อความและการกล่าวพาดพิงถึงเนื้อหาจากวัสดุตีพิมพ์อื่น ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มากำกับและระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจนในส่วนบรรณานุกรม การคัดลอกข้อความหรือเนื้อหาจากแหล่งอื่นโดยไม่มีการอ้างอิงถือเป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการที่ร้ายแรง และเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีใด ๆ เกิดขึ้น ผู้เขียนบทความมีความรับผิดชอบทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว