วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim
<p>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ นวัตกรรม ความก้าวหน้างานวิจัย และการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการของนักวิจัย คณาจารย์และนักศึกษา ในสาขาบริหารธุรกิจ การจัดการ การตลาด เศรษฐศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกียวข้อง เป็นต้น</p>
วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
th-TH
วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์
2697-6609
-
ผลกระทบของสิ่งดึงดูดใจของจุดหมายปลายทางที่ส่งผลต่อความภักดีนักท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ผ่านตัวแบบตัวกระตุ้น-กลไก-การตอบสนอง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/281770
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งดึงดูดใจของจุดหมายปลายทางและความภักดีของนักท่องเที่ยว รวมทั้งศึกษาบทบาทตัวแปรคั่นกลางของภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางต่อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งดึงดูดใจของจุดหมายปลายทางและความภักดีของนักท่องเที่ยวในบริบทของการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย จำนวน 408 คน โดยใช้การตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยพบว่าสิ่งดึงดูดใจของจุดหมายปลายทางส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยว นอกจากนั้นภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางเป็นตัวแปรคั่นกลางต่อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งดึงดูดใจของจุดหมายปลายทางและความภักดีของนักท่องเที่ยว การศึกษาครั้งนี้เน้นย้ำถึงผลลัพธ์เชิงบวกของความรู้ในฐานะการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำเป็นต้องใช้นโยบายเฉพาะอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาเชิงประจักษ์ รวมทั้งผู้บริหารจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวควรให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเพื่อปรับปรุงความภักดีของนักท่องเที่ยวด้วย</p>
บงกชรัตน์ เปี่ยมสิริกมล
สิรินทรา สังข์ทอง
นิมิต ซุ้นสั้น
สุภัทรา สังข์ทอง
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์
2024-12-27
2024-12-27
5 3
1
24
-
- อธิปไตยทางดิจิทัลของอินเดีย: แนวทางสร้างสมดุลด้านความมั่นคง สิทธิพลเมือง และเศรษฐกิจสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/283913
<p>บทความนี้วิเคราะห์การแสวงหาอธิปไตยทางดิจิทัลของอินเดีย ซึ่งเป็นกรณีศึกษาสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการสร้างสมดุลระหว่างความมั่นคง สิทธิพลเมือง และอธิปไตยทางเศรษฐกิจ การศึกษาพบว่าแนวทางของอินเดียมีลักษณะเด่นสามประการ ได้แก่ ข้อกำหนดการจัดเก็บข้อมูลภายในประเทศเพื่อป้องกันการเข้าถึงจากต่างชาติโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภายในประเทศอย่าง UPI และ Aadhaar และการปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลสำคัญจากการควบคุมของต่างชาติ อินเดียพยายามสร้างแนวทางที่เป็นทางเลือกที่สามระหว่างแนวทางเสรีนิยมของสหรัฐอเมริกาและแนวทางรัฐนำของจีน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเผชิญความท้าทายทั้งด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และข้อกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิพลเมือง จากกรณีศึกษานี้ บทความเสนอแนะว่าประเทศกำลังพัฒนาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนากรอบกฎหมายที่ทันสมัยและยืดหยุ่น การสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่เป็นของตนเอง และการสร้างกลไกถ่วงดุลระหว่างการควบคุมของรัฐกับสิทธิพลเมือง ประสบการณ์ของอินเดียให้บทเรียนสำคัญในการสร้างอธิปไตยทางดิจิทัลที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย</p>
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
ทนงศักดิ์ ศิริยงค์
ณัฐกิตติ์ สุขสำราญ
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์
2024-12-27
2024-12-27
5 3
25
44