@article{ท้วมสุข_ลีนาราช_2013, title={สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดบริการสนับสนุนการวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยไทย}, volume={30}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/6420}, abstractNote={<p><strong><span>บ</span><span>ทคัดย่อ</span></strong></p><p><span><span>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดบริการสนับสนุนการวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลส่วนหนึ่ง ของการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการบริการสนับสนุนการวิจัยสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยในประเทศไทย </span><strong> </strong><span>วิธีวิจัยใช้แบบผสานวิธี (Mixed method research design) ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยยึดหลักการตรวจสอบแบบสามเส้า ประกอบด้วย ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย ผู้ให้บริการ (บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศ) และผู้รับบริการ (นักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา) ของมหาวิทยาลัยวิจัย 4 แห่งที่คัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3) สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 4) สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัย และแจกแบบสอบถามกับกลุ่มผู้ให้บริการและผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณ   ผลการศึกษา (1) สภาพการจัดบริการสนับสนุนการวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัย ในมุมมองผู้บริหารพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยทุกแห่งมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการจัดการบริการสนับสนุนการวิจัยเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีระดับการดำเนินงานและความสำเร็จที่แตกต่างกัน ผู้บริหารเห็นด้วยกับบทบาทห้องสมุดในการสนับสนุนการวิจัยที่สำคัญ 3 ประการคือ บทบาทการจัดการคลังปัญญาสถาบัน บทบาทการสอนหรือการให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ และบทบาทการจัดบริการเชิงรุก   ผู้ให้บริการสนับสนุนการวิจัย นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์แล้ว ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา และมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยด้วย ในมุมมองของผู้รับบริการและผู้ให้บริการพบว่า ทั้งสองกลุ่มเห็นว่าห้องสมุดมีนโยบายชัดเจนในด้านการจัดบริการเพื่อสนับสนุนการวิจัย (ร้อยละ 67.90) มีรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศโดยจัดกลุ่มตามสาขาวิชาต่างๆ จากฐานข้อมูลภายในห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการวิจัย (ร้อยละ 71.40) และมีการเตรียมความพร้อมให้ผู้รับบริการในด้านทักษะการสืบค้นและการใช้เครื่องมือสืบค้น (ร้อยละ 85.90) (2) ปัญหาการจัดบริการสนับสนุนการวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัย พบว่าโดยสรุปทั้งกลุ่มผู้รับบริการและให้บริการเห็นว่า ห้องสมุดมีปัญหาด้านงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ (Mean=3.99) ห้องสมุดยังไม่ให้ความสำคัญในการดำเนินการเชิงรุก (Mean=3.41) ผู้ให้บริการยังไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศเฉพาะสาขาอย่างแท้จริง (=3.32) และผู้รับบริการไม่ทราบว่าห้องสมุดมีบริการอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยของตน (Mean=3.35) ผลการวิจัยข้างต้นจะนำไปสู่การกำหนดรายละเอียดของรูปแบบการจัดบริการสนับสนุนการวิจัยสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยต่อไป </span><br /></span></p>}, number={3}, journal={Journal of Information Science Research and Practice }, author={ท้วมสุข กุลธิดา and ลีนาราช พรชนิตว์}, year={2013}, month={Feb.} }