มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc
<p><strong>ISSN 2774-1451 (Online) </strong></p> <p> --------------------------------------------------------------------------------</p> <p> “มนุษยสังคมสาร” คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีนโยบายในการรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหลัก (Main subject Category) คือ Social Sciences และจะต้องอยู่ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา (Subject areas) คือ 1) Arts and Humanities, 2) Economics, Econometrics and Finance, 3) Social Sciences ซึ่งจะต้องอยู่ใน 5 กลุ่มย่อย (Sub-subject areas) คือ 1) General Arts and Humanities, 2) Language and Linguistics, 3) General Economics, Econometrics and Finance, 4) General Social Sciences, 5) Sociology and Political Sciences</p> <p> “มนุษยสังคมสาร” มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม-เมษายน / พฤษภาคม-สิงหาคม / กันยายน-ธันวาคม) แต่อาจจะออกเป็นฉบับพิเศษ (Special issue) ในการร่วมประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติกับทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ไม่เกินปีละ 2 ฉบับ</p> <p> ทุกบทความใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องผ่านการพิชญพิจารณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) ในสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความนั้น (Double-blind peer review) ทั้งนี้ เพื่อให้บทความมีคุณภาพและได้มาตรฐานทางวิชาการ บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้นิพนธ์บทความจะต้องปฏิบัติตามระบบการอ้างอิงเอกสารและหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยย่างเคร่งครัด</p> <p> ผู้นิพนธ์ที่จะส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องส่งผลการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ผ่านเว็บไซต์ <a href="http://plag.grad.chula.ac.th/">http://plag.grad.chula.ac.th/</a> โดยร้อยละของดัชนีความซ้ำซ้อนของบทความไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้ ให้ผู้นิพนธ์แนบผลการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานส่งมาที่วารสารพร้อมกับบทความด้วย</p> <p> ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ใน “มนุษยสังคมสาร” ทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของ “มนุษยสังคมสาร” การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตารางที่ปรากฏในบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร วารสารอนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางวิชาการได้ แต่ต้องแสดงที่มาจากวารสาร โดยห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหาใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้ ทัศนะและความคิดเห็น ตลอดถึงข้อผิดพลาดใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในบทความใน “มนุษยสังคมสาร” ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ</p>th-TH<p><em>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ </em><em>ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</em></p> <p><em> บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น</em></p> <p><em> </em></p>akkarapon2512@gmail.com (รองศาสตราจารย์.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม)Nittaya.or@bru.ac.th (นางสาวจรัลรัตน์ อุ่นรัมย์)Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700OJS 3.3.0.8http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss60นาฏยลักษณ์จากภาพจำหลักรูปบุคคลของปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/285143
<p> บทความนี้มาจากวิจัยเรื่อง "ปราสาทศีขรภูมิ : การถอดรหัสภาพนาฏยลักษณ์จากภาพจำหลักรูปบุคคลสู่การสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง"มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการถอดรหัสภาพจำหลักรูปบุคคลของปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษานาฏยลักษณ์ในภาพจำหลักรูปบุคคลของปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยและพัฒนา เก็บข้อมูลด้วยวิธี การสัมภาษณ์ การสังเกต สนทนากลุ่ม นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ขอบเขตการศึกษาภาพจำหลักรูปบุคคลในตำแหน่งทับหลัง เสาติดผนัง เสาประดับกรอบประตูและยอดปราสาท ผลการวิจัยพบว่า ภาพจำหลักรูปบุคคลมีทั้งสิ้น 11 ชิ้น แบ่งเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม เปรียบเทียบตามโครงสร้าง การฟ้อนรำที่เรียกว่า อังคะ(อวัยวะหลัก) ทั้ง 3 ตำแหน่ง ดังนี้ ส่วนที่ 1 สถานตะ (ศรีษะ) ส่วนที่ 2 นฤยหัสกะ (มือและแขน) ส่วนที่ 3 จารี (ขาและเท้า) ถอดรหัสภาพด้วยการวาดลายเส้นและใช้นักแสดงจำลองท่ารำ พบว่านาฏยลักษณ์จากภาพจำหลักรูปบุคคลเป็นท่าที่เกิดจากรากของท่าเดิมพัฒนาเป็น “แม่ท่ามี 24 ที่ยังคงนาฏยลักษณ์และความหมายไว้อย่างชัดเจน</p>ยุวดี พลศิริ
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/285143Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ของหอศิลป์เชิงพาณิชย์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/284820
<p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของหอศิลป์เชิงพาณิชย์ และ 2) เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดการจัดการหอศิลป์เชิงพาณิชย์ให้ประสบความสำเร็จ และดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ศิลปิน เจ้าของ ผู้จัดการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ หอศิลป์ จำนวน 7 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอ้างอิงด้วยบุคคล และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า โดยใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง และนักวิจัยหลายคนวิเคราะห์ตีความข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยผลการศึกษาพบว่ามีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของหอศิลป์เชิงพาณิชย์ ดังนี้ 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ การสร้างอัตลักษณ์ การจัดการด้านสถานที่ การจัดนิทรรศการและกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ภัณฑารักษ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการ การสื่อสารการตลาด และความเชื่อมั่นและความตั้งใจของเจ้าของในการประกอบการหอศิลป์เชิงพาณิชย์ และ 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และการสนับสนุนจากรัฐบาล</p>เยาวภาพันธ์ พงษ์จงมิตร, อำภาศรี พ่อค้า
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/284820Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700A Comparative Corpus-based Analysis of English Near-synonymous Verbs: inform, notify, impart
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/283836
<p> While <em>inform, notify, </em>and <em>impart</em> share core meanings, their semantic nuances and grammatical patterns vary, creating challenges for language learners and professionals. Previous research has primarily relied on dictionary definitions, lacking corpus-based validation to capture real-world usage and contextual distinctions. Addressing this gap, this study integrated corpus linguistics and lexical analysis to examine these verbs in authentic discourse. Using 300 concordance lines per verb from COCA, the study analyzed grammatical patterns, collocations, and frequency distribution alongside dictionary data. Inter-rater reliability ensured semantic classification accuracy, while the Mutual Information (MI) score measured collocational strength. Findings revealed discrepancies between dictionary patterns and real-world usage, with <em>notify</em> commonly used in formal, obligatory contexts, whereas <em>impart</em> frequently appeared in literary and academic discourse. Additionally, corpus data indicated that some dictionary-listed structures, such as <em>inform</em> + reflexive pronoun, were rarely used in contemporary English. These findings underscore the importance of corpus-driven instruction, emphasizing collocation-based learning and professional discourse awareness. Educators should prioritize high-frequency structures and context-based verb usage to enhance accuracy and fluency, contributing to curriculum development, second-language acquisition, and professional training.</p>Siriluk Jirawattanasomkul, Piyaporn Punkasirikul, Kerkkrai Parinyaphon, Nawaphorn Wannathong
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/283836Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700A Corpus-Based Wordlist of Government Official English Examinations
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/285516
<p> This study sought to identify the most prevalent content terms in government official examinations for English topics and to analyze the ratio of word families in the General Service List (GSL) and Academic Word List (AWL) inside the Government Official Examination Word List (GOEWL). The English subject government official examinations were aggregated to form the Government Official Examination Corpus. Coxhead’s frequency criterion for the AWL was applied in selecting words for the GOEWL. All word families that appeared once or several times in the examinations were incorporated into the wordlist. AntWordProfiler software was employed to analyze and produce the GOEWL, comprising 3,085 word families. The findings indicated that 83.38 percent of the GOEWL's word families were part of the first 1,000 of the GSL, 6.22 percent belonged to the second 1,000 of the GSL, 2.41 percent were from the AWL, and the remaining 7.99 percent did not correspond to any wordlists. Students and candidates preparing for government official examinations can build a strong vocabulary through the GOEWL. Educators may adapt the vocabulary list to suit teaching materials, making it more accessible and relevant for students, particularly at the higher education level.</p>Darunee Yotimart
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/285516Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700The Change of Production Process of Taohuawu New Year Prints and Its Application in Products
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/281023
<p> The objectives of this qualitative research were: 1) to study the changes in the production process of Taohuawu New Year prints, and 2) to analyze the application of Taohuawu New Year prints new production process in modern New Year print products. It uses literature research, field research, in-depth interviews, and participatory observation. The descriptive analysis method summarizes and discusses the results. The results were revealed as follows: 1) The changing times have led to the almost complete disappearance of traditional Taohuawu New Year print application occasions. Concurrently, the continuous emergence of new materials and technologies has greatly impacted New Year prints. Traditional Taohuawu New Year print production involves manual skills and artistic charm, but modern tools, materials, and technologies have greatly altered it. This transformation has improved efficiency, enriched forms, and prompted reflection on the balance of tradition and modernity. And 2) the modern Taohuawu New Year print production process has opened new product application possibilities. Participatory new products prioritizing consumer experience have successfully integrated Taohuawu New Year prints into contemporary humanistic life, promoting their inheritance and development.</p>Peng Liu, Metta Sirisuk
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/281023Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700กลยุทธ์การตลาด STP และภาพลักษณ์ของตราสินค้าที่มีผลต่อแรงจูงใจในการซื้อเมล็ดกาแฟจากโรงคั่วกาแฟในจังหวัดชุมพร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/285545
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การตลาด STP ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการซื้อเมล็ดกาแฟ 2) ภาพลักษณ์ของตราสินค้าที่มีผลต่อแรงจูงใจในการซื้อเมล็ดกาแฟ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาด STP และภาพลักษณ์ของตราสินค้าที่มีผลต่อแรงจูงใจในการซื้อเมล็ดกาแฟจากโรงคั่วกาแฟในจังหวัดชุมพร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อเมล็ดกาแฟจากโรงคั่ว 7 แห่ง จำนวน 385 คน ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การตลาด STP โดยเฉพาะการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ และภาพลักษณ์ของตราสินค้าด้านคุณประโยชน์ มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการซื้อเมล็ดกาแฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันพยากรณ์แรงจูงใจในการซื้อในระดับที่น่าพอใจ</p>พนัชกร ขำพันธ์
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/285545Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700กลยุทธ์การตลาด 4C’s และคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ซื้อกาแฟของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/285339
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาด 4C’sที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร และ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือลูกค้าที่ซื้อกาแฟของวิสาหกิจในจังหวัดชุมพร จำนวน 385 คน หากลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรครอคแครน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากลูกค้าที่ซื้อกาแฟของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร จาก 5 วิสาหกิจชุมชนที่ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลยุทธ์การตลาด 4C’s และคุณภาพการให้บริการส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชุมพร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิตที่ .05 ยกเว้น ด้านต้นทุนของผู้บริโภค และด้านความน่าเชื่อถือ</p>นวพร กุญแจทอง
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/285339Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700การพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ : กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/280380
<p> ที่ผ่านมาจังหวัดร้อยเอ็ดได้แก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายรัฐบาล แต่ก็ยังพบว่าประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ดยังคงเผชิญหน้ากับความยากจน จึงได้นำข้อมูลจากเครื่องมือ TP MAP สำหรับการสำรวจหาคนจน ปัญหาของความยากจน ต่อยอดสู่การพัฒนาความเป็นอยู่ของคนจนให้มีประสิทธิภาพ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) วิเคราะห์หาสาเหตุ และปัญหาวิเคราะห์รูปแบบที่ก่อให้เกิดความยากจนในกลุ่มเป้าหมาย 2) ออกแบบโมเดลแก้จนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของคนจนกลุ่มเป้าหมาย และสามารถส่งต่อความช่วยเหลือคนจนให้กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุของความยากจน เกิดจากการไม่มีที่ดินทำกิน ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ การเข้าไม่ถึงแหล่งทุน ขาดแหล่งน้ำในการทำการเกษตร และปัญหาสุขภาพ สำหรับการออกแบบโมเดลแก้จนในพื้นที่ต้นแบบตำบลดงครั่งน้อย เพื่อให้ครัวเรือนยากจนมีอาชีพมีรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองภายใต้โมเดล เกษตรพามี ผู้นำดีพาอยู่ ดังนี้ 1) การเลี้ยงไก่ไข่แบบกรงตับ 2) การปลูกผักแบบยกแคร่ และ 3)โมเดลผู้นำดีพาอยู่</p>พิมพ์ชนก ไพรีพินาศ, ปรมัตถ์ โพดาพล, พูนสุข จันทศิลป์, วรพจน์ พรหมจักร
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/280380Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700ความท้าทายของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกัญชาในจังหวัดบุรีรัมย์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/287107
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการผลิตกัญชาในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาความท้าทายของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกัญชาในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ศึกษาแนวทางการลดข้อจำกัดและเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกัญชาของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกัญชาในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 15 คน คณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกัญชาในอำเภอที่ศึกษา จำนวน 4 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูล 6 ขั้นตอน (6C) อธิบายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกัญชาในจังหวัดบุรีรัมย์มีความท้าทาย ได้แก่ 1) การคลายล็อคกฎหมายกัญชา 2) นโยบายกัญชาเสรี 3) ผลตอบแทน 4) การยอมรับทางสังคม และเสนอแนวทางในการลดข้อจำกัดการผลิตกัญชา ดังนี้ 1) การส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ 2) การผลิตกัญชาแบบเกษตรพันธะสัญญา 3) การรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่าย และ 4) การแปรรูปกัญชา</p>กนกกาญจน์ เดี่ยวชัยภูมิ, ไกรเลิศ ทวีกุล, ไพศาล แก้วบุตรดี, ยศ บริสุทธิ์
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/287107Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700นวัตกรรมโลจิสติกส์และความได้เปรียบในการแข่งขัน: การทบทวนวรรณกรรมการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทฤษฎี ต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/278790
<p> การศึกษาเชิงทบทวนวรรณกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทฤษฎีระหว่างนวัตกรรมโลจิสติกส์และความได้เปรียบในการแข่งขันต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ จากการค้นคว้าวรรณกรรมพบว่านวัตกรรมโลจิสติกส์ประกอบด้วย นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านกระบวนการ นวัตกรรมด้านบริการ นวัตกรรมด้านการจัดการข้อมูล และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย การสร้างความแตกต่าง การเป็นผู้นำด้านต้นทุน และการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน การวัดผลการดำเนินงานขององค์กรได้พัฒนาจากการเน้นเฉพาะมิติทางการเงินมาสู่การวัดผลแบบสมดุลที่ครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการเติบโต พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างนวัตกรรมโลจิสติกส์และความได้เปรียบในการแข่งขันต่อผลการดำเนินงานขององค์กร การบูรณาการแนวคิดทั้งสามประเด็นนี้จะช่วยให้ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์สามารถเสริมสร้างศักยภาพและความยั่งยืนของธุรกิจได้มีอย่างมีประสิทธิภาพ</p>วรายุ ศิรินนท์, จันทิราพร ศิรินนท์
Copyright (c) 2025 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/278790Sun, 27 Apr 2025 00:00:00 +0700