วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim <p>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ นวัตกรรม ความก้าวหน้างานวิจัย และการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการของนักวิจัย คณาจารย์และนักศึกษา ในสาขาบริหารธุรกิจ การจัดการ การตลาด เศรษฐศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกียวข้อง เป็นต้น</p> th-TH korbkul.jan@rmutr.ac.th (Korbkul Jantarakolica) jutamas.won@rmutr.ac.th (Jutamas Wongkantarakorn) Sat, 26 Apr 2025 09:10:56 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 อิทธิพลของดัชนี Philadelphia Semiconductor Index และปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีต่อดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และดัชนีราคาหุ้น Hang Seng TECH ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/285831 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของดัชนี Philadelphia Semiconductor Index และปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีต่อดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และดัชนีราคาหุ้น Hang Seng TECH ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ในประเภทของข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series Data) ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังเป็นรายวัน (Daily Data) โดยจะครอบคลุมช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,100 วัน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ด้วยวิธี Newey–West standard errors ผลการศึกษาพบว่า ดัชนี Philadelphia Semiconductor Index (SOX) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับดัชนี ETRON และดัชนี HSTECH อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับดัชนี ETRON อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับดัชนี HSTECH อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราแลกเปลี่ยนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับดัชนี HSTECH อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนี ETRON และดัชนี HSTECH อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราแลกเปลี่ยนมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนี ETRON อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของราคาน้ำมันดิบมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนี HSTECH อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบไม่มีความสัมพันธ์กับดัชนี ETRON</p> รัฐฐ ภาวนาเจริญ, มรรษภร เชื้อทองฮัว, พรวรรณ นันทแพศย์ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/285831 Sat, 26 Apr 2025 00:00:00 +0700 อิทธิพลของปริมาณซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ดัชนี S&P500 ดัชนีความผันผวน และปัจจัยทางเศรษฐกิจ มหภาคที่มีต่อดัชนี FTSE100 ของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนและดัชนี NIKKEI225 ของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/285832 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ดัชนี S&amp;P500 ดัชนีความผันผวน (VIX) และปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีต่อดัชนี FTSE100 ของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน และดัชนี NIKKEI225 ของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว โดยรวบรวมข้อมูลของตัวแปรในลักษณะทุติยภูมิ (Secondary Data) ประเภทอนุกรมเวลาแบบรายวัน ตั้งวันที่ 2 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2566 เป็นระยะเวลา 1,297 วัน การวิเคราะห์ดังกล่าวใช้วิธีการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ด้วยวิธี Newey–West standard errors และผลการศึกษาในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน พบว่า ปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับกับดัชนี FTSE100 (FTSE100 Futures) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับดัชนี FTSE100 ในทางตรงข้ามดัชนี S&amp;P500 อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมันมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับดัชนี FTSE100 ของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีความผันผวน (VIX) ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับดัชนี FTSE100 ทั้งนี้ ผลการศึกษาในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวพบว่า ปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับกับดัชนี NIKKEI225 (NIKKEI225 Futures) มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับดัชนี NIKKEI225 นอกจากนี้ ดัชนี S&amp;P500 ดัชนีความผันผวน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมันมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับดัชนี NIKKEI225</p> จุฬาลักษณ์ ทองสิมา, มรรษภร เชื้อทองฮัว, พรวรรณ นันทแพศย์ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/285832 Sat, 26 Apr 2025 00:00:00 +0700 ส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพการบริการส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้บริการสถานที่ออกกำลังกาย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดจันทบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/287305 <p>งานวิจัยนี้มีกรอบแนวคิดที่ประยุกต์มาจากแนวคิดและทฤษฎี ส่วนประสมการตลาดบริการ คุณภาพการบริการ และความพึงพอใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้บริการสถานที่ออกกำลังกาย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดจันทบุรี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพการบริการส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้บริการสถานที่ออกกำลังกาย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดจันทบุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประชากรที่ศึกษาคือ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 350 ตัวอย่าง เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีลักษณะเฉพาะพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้บริการสถานที่ออกกำลังกาย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย ด้านราคา ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางจัดจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยคุณภาพการบริการส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้บริการสถานที่ออกกำลังกาย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย ความเข้าใจและเอาใจใส่ ความเป็นรูปธรรมของการบริการ การตอบสนอง การสร้างความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยสะท้อนว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการด้านราคาส่งผลได้มากสุดต่อความพึงพอใจ ขณะที่ความเข้าใจและเอาใจใส่ เป็นปัจจัยคุณภาพการบริการที่สำคัญที่สุด ข้อค้นพบนี้ผู้ประกอบการนำไปประยุกต์เป็นกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในอนาคตได้</p> เลอธีญา จานแก้ว, ปภาวี ตุ่ยสิมา, กานติมา บุญรักษา, รุ่งรัตน์ ธรรมชาติ, เดชา พละเลิศ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/287305 Sat, 26 Apr 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาระบบราชการในประเทศไทยตามทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/285313 <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ การปฏิรูประบบราชการในประเทศไทยและต่างประเทศตามทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาระบบราชการของประเทศไทยตามทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ จากการรวบรวมและศึกษาข้อมูล เอกสารต่าง ๆ พบว่า ทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ให้ความสำคัญกับการนำเครื่องมือและกลไกของภาคเอกชนมาประยุกต์ใช้กับการบริหารภาครัฐ มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบราชการให้มีความคล่องตัวและมุ่งไปที่ผลลัพธ์ในการดำเนินงานมากขึ้น ซึ่งการปฏิรูประบบราชการของประเทศไทยให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างหน่วยงานราชการ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การแปรสภาพหน่วยราชการในรูปองค์การมหาชน การกระจายอำนาจ และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน สำหรับการปฏิรูประบบราชการของประเทศสิงคโปร์และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมุ่งเน้นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ให้ความสำคัญกับการนำทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปฏิรูประบบราชการ เช่น การลดขนาดและปรับโครงสร้างองค์กรราชการ การกระจายอำนาจ และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบราชการ เป็นต้น อันจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาระบบราชการของประเทศไทยตามทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ได้แก่ การลดขนาดและปรับโครงสร้างองค์กรราชการ <br />การกระจายอำนาจ สร้างระบบราชการที่เน้นผลลัพธ์ สร้างความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบราชการ</p> ชมภูนุช หุ่นนาค Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/285313 Sat, 26 Apr 2025 00:00:00 +0700