วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu <p><strong>วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</strong></p> <p> เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ</p> <p> ได้รับการประเมินการปรับกลุ่มคุณภาพวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ครั้งที่ 3 (2565-2567) อยู่ในกลุ่ม<strong>ฐาน 1 (TCI 1)</strong></p> <p> โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research paper) บทความวิชาการ (Academic article) และบทความปริทัศน์หนังสือ (Book Review)<br /> และเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ <strong>ISSN 2697-6358 (Online)<br /></strong> ตั้งแต่ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป</p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-center para-style-body"><span class="S1PPyQ"> <strong> วารสารเก็บค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ ภายหลังผ่านการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ (Initial review) ให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer review) 3,000 บาท/บทความ </strong>ตั้งแต่ 13 เมษายน 2566 เป็นต้นไป</span></p> <p><strong> </strong><strong>ความเป็นมา</strong></p> <p> คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะที่ผลิตบุคลากรทางด้านศิลปศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ทางด้านสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง คณะฯ จึงได้จัดทำวารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยวารสารฉบับแรกได้จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สังคมในวงกว้าง</p> คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี th-TH วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 1686-5596 มองไร่อ้อยแต่ไม่ได้เห็นแค่ “อ้อย”: เครือข่ายอ้อยจังหวัดมุกดาหารในมนุษยสมัยจากมุมมองทางภูมิศาสตร์มนุษย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/276753 <p>การทำความเข้าใจวิกฤติของระบบนิเวศด้วยมโนทัศน์มนุษยสมัยมักตั้งคำถามจากความรู้ในลักษณะของศาสตร์แบบผู้เชี่ยวชาญและอธิบายปัญหาวิกฤติเชิงนิเวศโดยมุ่งเป้าไปที่มนุษย์ทุกคนอย่างเหมารวม อีกทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเกษตรอ้อยในปัจจุบันก็ถูกนำเสนอต่อสาธารณชนในลักษณะเช่นเดียวกับการนำเสนอวิกฤติของระบบนิเวศด้วยมโนทัศน์มนุษยสมัย บทความนี้ต้องการเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนคำอธิบายเพื่อแสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ในการทำความเข้าใจปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ในสังคมและระบบนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประกอบสร้างเครือข่ายอ้อยจังหวัดมุกดาหารในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติและศึกษาเครือข่ายอ้อยจังหวัดมุกดาหารในฐานะส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ในมนุษยสมัย โดยนำแนวคิดภูมิศาสตร์แบบโลกพันทางและมโนทัศน์ยุคสมัยแห่งทุนมาใช้ในการทำความเข้าใจข่ายใยความสัมพันธ์ในลักษณะวัฒนธรรมชาติที่ผู้กระทำการทั้งที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์มีปฏิบัติการร่วมกันในแต่ละพื้นที่และเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปนำไปสู่การทำความเข้าใจกระบวนการประกอบสร้างเครือข่ายอ้อยจังหวัดมุกดาหาร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสารเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> จากการศึกษาพบว่า กระบวนการร่วมกันประกอบสร้างเครือข่ายอ้อยจังหวัดมุกดาหารของมนุษย์และที่ไม่ใช่มนุษย์มีเป้าประสงค์เพื่อให้อุตสาหกรรมการเกษตรอ้อยสามารถเข้ากับเงื่อนไขแบบเสรีนิยมใหม่และปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในเครือข่ายอ้อยจังหวัดมุกดาหารเป็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเกษตรในจังหวัดมุกดาหารที่มีลักษณะของยุคสมัยแห่งการเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งไปกันได้ดีกับมโนทัศน์ยุคสมัยแห่งทุน</p> ธนานนท์ โสมอ่อน ชยา วรรธนะภูติ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 1 41 เสียงร่ำไห้จากป่าดงหมู: ความจนและความทุกข์ตรมทางอารมณ์จากการแย่งยึดที่ดิน กรณีนโยบายทวงคืนผืนป่า ป่าดงหมู แปลง 2 จังหวัดมุกดาหาร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/278430 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากนโยบายทวงคืนผืนป่าในฐานะที่เป็นกระบวนการสะสมทุนโดยการแย่งยึดที่ดินว่า เป็นปมปัญหาของความยากจนและความทุกข์ตรมทางอารมณ์อย่างไร ข้อมูลในงานศึกษามาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 50 ครอบครัว อายุระหว่าง 30 -75 ปี เป็นเพศชาย 15 คน เพศหญิง 35 คน ร่วมกับการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันจำนวน 10 ครอบครัว โดยวิเคราะห์ผ่านแนวคิดการสะสมทุนโดยการแย่งยึด แนวคิด วาทกรรมการอนุรักษ์และแนวคิดความทุกข์เชิงสังคม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การแย่งยึดที่ดินภายใต้นโยบายดังกล่าวเป็นปมปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างที่สัมพันธ์แนบแน่นกับความยากจนและความทุกข์ตรมทางอารมณ์ การสูญเสียที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตหลักของครัวเรือนได้ก่อให้เกิดภาวะ “รายได้ลด หนี้สินเพิ่ม ระบบการเงินล่มสลาย เสี่ยงส่งต่อหนี้ข้ามรุ่น" โดยพบว่า 32 ครัวเรือนจาก 50 ครัวเรือน มีรายได้ลดลงตั้งแต่ร้อยละ 0.66 – 85.4 ในกลุ่มนี้ มี 5 ครัวเรือนที่ระบบการเงินอยู่ในภาวะวิกฤต ในส่วนหนี้สินพบว่า มี 29 ครัวเรือน มีหนี้สินเพิ่มตั้งแต่ร้อยละ 400 – 800 ของหนี้สินก่อนถูกยึด ในจำนวนนี้มีถึง 26 ครัวเรือนที่ไม่มีศักยภาพในการชำระหนี้ตามสัญญา ส่วนความทุกข์ตรมทางอารณ์นั้นพบว่า การสูญเสียที่ดินโดยไม่เต็มใจและไม่ทันตั้งตัว ก่อให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีสมาชิกจำนวน 8 คนจาก 8 ครัวเรือนเป็นโรคชึมเศร้า 5 ครัวเรือนมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และยังมี 29 ครัวเรือนที่ต้องแบกภาระสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่ล้วนมีภาวะพึ่งพิงสูง สะท้อนให้เห็นว่า นอกจากต้องเผชิญความทุกข์จนทางเศรษฐกิจแล้วยังต้องแบกรับความทุกข์ตรมทางอารมณ์ไปพร้อม ๆ กัน</p> กิติมา ขุนทอง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 42 68 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการทำเกษตรอินทรีย์ ของเกษตรกรรุ่นใหม่: กรณีศึกษาเกษตรกรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/276981 <p>การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ รวมถึงนิยามของความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ในประเทศไทย โดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยเกษตรกรรุ่นใหม่จำนวน 18 คนที่มีอายุไม่เกิน 45 ปี จาก 5 จังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยได้รับการแนะนำจากสำนักงานส่งเสริมเกษตรของแต่ละจังหวัดในการเลือกเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเกษตรกรรุ่นใหม่จะต้องทำเกษตรอินทรีย์มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี โดยมีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและมีส่วนร่วมจากกิจกรรมประจำวันในการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ดังกล่าว รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมประชุมกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิเคราะห์เฉพาะเรื่อง (Thematic Analysis) โดยการถอดรหัสข้อมูลจากไฟล์เสียงและการบันทึก โดยได้จัดกลุ่มตามหมวดหมู่ของคำตอบที่ได้</p> <p>ผลการวิจัยอภิปรายภายใต้ 3 ประเด็น ได้แก่ 1.แรงบันดาลใจที่ทำให้คนรุ่นใหม่ตัดสินใจกลับบ้านมาทำเกษตร 2.นิยามของความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ 3.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของนิยามความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรย์ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ซึ่งประกอบด้วย 7 มิติ ได้แก่ 1.ความสำเร็จด้านรายได้ 2.ความสำเร็จด้านการมีอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร 3.ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว 4. ความสำเร็จในการพัฒนาฟาร์ม 5.ความสำเร็จในการใช้ชีวิต 6.ความสำเร็จด้านความรู้และการส่งต่อความรู้ 7.ความสำเร็จด้านกลุ่มและเครือข่าย โดยเกษตรกรกลุ่มกรณีศึกษาไม่ได้ประสบความสำเร็จครบทั้ง 7 ด้าน เกษตรกรบางคนยังต้องพบกับความท้าทายและอุปสรรคอย่างต่อเนื่องในการทำเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรุ่นใหม่ยังได้แสดงให้เห็นถึงปรากฎการณ์การเปลี่ยนผ่านเชิงแนวคิดและวิธีการภายใต้สังคมแห่งเทคโนโลยี นอกจากนั้นแล้ว ความสำเร็จในบางมิติยังส่งผลต่อเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เกิดแรงบันดาลใจในการกำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้น โดยเฉพาะด้านการสร้างรายได้ การมีอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร และการได้อยู่ใกล้ชิดกับสมาชิกครอบครัว ความสำเร็จในมิติดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีในชุมชน</p> มงคล ด้วงเขียว กฤติยา ทองคุ้ม ตะวัน ฉัตรสูงเนิน ทศพร คิวประสพศักดิ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 69 101 ตัวละครหลายมิติในนวนิยายแปลเรื่อง “คดีฆาตกรรมเมื่อดอกไม้ร่วงโรยในคืนจันทร์เต็มดวง” ของเดวิด แกรนน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/277623 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของตัวละครหลักในนวนิยายแปลเรื่อง “คดีฆาตกรรมเมื่อดอกไม้ร่วงโรยในคืนจันทร์เต็มดวง” ของเดวิด แกรนน์ โดยอาศัยกรอบคิดของอี เอ็ม ฟอร์สเตอร์ (1974) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า ตัวละครหลักในเรื่องมีทั้งหมดสามตัว ได้แก่ มอลลี เบิร์กฮาร์ต เฮล เค เบิร์กฮาร์ต และเออร์เนสต์ เบิร์กฮาร์ต ซึ่งล้วนเป็นตัวละครหลายมิติและมีพลวัตด้านลักษณะนิสัยไปตามอายุและประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคน มอลลีเป็นชาวอินเดียนแดงเผ่าโอเซจที่สุขุมลึกซึ้ง มีความผูกพันกับชนเผ่า และรักครอบครัว เฮลเป็นชาวอเมริกันผิวขาวที่มีบุคลิก ย้อนแย้ง ด้านหนึ่งเขาเป็นคนอดทนอดกลั้นและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นคนเจ้าเล่ห์และมีนิสัยเหี้ยมโหด เออร์เนสต์มีสถานภาพเป็นหลานของเฮลและสามีของมอลลี แม้จะเป็นบุรุษที่อ่อนแอไม่มั่นคง แต่ความรักที่เขามีต่อภรรยาคือรักแท้ </p> เจือง ถิ หั่ง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 102 138 บทสำรวจการจัดวางอุดมการณ์ชาตินิยมบนพื้นที่หน้าเสาธงโรงเรียนรัฐบาล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/280864 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจงานศึกษาและวิเคราะห์การจัดวางอุดมการณ์ชาตินิยมผ่านกิจกรรมบนพื้นที่หน้าเสาธงโรงเรียนรัฐบาลทั้งในต่างประเทศและประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2557-2567 โดยใช้วิธีชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัลและเน็ตโนกราฟีเพื่อรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลดิจิทัลจำนวน 30 ชิ้นงาน โดยเกณฑ์การคัดเลือกวรรณกรรมประกอบด้วย ข้อมูลจากงานวิจัยจากฐานข้อมูล 7 แหล่ง ได้แก่ SAGE Journals, Taylor &amp; Francis, EBSCO, TCI, ThaiLIS พบข้อมูลจำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ แคนาดา เอธิโอเปีย ตุรกี และไทย และสื่อโซเชียลมีเดีย ได้แก่ YouTube, Facebook วิเคราะห์และตีความข้อมูลด้วยแนวคิดกลไกเชิงอุดมการณ์ของรัฐของ Althusser (1971, 2014) ผลการศึกษาพบการจัดวางอุดมการณ์ชาตินิยมมีลักษณะกิจกรรม อาทิ พิธีการเคารพธงชาติ สวดมนต์ กล่าวคำปฏิญาณตน การให้โอวาทและประกาศข่าวสารของครู มีโครงสร้างของอุดมการณ์แบบกระจกสองชั้นคือ ให้นักเรียนเข้าร่วมและปฏิบัติตามกฎระเบียบทั้งพฤติกรรมการแสดงออก การสวมใส่เครื่องแบบและทรงผมอย่างเชื่อฟัง สงบเสงี่ยม หากไม่ปฏิบัติตามกลไกเชิงการปราบปรามของรัฐจะถูกนำมาใช้คือ การลงโทษทางวินัย ผลการศึกษานี้โต้แย้งข้อเสนอเรื่องผลลัพธ์ของอุดมการณ์ว่านักเรียนไม่ได้ยอมจำนน เมื่อกระบวนการจัดวางอุดมการณ์ชาตินิยมสิ้นสุดลง นักเรียนไม่ให้ความสำคัญหรือรู้สึกพิเศษกับการต้องปฏิบัติพฤติกรรมตามที่โรงเรียนกำหนด เช่น ไม่ปฏิบัติอย่างตั้งใจ มีการพูดคุยหรือหัวเราะเล่นกัน และมองว่าเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อ ผู้เขียนเสนอว่าควรปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมเป็นพื้นที่เรียนรู้ให้นักเรียนฝึกฝนการใช้ความคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับความรักชาติอย่างสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย</p> ณัฐนิช ฉ่ำเฉื่อย พัชรินทร์ สิรสุนทร กมเลศ โพธิกนิษฐ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 139 169 การเปลี่ยนผ่านจากระบบการปกครองแบบจารีตสู่รัฐสมัยใหม่ของสยามในช่วงหลังการปฏิรูประบบราชการ: กรณีอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ในทศวรรษ 2430-2470 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/276038 <p>บทความนี้ต้องการตรวจสอบถึงปฏิกิริยาของท้องถิ่นที่มีต่อการปฏิรูประบบราชการของสยามเมื่อช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 โดยเน้นไปที่คดีการลอบยิงนายอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เมื่อช่วงต้นพุทธทศวรรษ 2470 และใช้วิธีการศึกษาแบบจุลประวัติศาสตร์กับวิธีการอ่านย้อนเกล็ดของการศึกษาผู้มีสถานะรองในการวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ผลของการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า แม้การปฏิรูประบบราชการของรัฐสยามจะมีจุดประสงค์เพื่อรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางที่ราชสำนักกรุงเทพฯ และสถาปนาโครงสร้างการปกครองแบบสมัยใหม่ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วพระราชอาณาจักร แต่การปฏิรูปดังกล่าวกลับยังต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความขัดแย้งและความไม่ลงรอยกันระหว่างข้าราชการท้องถิ่นและข้าราชการจากส่วนกลาง รวมทั้งความเป็นปฏิปักษ์กันระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับผู้ถืออำนาจรัฐในส่วนกลางได้มีอิทธิพลสำคัญในการต่อรองกับข้าราชการรุ่นใหม่และในการท้าทายอำนาจรัฐ จนในท้ายที่สุด ความตึงเครียดเหล่านี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่ความขัดแย้งและการลอบสังหาร</p> ศุภกิตติ์ หอไชย ทวีศักดิ์ เผือกสม ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 170 205 การศึกษาอำนาจละมุนของจีนผ่านสถาบันขงจื่อ ต่อการบริหารจัดการหลักสูตรภาษาจีนของสถาบันอุดมศึกษาไทย ในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/274767 <p>งานวิจัยนี้สำรวจรูปแบบและบทบาทของอำนาจละมุนด้านการศึกษาของจีนผ่านสถาบันขงจื่อต่อการบริหารจัดการหลักสูตรภาษาจีนในมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ประเทศไทย โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ เช่น การสังเกตการณ์ในพื้นที่ การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ก่อนการระบาดโควิด 19 สถาบันขงจื่อในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงดำเนินการในรูปแบบอุปสงค์-อุปทาน โดยสนับสนุนหลักสูตรระดับปริญญาตรีเป็นหลัก รวมถึงหลักสูตรเอกภาษาจีน รายวิชาภาษาจีนในฐานะวิชาศึกษาทั่วไป และหลักสูตรแพทย์แผนจีนบัณฑิต หลังการระบาดโควิด 19 สถาบันขงจื่อในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงดำเนินการเป็นเอกเทศมากขึ้นและลดบทบาทการสนับสนุนลง ส่วนของสถาบันขงจื่อในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันขงจื่อและคณะวิชาดำเนินการเป็นเอกเทศออกจากกันก่อนการระบาดโควิด 19 โดยเน้นหลักสูตรภาษาจีนระดับปริญญาตรีเป็นหลัก แต่หลังการระบาดโควิด 19 สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับความสำคัญโดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่ใช้ภาษาจีนเป็นสื่อการสอน (2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้ปรับรูปแบบหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถภายในเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมมือกับสถาบันขงจื่อมุ่งพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจีนศึกษาให้ครอบคลุมมากกว่าการสอนภาษาจีนรวมถึงองค์ความรู้เรื่องจีนที่กว้างขึ้น การศึกษายังนำเสนอข้อถกเถียงอำนาจละมุนของจีนผ่านอิทธิพลทางวัฒนธรรมของจีนและการขยายการเรียนการสอนซึ่งศึกษาพบว่าสามารถสร้างผลกระทบต่อโอกาสด้านโครงสร้างพื้นฐานการศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้ในบริบทที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่กว้างขึ้นของจีนเฉกเช่นโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง</p> ยุทธพงศ์ จันทรวรินทร์ ฉัตรกฤษ รื่นจิตต์ ซ่อซิง เมธาธารณ์กุล วนิพพล มหาอาชา Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 206 243 กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันและการใช้ภาษา ในช่องยูทูบ “Ananped” https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/276603 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างอารมณ์ขันและการใช้ภาษาในช่องยูทูบ “Ananped” โดยคัดเลือกตอนที่มียอดผู้เข้าชมสูงสุด จำนวน 50 คลิปวิดีโอ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 สํารวจข้อมูลเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษากลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในช่องยูทูบ “Ananped” พบกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันทั้งหมด 9 กลวิธี โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ พบกลวิธีการยั่วล้อมากที่สุด รองลงมาพบการหักมุมและพลิกความคาดหมาย การเสแสร้งและเจ้าเล่ห์เพทุบาย การเล่นเลอะเทอะ แตกหักทำลาย และทำให้เจ็บตัว การใช้ตรรกวิทยาแบบผิด ๆ การแต่งกายแปลกประหลาด การเข้าใจผิดและเข้าใจคนละทาง การล้อเล่นเกี่ยวกับเรื่องความตาย และพบการทำให้เป็นเรื่องเพศและเรื่องสัปดนน้อยที่สุด ผลการศึกษาการใช้ภาษาในช่อง ยูทูบ “Ananped” พบการใช้ภาษาทั้งหมด 13 ลักษณะ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ พบการใช้คำภาษาต่างประเทศมากที่สุด รองลงมาพบการใช้คำรุนแรง การใช้ภาษาที่แสดงน้ำเสียงต่าง ๆ การใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม การใช้จังหวะในการพูด การเล่นคำ การตัดคำ การตั้งสมญานามให้กับบุคคล การใช้คำภาษาถิ่น การสร้างคำและสำนวนขึ้นใหม่ การใช้ภาษาขัดแย้ง การเลี่ยงคำหยาบ และพบการใช้คำผิดแบบแผนน้อยที่สุด</p> สุชานันท์ คุณุ อรทัย สุทธิ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 244 271 คุณค่าของข่าวผลงานของนักศึกษานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี บนเว็บไซต์เดอะลาวเด้อ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/281620 <p>บทความนี้มีประเด็นถกเถียงทางวิชาการที่สำคัญคือ การเขียนข่าวของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์บนเว็บไซต์เดอะลาวเด้อสะท้อนความก้ำกึ่งระหว่างคุณค่าของข่าวที่มีความสำคัญและความน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ข่าวบางข่าวก็ไม่สะท้อนความความสมดุลระหว่างความสำคัญและน่าสนใจเสมอไป งานนี้ศึกษาจากผลงานข่าวและสารคดีจำนวน 30 เรื่องที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ https://thelouder.co ผลิตโดยนักศึกษาและศิษย์เก่าที่เข้าร่วมโครงการ Journalism that builds bridges ซึ่งจัดโดยมูลนิธิเพื่อการศึกษาและสื่อภาคประชาชนอีสาน และผลงานทั้ง 30 เรื่อง แบ่งออกเป็น 6 ประเด็น คือ 1) ศิลปวัฒนธรรม บันเทิงและกีฬา 2) สังคมและการศึกษา 3) การเมือง 4) ประวัติศาสตร์ 5) สิ่งแวดล้อม และ 6) เพศสถานะ ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าของข่าว (Newsworthiness) มีทั้งความสำคัญ และความน่าสนใจ โดยมิติของความสำคัญ (significance) นั้นมีทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการของรัฐ นโยบายของรัฐที่มีผลกระทบทั้งต่อปัจเจกบุคคล ชุมชนและสังคมในวงกว้าง ส่วนคุณค่าของข่าวในด้านความน่าสนใจ (interesting)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผลงานทั้ง 30 เรื่องให้คุณค่าของข่าวด้านความใกล้ตัว ทั้งในเชิงกายภาพและความรู้สึก รองลงมา คือ ความใหม่สดของประเด็นหรือมุมมองต่อเรื่องที่นำเสนอ (22 เรื่อง) ตามมาด้วยเรื่องที่มีความขัดแย้งและความกระทบกระเทือน อย่างละ 13 เรื่อง รวมทั้งมีประเด็นเรื่องเพศ จำนวน 7 เรื่อง โดยมีทั้งในมิติทางเพศสถานะ เพศวิถี ผลงานทั้ง 30 เรื่องของนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ไม่ได้นำเสนอคุณค่าความน่าสนใจในมิติความเร้าอารมณ์หรือความสะเทือนใจอันเป็นปุถุชนวิสัย ไม่เสนอความแปลก และความมีเงื่อนงำหรือความลึกลับซับซ้อนของเหตุการณ์</p> ธีระพล อันมัย มัธยา ธานี Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 272 300 “ชีวิตผู้ข้า” ตัวตนกับบริบททางประวัติศาสตร์ ในอัตชีวประวัติของมหาสิลา วีระวงส์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/article/view/275190 <p>บทความนี้ศึกษางานเขียนประเภทอัตชีวประวัติเรื่อง <em>ชีวิตผู้‍ข้า อัตชีวประวัติ </em><em>My Life Autobiography พุทธทำนาย 16 ข้อ และกลอนลำ แต่งในช่วงปี พ.ศ. 2487</em> ของมหาสิลา วีระวงส์ นักเขียน นักค้นคว้า และกวีคนสำคัญของลาว ซึ่งพิมพ์ในปี 2004 โดยใช้แนวคิดเรื่องการนำเสนอตัวตนหลายรูปแบบของผู้เขียนในงานเขียนประเภทอัตชีวประวัติของซิ‍โดนี สมิธและจู‍เลีย วัตสันมาเป็นแนวทางในการศึกษา การศึกษานี้พบว่า มหาสิลาเลือกกล่าวถึงเรื่องราวความทรงจำและประสบการณ์ในอดีต เพื่อนำเสนอตัวตนที่สอดคล้องหรือไม่ขัดแย้งกับกระแสความคิดทางการเมืองในบริบทของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมืองหลายฝ่ายที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและการทำงานของมหาสิลา <em>ชีวิตผู้‍ข้า</em> เสนอภาพตัวตนของมหาสิลาในสี่รูปแบบ ได้แก่ ตัวตนทางประวัติศาสตร์ ตัวตนในฐานะผู้เล่าเรื่อง ตัวตนที่ถูกบอกเล่า และตัวตนในอุดมคติ ตัวตนที่สำคัญและเป็นสิ่งที่มหาสิลามุ่งนำเสนอคือตัวตนในอุดมคติ ซึ่งได้แก่มหาสิลาในฐานะชายที่เติบโตขึ้นมาในชุมชนวัฒนธรรมลาวในภาคอีสานของสยาม มหาสิลาที่มีสำนึกรู้เกี่ยวกับสถานะของตนเองอันนำไปสู่ความเคลื่อนไหวต่อต้านอำนาจนำของไทย และท้ายที่สุดคือมหาสิลาที่อุทิศตนทำงานเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมลาว ซึ่งทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นคำอธิบายต่อบทบาทและสถานะของมหาสิลาในช่วงเวลาที่เขียนอัตชีวประวัติชิ้นนี้ขึ้นในทศวรรษที่ 1960 และ 1970</p> ธีรพล บัวกระโทก Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 20 2 301 323