https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jke/issue/feed วารสารบริการวิชาการสถาบันอุดมศึกษาไทยรับใช้สังคม : Journal of Knowledge Exchange 2022-12-30T17:28:36+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารบริการวิชาการสถาบันอุดมศึกษาไทยรับใช้สังคม<br>Journal of Knowledge Exchange (JKE)</p> <p>ISSN (online) : 2730-2458</p> <p>----------------------------------------------------------------------------------</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jke/article/view/264311 แนวทางการพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาในประเทศไทย 2022-12-06T11:13:24+07:00 สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบของฟังก์ชันระบบไอซีทีเพื่อการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาในประเทศไทย การวิจัยและพัฒนาโดยใช้วิธีการผสานวิธีแบบเชิงปริมาณนำเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่และร้อยละ ส่วนเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาในประเทศไทยมีประเด็นสำคัญคือ การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ (1) หลักสูตร (2) วิธีการเรียนการสอน (3) สื่อการสอน (4) การวัดและการประเมินผล และ (5) การบริหารจัดการ แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย 1) การออกแบบและใช้งานให้ตอบสนองต่อการทำงานทุกฟังก์ชัน 2) การใช้วิธีการมาตรฐานเพื่อให้มีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ 3) การสร้างสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีทั้งในส่วนของผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากร และผู้เรียน และ 4) การวางแผนและกำหนดเป้าหมายของผู้ใช้งานที่ชัดเจนและตอบสนองต่อการใช้งานเป็นสำคัญ</p> 2022-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วารสารบริการวิชาการสถาบันอุดมศึกษาไทยรับใช้สังคม : Journal of Knowledge Exchange https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jke/article/view/264231 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่และวิถีถัดไป 2022-12-02T17:29:08+07:00 Phongsak Phakamach [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะ องค์ประกอบ และเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่และวิถีถัดไป โดยการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 9 คน แล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบปรับตัว 4 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนตัว การพัฒนางานวิชาการและวิจัยเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาบุคลากรและการปรับตัววิถีใหม่ จากนั้นนำไปสอบถามผู้บริหารและบุคลากร จำนวน 325 คน จาก 9 สถาบัน ในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การตรวจสอบองค์ประกอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูล และการยืนยันร่างแนวทางโดยวิธีการสนทนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยมี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การสร้างบารมี (2) การสร้างแรงบันดาลใจ (3) การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา (3) การมีกลยุทธ์และแสวงหาโอกาสในการปรับตัว (4) การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา (5) การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล (6) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก (7) การสร้างบรรยากาศและค่านิยมร่วมเชิงสร้างสรรค์ (8) การมีวุฒิภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (9) การกระตุ้นทางปัญญา และ (10) การพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัล ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารให้มีภาวะผู้นำที่ปรับตัวได้ภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่และวิถีถัดไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาต่อไป </p> 2022-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วารสารบริการวิชาการสถาบันอุดมศึกษาไทยรับใช้สังคม : Journal of Knowledge Exchange https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jke/article/view/264240 การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานเกี่ยวกับการจัดทำวิทยานิพนธ์สำหรับบัณฑิตศึกษา 2022-11-22T11:22:57+07:00 Darunee Panjarattanakorn [email protected] <p>การจัดทำวิทยานิพนธ์เป็นประเด็นสำคัญในการเรียนรู้ในระดับบัณฑิตศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อออกแบบและสร้าง ทดสอบ ทดลองใช้ และประเมินต้นแบบระบบบริหารจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานสำหรับการจัดทำวิทยานิพนธ์ และ 2) เพื่อนำเสนอระบบบริหารจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานสำหรับการจัดทำวิทยานิพนธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ปีการศึกษา 2564-2565 จำนวน 36 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยแสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นแบบระบบบริหารจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานสำหรับการจัดทำวิทยานิพนธ์ใช้กระบวนการพัฒนาแบบ DBLC ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าระบบมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้จริง การทดลองใช้ระบบเป็นการเรียนรู้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีโดยมีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก และนักศึกษามีความพึงพอใจในระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก 2) ระบบนี้มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยเว็บไซต์ ฐานข้อมูลอาจารย์และนักศึกษา บันทึกความรู้ แบบประเมินความรู้ กระดานสนทนา คลังความรู้ ดาวน์โหลดเอกสาร กรณีศึกษา และภาพกิจกรรมต่าง ๆ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบสำหรับการทำวิทยานิพนธ์สำหรับบัณฑิตศึกษาต่อไป</p> 2022-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2022 วารสารบริการวิชาการสถาบันอุดมศึกษาไทยรับใช้สังคม : Journal of Knowledge Exchange