วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu <p><strong>วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</strong></p> <p> เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ</p> <p> ได้รับการประเมินการปรับกลุ่มคุณภาพวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ครั้งที่ 3 (2565-2567) อยู่ในกลุ่ม<strong>ฐาน 1 (TCI 1)</strong></p> <p> โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research paper) บทความวิชาการ (Academic article) และบทความปริทัศน์หนังสือ (Book Review)<br /> และเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ <strong>ISSN 2697-6358 (Online)<br /></strong> ตั้งแต่ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป</p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-center para-style-body"><span class="S1PPyQ"> <strong> วารสารเก็บค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ ภายหลังผ่านการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ (Initial review) ให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer review) 3,000 บาท/บทความ </strong>ตั้งแต่ 13 เมษายน 2566 เป็นต้นไป</span></p> <p><strong> </strong><strong>ความเป็นมา</strong></p> <p> คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะที่ผลิตบุคลากรทางด้านศิลปศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ทางด้านสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง คณะฯ จึงได้จัดทำวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยวารสารฉบับแรกได้จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สังคมในวงกว้าง</p> th-TH laubujournal@gmail.com (รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์) lajournal@ubu.ac.th (นางสาวปิยะนุช สิงห์แก้ว) Fri, 28 Jun 2024 16:24:37 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 เทคโนโลยีการฝากไข่ : ผู้หญิง ร่างกาย และการทำให้เป็นเรื่องชีวการแพทย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274502 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองผู้หญิงที่ตัดสินใจใช้เทคโนโลยีฝากไข่เพื่อยืดเวลาภาวะการเจริญพันธุ์ของตนเองด้วยหลายเหตุผล และวิเคราะห์บทบาทเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ตัวตน ชีวิตทางสังคม รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการฝากไข่ ข้อมูลในงานมาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการฝากไข่จำนวน 5 คน และผู้หญิงที่มีประสบการณ์ฝากไข่จำนวน 20 คน และวิเคราะห์ผ่านแนวคิดการทำให้เป็นเรื่องชีวการแพทย์ของวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุมากขึ้น </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การตัดสินใจฝากไข่ของผู้หญิงเชื่อมโยงกับการพัฒนาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ช่วยรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ในสตรีรวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคมวัฒนธรรม การทำงานของเทคโนโลยีมีส่วนจัดการร่างกายผู้หญิงให้คงความสามารถในการมีลูก เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการสร้างตัวตนและอัตลักษณ์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความปรารถนาของบุคคลและไม่ตายตัว อย่างไรก็ตาม แม้เทคโนโลยีการฝากไข่จะสร้างจินตนาการและมอบความหวังในการใช้ชีวิตทางสังคมแก่ผู้หญิง แต่เทคโนโลยียังสามารถผลิตความเสี่ยงผ่านกระบวนการทางการแพทย์ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและความรู้สึกของพวกเธอ ยิ่งกว่านั้น การฝากไข่แม้จะสร้างทางเลือกหรือขยายโอกาสแก่ผู้หญิงในการเจริญพันธุ์ และช่วยต่อรองกับความคาดหวังของสังคมเกี่ยวกับการเป็นแม่ของผู้หญิง แต่ทางเลือกที่ว่าอาจไม่ใช่สิ่งที่สะท้อนอำนาจในตัวเองของผู้หญิงทั้งหมด เพราะสุดท้ายแล้วทางเลือกของผู้หญิงยังขึ้นอยู่กับอำนาจทางสังคมและชนชั้นที่มีในสังคมด้วย</p> ปาณิภา สุขสม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274502 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 32 กับผลประโยชน์ ทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/275952 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กีฬาซีเกมส์เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชา ในการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 32 ด้วยการประยุกต์ กรอบแนวคิดบทบาทกีฬาในการเมืองรัฐ และการศึกษาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การเป็นเจ้าภาพซีเกมส์คือโอกาสสำคัญของนายกฯ ฮุนเซน ในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางการเมือง ได้แก่ 1) นำเข้านักกีฬาต่างชาติ เพราะเหรียญรางวัลเป็นผลงานเชิงประจักษ์ที่ช่วยสร้างคะแนนนิยม 2) เวทีหาเสียง ความประจวบเหมาะของช่วงเวลาแข่งขันเป็นโอกาสสำหรับการหาเสียงเพื่อการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 3) ความสัมพันธ์จีน-กัมพูชา ความร่วมมือในซีเกมส์เป็นโอกาสอันดีของกระชับความสัมพันธ์กับจีนซึ่งเป็นหุ้นส่วนสำคัญของนายกฯ ฮุนเซน 4) กระแสชาตินิยม การบรรจุกีฬาพื้นบ้านช่วยสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ขณะเดียวกันปัญหาความขัดแย้งกับไทยในกีฬามวยก็เสริมกระแสชาตินิยมอีกทางหนึ่ง รวมถึงมีการจัดการความขุ่นเคืองใจของประชาชนอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสวิจารณ์เรื่องราคาบัตรเข้าชมและจำนวนที่นั่งไม่เพียงพอกระทบการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น</p> จินตวัฒน์ ศิริรัตน์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/275952 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรชาวบ้านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดเชียงราย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/275017 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาชุมชนต้นแบบการพัฒนานวัตกรชาวบ้านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างนวัตกรชาวบ้านของชุมชนต้นแบบจังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อศึกษาเงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรชาวบ้านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีเครื่องมือหลักคือประเด็นการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาของชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 คน โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การค้นหาชุมชนต้นแบบใช้หลักการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาครัฐ ตัวแทนภาคประชาสังคม และภาคีภาคเอกชน รวมถึงภาคการศึกษา โดยมี 6 ชุมชนต้นแบบการพัฒนานวัตกรชาวบ้าน ปรากฏนิยามร่วมการพัฒนาศักยภาพบุคคลให้เป็นแกนนำ ผู้นำนักพัฒนาบนพื้นฐานทุนและภูมิปัญญาของชุมชนที่จะเป็น “นวัตกรชาวบ้าน” 2) กระบวนการสร้างนวัตกรชาวบ้านของชุมชนต้นแบบจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 2.1 กระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้ ภูมิปัญญา 2.2 กระบวนการทางสังคมของผู้นำ และ 2.3 กระบวนการเสริมพลังภาคีเครือข่าย และ 3) เงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรชาวบ้านสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3.1 องค์ความรู้ 3.2 ภาวะผู้นำกับการพัฒนา 3.3 การสร้างภาคีเครือข่าย และ 3.4 การพัฒนาองค์ความรู้การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดเชียงรายในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน</p> จามรี พระสุนิล, นพพร จันทรนำชู Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/275017 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 อุดมการณ์ชาตินิยมจีนในเพลงแดง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274283 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาอุดมการณ์ชาตินิยมจีนในเพลงแดงซึ่งเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน การเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมถึงสะท้อนภาพเหตุการณ์ทั้งในระหว่างเปลี่ยนแปลงการปกครองและหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือประเทศจีนใหม่ วิธีการศึกษากระทำโดยเก็บข้อมูลจากหนังสือ “เพลงแดงคลาสสิค 200 เพลง” 《经典红歌 200 首》และดำเนินการวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า เพลงแดงเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลจีนใช้สำหรับการสร้างอุดมการณ์ชาตินิยมจีน โดยเนื้อหาในเพลงส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือชื่นชมและสรรเสริญชาติจีน พรรคคอมมิวนิสต์ ผู้นำพรรค กองทัพแดง รวมถึงกรรมกรชาวนา ที่มีความศรัทธาในพรรคคอมมิวนิสต์และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประเทศจีนใหม่ อุดมการณ์ชาตินิยมจีนที่แฝงอยู่ในเพลงแดงมีทั้งสิ้น 4 ชุดความคิดหลัก คือ 1) อุดมการณ์สดุดีมาตุภูมิ 2) อุดมการณ์สดุดีพรรคคอมมิวนิสต์จีน 3) อุดมการณ์สดุดีทหารแดงหรือกองทัพแดงและ 4) อุดมการณ์เชิดชูผู้นำหรือบุคคลตัวอย่าง</p> <p>การเผยแพร่เพลงแดงที่แฝงไปด้วยอุดมการณ์ชาตินิยมจีนเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การสร้างชาติจีนใหม่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการปกครองของพรรค สร้างความสามัคคีให้คนในชาติ รวมถึงสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในชาติจีนภายใต้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม</p> เนตรน้ำทิพย์ บุดดาวงศ์, กนกพร นุ่มทอง, เมชฌ เมธจิรนนท์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274283 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์การประกอบสร้างวาทกรรมความเป็นชาติ ผ่านความรู้ทางศาสนาในแบบเรียนสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274957 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การธำรงรักษาความหมายและคุณค่าของความเป็นชาติไทยผ่านความรู้ทางศาสนาด้วยตัวบทในแบบเรียนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ตามแนวทางของแฟร์คลัฟ บนกรอบแนวคิดชุมชนจินตกรรมและแนวคิดอำนาจเหนือชีวิต จากตัวบทในแบบเรียนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่คัดเลือกในส่วนที่มีความสัมพันธ์กับศาสนาและชาติไทย จำนวน 13 เล่ม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า วาทกรรมในแบบเรียนได้สร้างความเป็นชาตินิยมทางวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นธำรงรักษาสถานะเดิมทางสังคมเอาไว้ โดยมีการใช้กลวิธีทางภาษาที่หลากหลายเพื่อถ่ายทอดวาทกรรมและอุดมการณ์ที่ซ่อนอยู่ในตัวบท ตลอดจนเปิดเผยภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมความเป็นไทย ว่าเป็นการสืบทอดจรรโลงเสาหลักของสังคมไทย อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรมไทย แบบเรียนมีผลต่อสังคม และอิทธิพลของสังคมก็ส่งผลต่ออุดมการณ์ในแบบเรียน โดยตัวบทแสดงให้เห็นว่าคนในสังคมยังเน้นการสืบสานและรักษาวัฒนธรรมไทย โดยอุดมการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในตัวบทของแบบเรียนสื่อไปยังผู้อ่านผ่านกลวิธีทางภาษาที่หลากหลายมีความสัมพันธ์กับบริบทที่รายล้อมตัวบทของแบบเรียน เนื่องจากแบบเรียนผลิตขึ้นภายใต้การดูแลของหน่วยงานภาครัฐ จึงทำให้แนวนโยบายต่าง ๆ ของรัฐ เข้าไปมีอิทธิพลต่อการสื่ออุดมการณ์ต่าง ๆ ในตัวบทแบบเรียน ซึ่งรัฐกำหนดให้เด็กทุกคนต้องเข้ารับการศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ จำเป็นต้องใช้แบบเรียนนั้นสามารถเข้าถึงแบบเรียนได้อย่างสะดวก อุดมการณ์ต่าง ๆ ในตัวบทแบบเรียนจึงแพร่กระจายไปสู่สังคมในวงกว้างได้</p> ปวินญาพัฒน์ วรพันธ์, ปริชัย ดาวอุดม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274957 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเปลี่ยนแปลงการรับรู้เรื่องพรรณไม้ใน อักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์: วิถีชีวิตชาวสยามที่สัมพันธ์กับพืชพรรณไม้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/270787 <p>บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัยเอกสารโดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องการรับรู้ของชาวสยามเรื่องพรรณไม้จากหนังสือชื่อ อักขราภิธานศรับท์<a href="#_ftn1" name="_ftnref1">[1]</a> ของหมอบรัดเลย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก การนำเสนอผลวิจัยการจำแนกพรรณไม้ในอักขราภิธานศรับท์ ประการที่สอง การนำเสนอคุณค่าของหนังสืออักขราภิธานศรับท์ในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับการรับรู้เรื่องพืชพรรณไม้ ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ชาวสยามแบ่งประเภทพรรณไม้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ พืชอาหาร สมุนไพร การใช้สอย และพืชป่า ประการที่สอง หนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ มีคุณค่าในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวสยามคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่สัมพันธ์กับพืชพรรณไม้ในลักษณะการพึ่งพาธรรมชาติทางด้านการดำรงชีวิต วัฒนธรรม และการค้าต่างภูมิภาคตามบริบทการค้าหลังสนธิสัญญาเบาริง พ.ศ. 2398 การสร้างคำอธิบายคำศัพท์พรรณไม้สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสังคมสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับพืชพรรณไม้ในสมัยนั้นและการรับรู้ด้านพื้นที่ของชาวสยาม ได้แก่ พื้นที่ภูมิศาสตร์ พื้นที่เพาะปลูกพรรณไม้ และพื้นที่ภูมิรัฐ </p> <p> </p> <p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1"></a> </p> สมศรี ชัยวณิชยา, มิตต ทรัพย์ผุด, วรรณภา ชำนาญกิจ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/270787 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ดิสโทเปียแห่งรัฐเผด็จการ: กรณีศึกษานวนิยายไทย ร่วมสมัยทศวรรษที่ 2560 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/272537 <p>ดิสโทเปียเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย โดยเฉพาะที่ปรากฏในนวนิยายทศวรรษที่ 2560 นวนิยายแนวนี้มักเป็นการสร้างสังคมแห่งรัฐเผด็จการ บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสังคมแห่งรัฐเผด็จการที่ปรากฏในนวนิยายไทยร่วมสมัยทศวรรษที่ 2560 ปรากฏผลการวิจัย ได้แก่ 1. การสร้างสังคมแบบพาราไดซ์ซิตี้: สังคมแห่งโรแมนติไซส์ของกลุ่มปรสิต 2. การสร้างสังคมแบบคอมมูน: สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยความเป็นชาย 3. การสร้างสังคมแบบสยามอลังการ: สังคมแห่งการแบ่งแยกชนชั้น 4. การสร้างสังคมแบบอัลไตวิลล่า: สังคมแห่งสายเลือดแท้ และ 5. การสร้างสังคมแบบนิวเมโทรโพลิส : รัฐเผด็จการผ่านอำนาจของผู้ชาย</p> <p> สังคมดิสโทเปียที่ปรากฏในนวนิยายทศวรรษที่ 2560 เสนอให้เห็นความเป็นไปได้ของปัญหาบางประการในสังคมที่มีโอกาสขยายใหญ่ขึ้น เป็นเรื่องเล่าที่สัมพันธ์กับปัญหาต่าง ๆ ในสังคมไทยช่วงทศวรรษที่ 2560 เรื่องเล่าเหล่านี้จึงเป็นคำเตือนถึงสังคมไม่ให้ดำเนินไปในจุดที่เลวร้ายมากขึ้น</p> ศิวกร แรกรุ่น, พัชลินจ์ จีนนุ่น, สมิทธ์ชาต์ พุมมา Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/272537 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาลาวเบื้องต้นในฐานะวิชาเลือก ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างปีการศึกษา 2560-2562 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/267327 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาลาวเบื้องต้นฐานะวิชาเลือกของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างปีการศึกษา 2560-2562 ตามหลักการสะกดคำตามอักขรวิธีลาว การใช้คำลาวและการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากชิ้นงานการเขียนบรรยายเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาภาษาลาวเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง 372 ชิ้นงาน ใน 3 หัวข้อ คือ การเขียนเรื่องความประทับใจ เรื่องตลกและเรื่องอวยพร วิเคราะห์และหาค่าความถี่แล้วจัดลำดับความมากน้อย ผลการศึกษาพบว่า ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาลาวเบื้องต้นฐานะวิชาเลือก มีข้อผิดพลาดทั้งหมดจำนวน 1,759 จุด ปรากฏ 4 ลักษณะ ซึ่งลักษณะที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุดคือ การสะกดคำ รองลงมาคือ การเขียนภาษาลาวโดยใช้ถ้อยคำเป็นภาษาไทย ระดับปานกลางคือ การเขียนภาษาลาวโดยสะกดตามอักขรวิธีของภาษาไทย และน้อยที่สุดคือข้อผิดพลาดในการใช้คำ ด้านการสะกดคำมี 3 ลักษณะ ซึ่งมีข้อผิดพลาดมากที่สุดคือ การเขียนสระ รองลงมาคือ พยัญชนะ และน้อยที่สุดคือวรรณยุกต์ ด้านการเขียนพยัญชนะ การเขียนรูปพยัญชนะต้นผิดพลาดมากกว่าการเขียนรูปพยัญชนะท้าย พยัญชนะต้นที่มักเขียนผิดมี 24 ตัว เขียนผิดพลาดมากที่สุดคือ ລ รองลงมาคือ ຮ ระดับปานกลาง ได้แก่ ຂ ມ ຢ ອ ຊ ຍ ໜ ຫຼ ໝ ຖ ທ น้อยที่สุด คือ ສ ຫງ ส่วนพยัญชนะท้ายเขียนผิดพลาดมากที่สุดคือ ນ รองลงมา คือ ງ ปานกลาง ได้แก่ ມ ກ ດ ບ น้อยสุดคือ ວ ด้านการเขียนสระ เขียนผิดมากที่สุด คือ ເອົາ รองลงมาคือ ອໍ ອື ระดับปานกลาง ได้แก่ ອີ ເອີ ໄອ ໃອ ເອຍ ອົວ ອິ ອະ น้อยที่สุด คือ ອຶ และ ເອາະ ด้านการเขียนวรรณยุกต์ มีข้อผิดพลาดมากที่สุดคือ การเขียนคำโดยใช้รูปวรรณยุกต์ผิด ด้านการเขียนภาษาลาวโดยใช้ถ้อยคำเป็นภาษาไทย ใช้มากที่สุดคือ วลี การเขียนภาษาลาวโดยสะกดตามอักขรวิธีของภาษาไทย คำที่มักสะกดผิด คือ คำที่มีสระ เอีย เอยและอักษรควบกล้ำ ส่วนข้อผิดพลาดในการใช้คำ คำที่มักใช้ผิด คือคำว่า ​ປີ້ (ตั๋ว) ຂ້ອຍ (ฉัน) ​ເລື່ອງ (เรื่อง)</p> ลอยลุนันท์ อุดมญาติ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/267327 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาแนวทางพัฒนาการสอนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานผ่านการแก้ไขข้อผิดพลาดของการใช้ภาษาในชั้นเรียน: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/271322 <p>งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาหาข้อมูลเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหากิจกรรมและวิธีการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐานเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำความรู้พื้นฐานต่อยอดในวิชาทักษะทางด้านต่างๆ ต่อไป โดยสำรวจปัญหาและอุปสรรคภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนระดับพื้นฐาน สำรวจการแก้ไขข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาในชั้นเรียนที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และศึกษาความถี่ของการใช้การแก้ไขข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาของผู้สอนจากมุมมองผู้เรียน โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปี 1 ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐาน จำนวน 51 คน</p> <p>ผลสำรวจพบว่าการจำตัวอักษรคันจินั้นเป็นอุปสรรคและปัญหาของผู้เรียนมากที่สุดตามด้วยการเรียงประโยคแบบ S O V คำช่วยในภาษาญี่ปุ่นและการผันรูปของคำประเภทต่างๆ ในภาษาญี่ปุ่นตามลำดับ ในส่วนของการแก้ไขข้อผิดพลาดประเภทที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนและประเภทที่ผู้สอนใช้มากที่สุดคือ Explicit correction เนื่องจากเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดของการใช้ภาษาในชั้นเรียนแบบ Input ในแง่มุมของผู้เรียนนั้นเป็นวิธีที่รับรู้ข้อมูลได้ทันทีว่าตนเองได้รับการแก้ไขจากผู้สอนและยังมีข้อมูลที่ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่พูดผิด ประเภทที่มีผลต่อการเรียนรู้น้อยที่สุดคือ Clarification request ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาของผู้เรียนพบว่าผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นจะเกิดปัญหาและอุปสรรคด้านการเรียงประโยคของภาษาญี่ปุ่นมากกว่าผู้ที่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น และยังพบว่าการแก้ไขข้อผิดพลาดแบบ 'Elicitation' เป็นประเภทที่มีผลต่อการเรียนรู้มากที่สุดสำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น</p> วลี รุ่งรัตน์ธวัชชัย Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/271322 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 “ทวงคืนค่ารอบ”: ทำความเข้าใจการลุกฮือของแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารผ่านความสัมพันธ์อันเป็นปฏิปักษ์ ระหว่างทุนกับแรงงาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274646 <p>ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562-2566) การประท้วงของแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารเกิดขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ บทความนี้ต้องการทำความเข้าใจรากลึกที่ผลักดันให้เกิดการประท้วง บทความเสนอว่า การลุกฮือของแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหาร เกิดจากผลประโยชน์พื้นฐานที่สวนทางกันระหว่างบริษัทแพลตฟอร์มส่งอาหารกับแรงงงาน หรือระหว่างทุนกับแรงงาน ซึ่งในบทความนี้เรียกว่า ความสัมพันธ์อันเป็นปฏิปักษ์ บทความเกิดจากการสำรวจเอกสาร เน้นงานสายมาร์กซิสต์ นับจากงานของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx, 1818-1883) (Marx, 1976/1867) งานคลาสสิกที่สืบเนื่องจากมาร์กซ์ และเอกสารที่ปรากฏในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในกลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง และสังคมวิทยาแรงงาน บทความเสนอสาระสำคัญของทฤษฎีกระบวนการแรงงาน ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิดความสัมพันธ์อันเป็นปฏิปักษ์ ประเด็นทวิลักษณ์ของการควบคุมและต่อต้าน และแนววิเคราะห์ทรัพยากรอำนาจ ตอนท้ายของบทความนำแนวคิดทั้งหมดมาใช้กับกรณีของไทย วิเคราะห์ที่มาของการประท้วง และแนวทางสร้างอำนาจต่อรองของแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหาร บทความนี้ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการหักล้างข้ออ้างของบริษัทแพลตฟอร์มที่ใช้ในการปกป้องผลประโยชน์ และเป็นประโยชน์ทั้งต่อทุน แรงงาน และธุรกิจแพลตฟอร์ม ในการเข้าใจสถานการณ์ และกำหนดนโยบาย หรือจัดการความขัดแย้งที่กำลังเพิ่มมากขึ้น</p> พฤกษ์ เถาถวิล, วรดุลย์ ตุลารักษ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274646 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700